วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โรงเรียนในเครือเซนต์ยอแซฟ



โรงเรียนในเครืออัครสังฆมณฑลท่าแร่หนองแสง
โรงเรียนในเครืออัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง เกี่ยวเนื่องกับการเข้ามาของคริสตศาสนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการนำของ บาทหลวงยอห์น บัปติสต์ โปรดม และบาทหลวงซาเวียร์ เกโก พระสงฆ์คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (M.E.P.) ซึ่งเริ่มงานเผยแผ่ศาสนาเป็นครั้งแรกที่นครพนมในเดือนกันยายน ค.ศ. 1883 (พ.ศ. 2426) ต่อมาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1884 (พ.ศ. 2427) ได้ก่อตั้งกลุ่มคริสตชนที่สกลนคร ก่อนจะอพยพกลุ่มคริสตชนทั้งหมดไปตั้งหลักปักฐานที่ท่าแร่ในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน
บรรดาธรรมทูตเหล่านี้ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาอบรมเด็กและเยาวชนในทุกแห่งที่ก่อตั้ง ในปี ค.ศ. 1891 (พ.ศ. 2434) คุณพ่อโปรดม ได้ตั้งโรงเรียนที่ดอนโดนขึ้นเป็นแห่งแรก เพื่อให้การศึกษาอบรมแก่สามเณรและครูคำสอน  ก่อนที่ประเทศไทยจะมีพระราชบัญญัติการประถมศึกษาแห่งชาติในปี ค.ศ. 1921 (พ.ศ. 2464) ถึง  30 ปี 
ในปี ค.ศ. 1896 (พ.ศ. 2439) บาทหลวงยอแซฟ กอมบูริเออ เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดมหาพรหมมีคาแอลท่าแร่ ได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นชื่อ โรงเรียนมหาพรหมมีคาแอล ในบริเวณวัดนั่นเอง  ดำเนินการสอนตามตำรามูลบทบรรพกิจของทางราชการ โดยจัดให้เด็กชายเรียนเขียนอ่านภาษาไทยด้วยอักษรไทย ส่วนเด็กหญิงเรียนด้วยอักษรโรมัน (ภาษาวัด) เมื่อรัฐบาลประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาแห่งชาติ เด็กหญิงจึงได้เรียนอักษรไทยตั้งแต่นั้นมา
โรงเรียนมหาพรหมมีคาแอล ก่อตั้งปี ค.ศ. 1896
โรงเรียนมหาพรหมมีคาแอล จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของการให้บริการด้านการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนให้มีความรู้และคุณธรรมตามแนวทางการศึกษาคาทอลิก  และนำไปสู่การเปิดโรงเรียนในที่ต่างๆ อีกหลายโรงในเวลาต่อมา ได้แก่ โรงเรียนพระหฤทัยหนองแสง โรงเรียนวัดแม่พระไถ่ทาสสองคอน โรงเรียนวัดพระตรีเอกานุภาพช้างมิ่ง โรงเรียนวัดนักบุญยอแซฟดอนทอย โรงเรียนวัดนักบุญมารีอามักดาเลนานาโพธิ์ โรงเรียนวัดนักบุญกาทารีนาทุ่งมน โรงเรียนมารีย์นุเคราะห์จันทร์เพ็ญ เป็นต้น
ต่อมาภายหลัง บาทหลวงเกลาดิอุส  บาเย  เจ้าอาวาสอาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอลท่าแร่ ได้ก่อตั้งโรงเรียนเซนต์ยอแซฟท่าแร่ขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ บาทหลวงยอแซฟ กอมบูริเออ พระสงฆ์ธรรมทูตผู้บุกเบิกและวางรากฐานหมู่บ้านท่าแร่เป็นเวลายาวนานกว่า 50 ปี จุดหมายแรกของการก่อตั้งโรงเรียนคือ เพื่อให้การศึกษาอบรมเด็กและเยาวชนให้มีความรู้และคุณธรรมตามแนวทางการศึกษาคาทอลิก
คุณพ่อยอแซฟ กอมบูริเออและคณะครูโรงเรียนมหาพรหมมีคาแอล ปี ค.ศ. 1927
โรงเรียนเซนต์ยอแซฟท่าแร่ ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1939 (พ.ศ. 2482) แต่เปิดทำการเรียนการสอนได้ไม่นานก็ต้องหยุดกิจการเนื่องจากเกิดกรณีพิพาทอินโดจีน  จนกระทั่งเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1947 (พ.ศ. 2490) บาทหลวงศรีนวล  ศรีวรกุล  ได้ยื่นขออนุญาตเปิดโรงเรียนอีกครั้งหนึ่ง โดยมุ่งให้การศึกษาอบรมแก่สามเณรและยุวเณรีเป็นการเฉพาะ แต่ได้เปิดรับนักเรียนอื่นด้วย ทำให้กิจการของโรงเรียนเจริญเติบโตขึ้นเป็นลำดับ และกลายเป็นโรงเรียนต้นแบบของโรงเรียนในเครือทุกโรงในเวลาต่อมา
โรงเรียนในเครืออัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง ในปัจจุบันประกอบด้วย 

