วันจันทร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2560

วัดนักบุญยอแซฟ คำเกิ้ม

วัดนักบุญยอแซฟ คำเกิ้ม

บ้านคำเกิ้ม  ตำบลอาจสามารถ  อำเภอเมือง  จังหวัดนครพนม
วัดนักบุญยอแซฟ คำเกิ้ม หลังที่ 4 สร้างโดยคุณพ่อคาร โสรินทร์ ค.ศ. 1985
1.        ประวัติความเป็นมา
1.1   การก่อตั้งกลุ่มคริสตชนคำเกิ้ม
กลุ่มคริสตชนคำเกิ้ม คือกลุ่มคริสตชนชาวเวียดนามจากนครพนม ซึ่งคุณพ่อกองสตังต์ ยัง บัปติสต์ โปรดม และคุณพ่ออัลเฟรด รองแดล ได้โปรดศีลล้างบาปและศีลสมรสเมื่อวันที่ 14 กันยายน  ค.. 1883 (.. 2426) คราวกลับจากหนองคายและเวียงจันทน์ในการสำรวจเส้นทาง เพื่อวางแผนงานการแพร่ธรรมตามหัวเมืองภาคอีสานตอนเหนือก่อนกลับอุบลราชธานี โดยรวมตัวกันอาศัยอยู่ทางทิศเหนือของเมืองนครพนมใกล้กับที่เรียกว่า วัดป่า
หลังฉลองคริสต์มาส ค.. 1884 (.. 2427) ที่บ้านท่าแร่ซึ่งย้ายมาจากเมืองสกลนคร ประมาณต้นเดือนมกราคม ค.. 1885 (.. 2428) คุณพ่อฟรังซัวร์ ซาเวียร์ เกโก ได้เดินทางไปนครพนมเพื่อดูแลคริสตชนใหม่และผู้เตรียมเป็นคริสตชนกลุ่มดังกล่าว โดยตกลงกับคุณพ่อโปรดมว่าจะย้ายไปอยู่ในที่ที่เหมาะสมกว่า  คุณพ่อเกโกได้ปรึกษากับทุกคนถึงสถานที่ใหม่รวมถึงคุณพ่อยอร์ช ดาแบง โดยตกลงเอาบ้านคำเกิ้มตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของตัวเมืองนครพนมประมาณ 3 กิโลเมตร  คำเกิ้มเวลานั้นมีคนต่างศาสนาอยู่ 3-4 ครอบครัวแต่ยินดีสมัครเรียนคำสอน  เช้าวันรุ่งขึ้นทุกคนได้ไปรวมกัน มีขวาน จอบ เสียมและลงมือถากถางป่าสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยและที่นา ซึ่งคุณพ่อปิแอร์ แอกอฟฟองได้บันทึกเอาไว้ว่า
การย้ายไปอยู่คำเกิ้มได้เกิดขึ้นประมาณกลางเดือนมกราคม ค.. 1885 และประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ปีเดียวกันได้มีการสร้างบ้านพักพระสงฆ์ขึ้นพร้อมกับวัดที่น่าสงสารหลังหนึ่ง ซึ่งส่วนพระแท่นทำด้วยไม้ ถึงเดือนพฤศจิกายน ค.. 1887 ทั้งครอบครัวคริสตังและครอบครัวผู้สมัครเรียนคำสอนที่อยู่ที่วัดป่าได้พากันย้ายมาสร้างบ้านอยู่รอบๆ วัดแห่งนี้ ทั้งหมดรวมกันได้ราว 50 คน รวมไปถึง 3 ครอบครัวที่อยู่ที่คำเกิ้มก่อนหน้าเดือนมกราคม ค.. 1885 แล้ว
คุณพ่อเกโกได้มอบกลุ่มคริสตชนใหม่คำเกิ้มให้อยู่ในความอุปถัมภ์ของ “นักบุญยอแซฟ” ดังปรากฏในสมุด บันทึกศีลล้างบาปของคริสตังที่นครพนม วัดนักบุญยอแซฟ 1885” รวมทั้งได้เริ่มบันทึกรายชื่อผู้รับศีลล้างบาปในสมุดบัญชีใหม่นี้ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.. 1885 (.. 2428) จากเดิมที่เคยบันทึกในบัญชีของวัดบุ่งกะแทว อุบลราชธานี ในช่วงเวลาดังกล่าวคุณพ่อเกโกยังคงเดินทางไปมาระหว่างคำเกิ้มกับท่าแร่  จนถึงเวลาที่ท่าแร่มีคุณพ่อยอแซฟ กอมบูริเออ   จึงประจำที่คำเกิ้มและได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดคำเกิ้ม 
คุณพ่อกองสตังค์ ยัง บัปติสต์ โปรดมและคุณพ่อฟรังซัวร์ ซาเวียร์ เกโก
สองธรรมทูตผู้บุกเบิกและก่อตั้งกลุ่มคริสตชนในภาคอีสานและประเทศลาว
1.2   การก่อตั้งศูนย์กลางมิสซังที่คำเกิ้ม
เมื่อมีพระสงฆ์องค์หนึ่งประจำอยู่ที่คำเกิ้มและอีกองค์ที่ท่าแร่  คำเกิ้มได้กลายเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางมิสซังแห่งใหม่ของภาคอีสานทั้งหมดแทนที่บุ่งกะแทว และเป็นที่ที่บรรดาธรรมทูตมาเข้าเงียบประจำปีเดือนพฤศจิกายน ในช่วงนี้เองได้มีทาสจำนวนมากจากทางเหนือ ได้แก่ พวกภูเทิงและลาวพวนมาหาคุณพ่อเกโกเพื่อขอความช่วยเหลือ เมื่อจำนวนคริสตชนและผู้สมัครเรียนคำสอนที่คำเกิ้มมีจำนวนมากขึ้น ทำให้ไม่มีที่ทำกินเพียงพอ คุณพ่อเกโกได้หาที่อยู่ใหม่สำหรับพวกเขาคือที่เกาะดอนโดนและบ้านเชียงยืน ค.. 1886 (.. 2429) และบ้านหนองแสง ค.. 1887 (.. 2430)
พร้อมกันนั้นมีชาวบ้านจำนวนมากจากหมู่บ้านใกล้เคียงมาสมัครเรียนคำสอนกับคุณพ่อเกโก ได้แก่ บ้านขามเฒ่า ปากบังเหียน ดอนขี้ควาย และบ้านนาราชควายใหญ่  นอกนั้นยังมีอีก 3 หมู่บ้านทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงคือ บ้านป่งกิ่ว บึงหัวนาและดงหมากบ้า ส่วนทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงมีบ้านนาบัวและบ้านกุดจอก  รวมถึงบ้านสองคอน  ท่าจานพิมพ์ และบ้านซอง
          ค.. 1888 (.. 2431) คุณพ่อโปรดม ได้รับแต่งตั้งเป็นอุปสังฆราชจากพระสังฆราชหลุยส์ เวย์ และได้แบ่งการปกครองเขตนครพนมออกเป็น 2 เขตคือ คำเกิ้มมอบให้คุณพ่อรองแดลดูแลและดอนโดนมอบให้คุณพ่อเกโกดูแล เพื่อเป็นศูนย์แพร่ธรรมและก่อตั้งกลุ่มคริสตชนใหม่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงต่อไป  คำเกิ้มได้ใช้เป็นศูนย์มิสซังอยู่หลายปี จนกระทั่งการเข้าเงียบประจำปีเดือนพฤศจิกายน ค.. 1896 (.. 2439) บรรดาธรรมทูตได้เสนอให้ย้ายศูนย์มิสซังไปอยู่ที่หนองแสง นครพนม ซึ่งเหมาะสมกว่าเพราะตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำโขง สถานที่กว้างขวางและไปมาสะดวก ดังนั้น หนองแสงจึงกลายเป็นศูนย์ที่ 3 ของมิสซังและเป็นที่ตั้งสำนักพระสังฆราช ประมุขมิสซังลาวแทนที่ศูนย์คำเกิ้ม ตั้งแต่ ค.. 1899 (.. 2422) จนถึง ค.. 1940 (.. 2483)
วัดเก่าคำเกิ้ม (หลังที่ 2) สร้างโดยคุณพ่อเฟรสแนล ค.ศ. 1907
1.3   คุณพ่ออัลเฟรด มารีย์ รองแดล
คุณพ่อรองแดล เกิดที่บาร์เซ เมืองกูตังส์ แขวงมางซ์ ประเทศฝรั่งเศส วันที่ 18 พฤศจิกายน ค.. 1855 (.. 2398) สำเร็จการศึกษาทางนิติศาสตร์ที่เมืองกัง ภายหลังได้ทิ้งอาชีพนักกฎหมายมาเข้าบ้านเณรคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ได้บวชเป็นพระสงฆ์วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.. 1880 (.. 2423) และออกเดินทางมามิสซังสยามวันที่ 31 มีนาคม ปีเดียวกัน  ได้รับมอบหมายจากพระสังฆราชเวย์ให้ไปเรียนภาษาไทยที่บ้านเณรบางช้าง สมุทรสงคราม พร้อมกับทำหน้าที่สอนสามเณร 
กระทั่งวันที่ 20 มกราคม ค.. 1883 (.. 2426) ได้รับมอบหมายให้ไปช่วยงานคุณพ่อโปรดมแพร่ธรรมที่ภาคอีสาน เดือนมกราคม ค.. 1884 (.. 2427) ได้รับมอบหมายจากคุณพ่อโปรดมให้เดินทางเข้ากรุงเทพฯกับคุณพ่อเกโก และเป็นไข้ป่าระหว่างการเดินทางที่ยากลำบาก ไม่สามารถกลับไปแพร่ธรรมที่อีสานได้อีก เมื่ออาการดีขึ้นได้รับมอบหมายให้ไปดูแลวัดบ้านแป้ง สิงห์บุรี และเป็นไข้ป่าอีกครั้งต้องเดินทางกลับไปรักษาตัวที่ประเทศฝรั่งเศส ได้รับการรักษาจากเพื่อนที่เป็นแพทย์จนหายขาดจึงเดินทางกลับประเทศสยามอีกครั้ง พร้อมกับทำหน้าที่ดูแลวัดคอนเซปชัญชั่วคราว  ปลายเดือนมกราคม ค.. 1888 (.. 2431) ได้รับมอบหมายให้ไปช่วยคุณพ่อโปรดมที่ภาคอีสานอีกครั้ง  โดยได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดคำเกิ้ม
คุณพ่อรองแดลมาถึงคำเกิ้ม พร้อมกับจดหมายของคุณพ่อโปรดมให้แยกคำเกิ้มออกจากดอนโดน โดยใช้แม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งเขต คุณพ่อรองแดลได้อนุญาตให้คริสตชนคำเกิ้มไปตั้งหลักแหล่งที่หนองแสงตามความตั้งใจ  เขตคำเกิ้มจึงประกอบด้วยบ้านคำเกิ้ม เชียงยืนและหนองแสง  ส่วนหมู่บ้านที่ยังเป็นคริสตชนสำรอง ได้แก่ บ้านขามเฒ่า นาราชควายใหญ่ บ้านซอง กุดจอก และนาบัว  นอกนั้นยังได้บุกเบิกและก่อตั้งกลุ่มคริสตชนขึ้นอีกหลายหมู่บ้าน เช่น บ้านนาราชควายน้อย นาใน นาโพธิ์-นามน นาถ่อน นาหลุบ กุดสิม ดอนหญ้านาง บ้านแมดและหนองคา รวมถึงบ้านแก้งสะดอกในประเทศลาว แต่ส่วนใหญ่ไม่มั่นคงในความเชื่อและละทิ้งไป   คงเหลือแต่ที่นามนและแก้งสะดอกเท่านั้นในปัจจุบัน
เดือนพฤษภาคม ค.. 1894  คุณพ่อรองแดลได้ไปก่อตั้งกลุ่มคริสตชนใหม่ที่หนองคายและเวียงจันทน์ พร้อมกับคุณพ่ออาทานาซีโอ ผายและครูคำสอนจำนวนหนึ่ง  กล่าวได้ว่าตั้งแต่ปี ค.. 1888-1897 (.. 2431-2439) คุณพ่อรองแดลต้องเดินทางไกลมาก ทรัพย์สินส่วนตัวหมดไปในการสร้างวัดเล็กตามหมู่บ้านต่างๆ จ้างครูคำสอนและซื้อที่ดินเพื่อเป็นประโยชน์แก่คริสตชนใหม่ที่ยากจน  รวมถึงการซื้อเครื่องมือทุกอย่างสำหรับตั้งโรงตีเหล็กเพื่อสร้างวัดถวายพระเจ้าและบ้านพักพระสงฆ์ นอกนั้น ยังรับเลี้ยงลูกของคนต่างศาสนาและช่วยเหลือคริสตชนใหม่จำนวนมากในทุกแห่งที่ไปแพร่ธรรม จนกระทั่งวาระสุดท้ายได้มอบวิญญาณคืนแด่พระเจ้าในขบวนรถไฟเข้ากรุงเทพฯ ขณะเดินทางถึงอยุธยา วันที่ 9 มีนาคม ค.. 1927 (.. 2470)
ความสมบูรณ์และงดงามของวัดเก่าคำเกิ้ม หลังการบูรณะของคุณพ่อเอดัวร์ ถัง นำลาภ 
1.4   การก่อสร้างวัด
          วัดหลังแรกสร้างขึ้นตั้งแต่ปีแรกของการก่อตั้งหมู่บ้าน ซึ่งคุณพ่อปิแอร์ แอกก๊อฟฟองบันทึกเอาไว้ว่า “การย้ายไปอยู่คำเกิ้มเกิดขึ้นประมาณกลางเดือนมกราคม ค.ศ. 1885 และประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ปีเดียวกันนี้ได้มีการสร้างบ้านพักพระสงฆ์ขึ้นพร้อมกับวัดที่น่าสงสารหลังหนึ่ง ส่วนพระแท่นทำด้วยไม้...” นับเป็นวัดชั่วคราวหลังคามุงหญ้าฝาขัดแตะ ซึ่งใช้งานเป็นเวลาหลายปี
          ค.. 1904 (.. 2447) คุณพ่อเฟรสแนลได้สร้างบ้านพักพระสงฆ์ขึ้นพร้อมกับวัดหลังใหม่ถาวร ผนังก่ออิฐถือปูน หลังคามุงด้วยไม้ มีพิธีเสกและเปิดอย่างยิ่งใหญ่โอกาสสมโภชนักบุญยอแซฟ วันที่ 19 มีนาคม ค.. 1907 (.. 2450) โดยพระสังฆราชยัง มารีย์ กืออ๊าส  คุณพ่อโปรดม และบรรดาธรรมทูต  วัดหลังที่ 2 นี้ได้ใช้เป็นศูนย์กลางในการประกอบศาสนพิธีต่อมาเป็นเวลานาน จนกระทั่ง ค.. 1940 (.. 2483)  เกิดกรณีพิพาทอินโดจีนและการเบียดเบียนศาสนา วัดได้รับความเสียหายจากการถูกลอบวางเพลิงจนไม่สามารถใช้การได้
         หลังจากนั้นได้ถูกทิ้งร้าง นานครั้งถึงมีพระสงฆ์มาถวายพิธีบูชาขอบพระคุณ นายถวิล ดงงาม วัย 81 ปี (10 มีนาคม 2017) ได้ให้ข้อมูลว่าเมื่อคุณพ่อฟรันเชสโก อันเดรโอนีมาทำหน้าที่ดูแลช่วง ค.ศ. 1950-1951 (พ.ศ. 2493-2492) ได้สร้างวัดชั่วคราวขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ เป็นวัดไม้ขนาดสามห้อง กว้าง 6 เมตร ยาว 9 เมตร หลังคามุงหญ้าฝาขัดแตะ ตั้งอยู่บริเวณที่สร้างบ้านพักพระสงฆ์ในปัจจุบัน ถือเป็นวัดหลังที่ 3 แต่ใช้งานประมาณ 2-3 ปี
          ค.ศ. 1953-1958 (พ.ศ. 2496-2501) คุณพ่อเอดัวร์ ถัง นำลาภได้มาทำหน้าที่ดูแลและคิดจะรื้อวัดหลังที่ 2 (วัดเก่า) เพื่อสร้างใหม่ตามคำเล่าของนางทองจันทร์ เทพกรรณ์ วัย 90 ปี (10 มีนาคม 2017) แต่ผู้อาวุโสชาวคำเกิ้มไม่ยอมเพราะถือว่าเป็นวัดเก่าแก่ของหมู่บ้าน ควรเก็บไว้เป็นอนุสรณ์สำหรับชนรุ่นหลัง คุณพ่อเอดัวร์ได้ทำการบูรณะใหม่โดยใช้ไม้แคนจากภูพานมุงด้วยสังกะสีอย่างที่เห็นในปัจจุบัน นางทองจันทร์ยังเล่าว่าในช่วงเบียดเบียนศาสนา ผู้เบียดเบียนได้นำรูปพระหฤทัยและรูปศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ มากองรวมกัน จากนั้นปัสสาวะรดและพูดจาสบประมาท แต่ทุกคนล้วนได้รับผลกรรมที่กระทำ ตายด้วยโรคท้องโตและปัสสาวะไม่ออก
          ค.. 1958 (.. 2501) คุณพ่อเปาโล สมชาย สลับเชื้อ อธิการและผู้จัดการโรงเรียนสันตยานันท์ นครพนม ได้มาทำหน้าที่ดูแลแทนคุณพ่อเอดัวร์ ถัง นำลาภ ได้บันทึกเอาไว้ว่า
เมื่อมาถึงคำเกิ้มทีแรก รู้สึกเสียใจมาก ที่เห็นวัดและบ้านพักพระสงฆ์ถูกทำลาย เฉพาะวัดถูกเผา เดิมวัดนี้หลังคาเป็นไม้ มาในสมัยสงครามอินโดจีนวัดถูกปิดเพราะการเบียดเบียนศาสนา ครู (กง) ซึ่งเป็นครูใหญ่โรงเรียนประชาบาลอยากซื้อหลังคาวัดด้วยราคาถูก ชาวบ้านไม่ยอมเลยเผาทั้งวัดทั้งหลังคาสิ้น เลยกลายเป็นวัดร้างมาแต่สมัยนั้น มีต้นไม้ต้นหญ้าขึ้นปกคลุมเต็มไปหมด บ้านพระสงฆ์ก็พังลงมาเหลือแต่กำแพงด้านหน้าเหมือนกรุงเยรูซาแลม พระสงฆ์ที่มาก็ต้องไปพักที่บ้านใหม่ซึ่งพ่อมนตรีซื้อมา 4 พันกว่าบาท         
 วัดคำเกิ้มหลังปัจจุบันขณะกำลังก่อสร้าง ค.ศ. 1984 โดยคุณพ่อคาร โสรินทร์
ภาพต้นฉบับ: ดุษฎีภรณ์ บางทราย
          หลังการบูรณะวัดหลังนี้ได้ใช้งานต่อมาอีกเป็นเวลานาน  จนกระทั่งมีการสร้างวัดใหม่หลังที่ 4 สมัยคุณพ่อราฟาแอล คาร  โสรินทร์ เป็นเจ้าอาวาส ค.. 1982 (.. 2525)  พร้อมกับทำรั้วกั้นรอบบริเวณวัด กระทั่งสร้างเสร็จสมบูรณ์มีพิธีเสกและเปิด ค.. 1985 (.. 2528) โดยพระอัครสังฆราชลอเรนซ์ คายน์  แสนพลอ่อน  ต่อมาคุณพ่อคารได้สร้างศาลาอเนกประสงค์ ถ้ำแม่พระและปรับปรุงบ้านพักพระสงฆ์  ส่วนหอระฆังบริเวณด้านหน้าวัดด้านขวา สร้างในสมัยคุณพ่ออันตน วีระเดช  ใจเสรี เป็นเจ้าอาวาส
          เดือนเมษายน ค.. 1998 (.. 2541) คุณพ่อมีคาแอล นิเวศน์  อินธิเสนได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส  คุณพ่อได้ร่วมมือกับชาวคำเกิ้มในการพัฒนาและปรับปรุงหลายอย่างให้ดีขึ้น อาทิ รื้อกำแพงเก่าด้านหน้าวัดที่สร้างโดยคุณพ่อโนแอล เตอโนเพื่อทำกำแพงใหม่ สร้างซุ้มประตูโรมันและถนนเข้าสู่ตัววัด รื้อรั้วกั้นรอบบริเวณวัดออกเพื่อปรับภูมิทัศน์ให้สวยงามและกว้างขวาง พร้อมกันนี้คุณพ่อได้ทำหลังคาบ้านพักพระสงฆ์ที่ถูกพายุพัดเสียหาย
          วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม ค.. 2002 (.. 2545)  คุณพ่อยอแซฟ พนศรี  ทองคำ คณะธรรมทูตแห่งมารีนิรมล ได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์โดยพระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย  กิจบุญชู ที่โถงอเนกประสงค์สามเณราลัย นักบุญยอแซฟ สามพราน นครปฐม  นับเป็นพระสงฆ์องค์แรกของหมู่บ้าน  ชาวคำเกิ้มได้ต้อนรับและร่วมความยินดีในพิธีบูชาขอบพระคุณครั้งแรกที่วัดคำเกิ้ม วันที่ 25 พฤษภาคม ค.. 2002 (.. 2545) นอกนั้น วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ.  2011 (พ.ศ. 2554) คุณพ่อยอแซฟ เด่นชัย ทองคำ คณะภราดาน้อย กาปูชิน ได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์โดยพระอัครสังฆราชหลุยส์ จำเนียร สันติสุขนิรันดร์ ที่วัดนักบุญยอแซฟ ดอนทอย อากาศอำนวย สกลนคร นับเป็นพระสงฆ์องค์ที่สองและเป็นน้องชายของคุณพ่อพนศรี ทองคำ
ภาพเหมือนของบุญราศียอแซฟ อุทัย พองพูม
1.5 บุญราศียอแซฟ อุทัย พองพูม
          นับเป็นพระพรและความยินดียิ่งใหญ่สำหรับชาวคำเกิ้ม ที่บุญราศีลาว 17 องค์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส และได้รับการประกาศและเฉลิมฉลอง ณ อาสนวิหารพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า เวียงจันทน์ วันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 2016 (พ.ศ. 2559) มีชาวคำเกิ้มอยู่ด้วยหนึ่งคนคือ บุญราศียอแซฟ อุทัย พองพูม รวมถึงบุญราศีโนแอล เตอโน อดีตเจ้าอาวาสวัดคำเกิ้ม ที่พลีชีพเป็นมรณสักขีด้วยกันใกล้เมืองพะลานเขตเซโปน แขวงสะหวันนะเขต สปป. ลาว และได้รับการแต่งตั้งเป็นบุญราศีในคราวเดียวกัน
          อุทัย พองพูม เกิดที่บ้านคำเกิ้ม เป็นบุตรของเปาโล เครือกับอันนา ผาน พองพูม ได้รับศีลล้างบาปวันพระคริสตสมภพ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1933 (พ.ศ. 2476)  หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และกรณีพิพาทอินโดจีน ค.ศ. 1945 (พ.ศ. 2488) เด็กชายอุทัย พองพูม ในวัย 12 ปีได้ถูกส่งเข้าบ้านเณร หลังจากเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาได้ออกจากบ้านเณร กลับมาใช้ชีวิตที่คำเกิ้มช่วยงานครอบครัวและเป็นครูคำสอน ต่อมาได้พบรักและแต่งงานกับมารีอา คำตัน ทองคำ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1953 (พ.ศ. 2496)  หลังจากนั้นภรรยาได้ตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรสาว แต่ภรรยาเสียชีวิตขณะให้กำเนิด และ 3 เดือนต่อมาบุตรสาวได้เสียชีวิตตามมารดา  
          หลังจากนั้นประมาณ 1 ปี คุณพ่อโนแอล เตอโน อดีตเจ้าอาวาสได้กลับไปเยี่ยมชาวคำเกิ้ม ได้ชักชวนครูอุทัย พองพูมไปเป็นครูคำสอนที่ประเทศลาว โดยเฉพาะที่บ้านป่งกิ่ว เมืองหนองบก แขวงคำม่วน ค.ศ. 1954-1958 (พ.ศ. 2497-2501)  ประมาณเดือนเมษายน ค.ศ. 1958 (พ.ศ. 2501) คุณพ่อโนแอล เตอโนได้เดินทางกลับประเทศฝรั่งเศสเป็นเวลา 1 ปี ถือเป็นห้วงเวลาแห่งการทดลองของครูอุทัย พองพูม ทำให้ตัดสินใจเดินทางกลับคำเกิ้มบ้านเกิด และได้พบกับคุณพ่อมีคาแอล เกี้ยน เสมอพิทักษ์ ต่อมาเมื่อได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสังฆราชได้ชักชวนครูอุทัย พองพูมไปอยู่ด้วยเพื่อเป็นกำลังสำคัญในทีมแพร่ธรรม (Ad gentes)
          ครูอุทัย พองพูมอยู่กับพระสังฆราชเกี้ยน เสมอพิทักษ์ เพียงช่วงเวลาสั้นๆ เมื่อคุณพ่อโนแอล เตอโนกลับจากฝรั่งเศสและได้รับมอบหมายให้บุกเบิกเขตแพร่ธรรมใหม่ในแขวงสะหวันนะเขต ครูอุทัย พองพูมได้ติดตามไปประเทศลาวอีกครั้ง เดือนเมษายน ค.ศ. 1961 (พ.ศ. 2504) ขณะที่คุณพ่อโนแอล เตอโนและครูอุทัย พองพูม กำลังเยี่ยมเยียนคริสตชนสำรองระหว่างสะหวันนะเขตกับเซโปน ทหารเวียดนามเหนือได้จับตัวท่านทั้งสองและมอบให้ทหารลาว(คอมมิวนิสต์)ใกล้เมืองพะลาน และไม่มีใครได้พบท่านทั้งสองอีกเลย สันนิษฐานว่าทั้งสองถูกยิงเสียชีวิต วันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1961 (พ.ศ. 2504) นับเป็นการเดินทางครั้งสุดท้ายที่ไม่มีวันกลับ
          ยอแซฟ อุทัย พองพูม และเพื่อนมรณสักขีอีก 16 ท่านได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสให้เป็น “บุญราศี” นับเป็นวีรกรรมที่ควรยกย่องและเป็นความชื่นชมยินดีของพระศาสนจักรทั้งมวล โดยเฉพาะต่อคริสตชนคำเกิ้มและคริสตชนในอัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง ที่ควรเลียนแบบและวอนขอพระพรจากพระเจ้าผ่านทางคำเสนอวิงวอนของท่าน ดังนั้น อัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง ได้กำหนดจัดงานเฉลิมฉลองบุญราศียอแซฟ อุทัย พองพูม วันเสาร์ที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2017 (พ.ศ. 2560) พร้อมทั้งทำโครงการปฏิสังขรณ์วัดนักบุญยอแซฟ คำเกิ้ม หลังที่ 2 เพื่อเป็นสักการสถานและมรดกทางความเชื่อสำหรับอนุชนรุ่นหลัง
ครอบครัวนางบัวผัน วงษ์ษา (ยายคำแสน) วัย 79 ปี น้องสาวของบุญราศีอุทัย พองพูม
2.        ลำดับพระสงฆ์ผู้ดูแลและเจ้าอาวาส
1.          คุณพ่อฟรังซัวร์ ซาเวียร์  เกโก (ผู้ก่อตั้ง)                     .. 1885-1888 (.. 2428-2431)
    -   คุณพ่อปิแอร์  แอกกอฟฟอง                                ค.. 1887-1888 (.. 2430-2431)
2.          คุณพ่ออัลเฟรด มารีย์  รองแดล                                   .. 1888-1895 (.. 2431-2438)
    -   คุณพ่อกาเบรียล วงศ์                                            ค.. 1889 (.. 2432)
    -   คุณพ่อเอเม  ซัลลีโอ                                             ค.. 1889-1890 (.. 2432-2433)
    -   คุณพ่ออัมโปรซิโอ  ชื่น                                        ค.. 1893-1896 (.. 2436-2439)
3.          คุณพ่อยอห์น บัปติสต์  โปรดม                                   ค.. 1894-1902 (.. 2437-2445)
    -   คุณพ่ออัลเทลม์  แอกกอฟฟอง                            ค.. 1894-1897 (.. 2437-2440)
    -   คุณพ่อแบร์ธีอาส                                                  ค.. 1900-1902 (.. 2443-2445)
4.          คุณพ่อเฟรสแนล                                                         ค.. 1902-1909 (.. 2445-2452)
    -   คุณพ่อซาบาแนล                                                  ค.. 1906-1907 (.. 2449-2450)
    -   คุณอัลแบร์  บือร์คีแอร์                                         ค.. 1908-1916 (.. 2451-2459)
5.          คุณพ่อยอร์ซ  ดาแบง                                                   ค.. 1910-1914 (.. 2453-2457)
    -   คุณพ่อลากาทือ                                                    ค.. 1912 (.. 2455)
    -   คุณพ่ออันตน หมุน  ธารา                                    ค.. 1914 (.. 2457)
6.          คุณพ่อปิแอร์  แอกกองฟอง                                        ค.. 1917-1926 (.. 2460-2469)
7.          คุณพ่อโนแอล เตอโน (บุญราศี)                                 ค.ศ. 1926-1940 (พ.ศ. 2469-2483)
8.          คุณพ่อซาวิโอ มนตรี มณีรัตน์                                    ค.ศ. 1942-1950 (พ.ศ. 2485-2493)
9.          คุณพ่อฟรันเชสโก อันเดรโอนี                                   ค.ศ. 1950-1951 (พ.ศ. 2493-2494)
10.     คุณพ่ออองรี บรียังต์                                                    ค.ศ. 1951-1953 (พ.ศ. 2494-2495)
11.     คุณพ่อเปาโล คำจวน ศรีวรกุล                                    ค.ศ. 1953 (พ.ศ. 2495)
12.     คุณพ่อเอดัวร์ ถัง นำลาภ                                             ค.ศ. 1953-1958 (พ.ศ. 2495-2501)
13.     คุณพ่อเปาโล สมชาย สลับเชื้อ                                   ค.ศ. 1958-1964 (พ.ศ. 2501-2507)
14.     คุณพ่อวิกตอร์ สีนวน ถินวัลย์                                    ค.ศ. 1964-1965 (พ.ศ. 2507-2508)
15.     คุณพ่อมีคาแอล เสนีย์ สกนธวัฒน์                             ค.ศ. 1965-1968 (พ.ศ. 2508-2511)
16.     คุณพ่อยอห์น บัปติสต์ นรินทร์ ศิริวิยานันท์               ค.ศ. 1969-1970 (พ.ศ. 2512-2513)
17.     คุณพ่อยอห์น บันลือ เกียรติธาตรี                               ค.ศ. 1971-1972 (พ.ศ. 2514-2515)
18.     คุณพ่อยอแซฟ ประสาน ทองอันตัง                           ค.ศ. 1972-1973 (พ.ศ. 2515-2516)
19.     คุณพ่อยอแซฟ ตรรกวิทย์ เวียรชัย                              ค.ศ. 1973-1975 (พ.ศ. 2516-2518)
20.     คุณพ่อเปโตร วันดี พรหมสาขา ณ สกลนคร             ค.ศ. 1976-1979 (พ.ศ. 2519-2522)
21.     คุณพ่อเปาโล สมพร อุปพงศ์                                      ค.ศ. 1979-1981 (พ.ศ. 2522-2524)
22.     คุณพ่อลอเรนซ์ ประสิทธิ์ นวลอึ่ง                              ค.ศ. 1981-1982 (พ.ศ. 2524-2525)
23.     คุณพ่อราฟาแอล คาร  โสรินทร์                                 ค.. 1982-1993 (.. 2525-2536)
24.     คุณพ่ออันตน วีระเดช  ใจเสรี                                     ค.. 1993-1995 (.. 2536-2538)
25.     คุณพ่อปัสกัล บัณฑิต  ธรรมวงศ์                                ค.. 1995-1998 (.. 2538-2541)
26.     คุณพ่อมีคาแอล นิเวศน์  อินธิเสน                              ค.. 1998-2003 (.. 2541-2546)
27.     คุณพ่อยอแซฟ สุริยา  ผันพลี                                      ค.. 2003-2007 (.. 2546-2550)
28.     คุณพ่อยอแซฟ สุดใจ แสนพลอ่อน                            ค.ศ. 2007-2008 (พ.ศ. 2550-2551)
29.     คุณพ่อเปาโล ศุภวัฒน์ ดอกเกตุ                                  ค.ศ. 2008-2013 (พ.ศ. 2551-2556)
30.     คุณพ่อเปโตร ศรายุทธ คำภูแสน                                ค.ศ. 2013-2014 (พ.ศ. 2556-2557)
31.     คุณพ่อเปาโล เด่น ช่วยสุข                                           ค.ศ. 2014-ปัจจุบัน (ค.ศ. 2557)
คุณพ่อยอแซฟ เด่นชัย ทองคำ ในวันบวชเป็นพระสงฆ์ วันที่ 21 พฤษภาคม 2011
ที่วัดนักบุญยอแซฟ ดอนทอย-หนองสนุก อากาศอำนวย สกลนคร
3.        รายนามพระสงฆ์ลูกวัด
1.          คุณพ่อยอแซฟ พนศรี ทองคำ (...)                      บวช       19 .. 2002
2.          คุณพ่อยอแซฟ เด่นชัย ทองคำ (กาปูชิน)                    บวช       21 พ.ค. 2011
4.        ข้อมูลปัจจุบัน
วัดหลังปัจจุบัน                  เป็นวัดหลังที่ 4 สร้างโดยคุณพ่อราฟาแอล คาร โสรินทร์ ค.ศ. 1985  
เจ้าอาวาส                           คุณพ่อเปาโล เด่น ช่วยสุข
เนื้อที่                                  22 ไร่
จำนวนสัตบุรุษ                  600 คน
เวลามิสซา                         วันอาทิตย์            เวลา 7.30 . วันธรรมดา  เวลา 6.00 .
กิจการคาทอลิก                  พลมารี 1 เปรซิเดียม กลุ่มเยาวชน และกลุ่มคริสตชนพื้นฐาน (บีอีซี) 5 กลุ่ม
 วัดนักบุญยอแซฟ คำเกิ้มในปัจจุบัน ค.ศ. 2017

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น