ที่
ชื่อโรงเรียน
ที่ตั้ง
1.

โรงเรียนเซนต์ยอแซฟยานนาวา
ก่อตั้ง ค.ศ. 1963 (พ.ศ. 2506)
2094 / 1 2  ซอยทวีวัฒนา  แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา  กรุงเทพมหานคร 10120
2.
โรงเรียนเซนต์ยอแซฟสกลนคร
ก่อตั้ง ค.ศ. 1979 (พ.ศ. 2522)
361 ม.2 ถนนสกลนคร-อุดรธานี ต.ธาตุเชิงชุม อ. เมือง จ. สกลนคร 47000
3.
โรงเรียนเซนต์ยอแซฟกาฬสินธุ์
ก่อตั้ง ค.ศ. 1985 (พ.ศ. 2528)
88 ถนนถีนานนท์ อ.เมือง จ. กาฬสินธุ์ 46000
4.
โรงเรียนเซนต์ยอแซฟมุกดาหาร
ก่อตั้ง ค.ศ. 1989 (พ.ศ. 2532)
72 ถนนชยางกูร ข ต.มุกดาหาร อ.เมือง จ.มุกดาหาร 49000
5.
โรงเรียนเซนต์ยอแซฟนาแก
ก่อตั้ง ค.ศ. 1993 (พ.ศ. 2536)
585 ม.4 ถนนมัธยมจันทร์  ต.นาแก  อ.นาแก จ.นครพนม 48130
6.
โรงเรียนเซนต์ยอแซฟศรีสงคราม
ก่อตั้ง ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543)
196 ม.6 ถนนศรีสงคราม นาหว้า ต.ศรีสงคราม อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม 48150
7.
โรงเรียนเซนต์ยอแซฟกุฉินารายณ์
ก่อตั้ง ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547)
299 หมู่ 10 ต.บัวขาว อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ 46110

วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วัดนักบุญอันนาหนองแสง



รองอาสนวิหารนักบุญอันนา หนองแสง

28 ถนนสุนทรวิจิตร ตำบลหนองแสง  อำเภอเมือง  จังหวัดนครพนม 48000

1.         ประวัติความเป็นมา
เมื่อปี ค.. 1881 (.. 2424) คุณพ่อยอห์นบัปติสต์ โปรดม และคุณพ่อซาเวียร์ เกโก พระสงฆ์คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส เดินทางมาถึงอุบลราชธานีและตั้งหลักแหล่งที่บุ่งกะแทว  ต่อมามีคนจากหัวเมืองทางเหนือของอีสานมาเชิญคุณพ่อให้ขึ้นไปหนองคาย  โดยอ้างว่ามีหลายคนอยากเข้าศาสนา คุณพ่อโปรดม ได้ตัดสินใจไปพร้อมกับคุณพ่ออัลเฟรด-มารีย์ เทโอฟิล  รองแดล และครูสอนคำสอนชื่อ ครูทอง โดยออกเดินทางจากจากอุบลฯวันที่ 26 เมษายน ค.. 1883 (.. 2427) มาถึงนครพนมเป็นครั้งแรกในเดือนมิถุนายน ค.. 1883 (.. 2427) จุดประสงค์ก็เพื่อสำรวจเส้นทาง สถานการณ์และการดำเนินชีวิตของชาวบ้านเพื่อวางโครงการแพร่ธรรมในโอกาสต่อไป  เมื่อได้ใช้เวลาสำรวจไปถึงหนองคายและเวียงจันทน์เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว คุณพ่อทั้งสองก็เดินทางกลับอุบลฯ
1.1          กลุ่มคริสตชนแรกที่นครพนม
ในการเดินทางกลับอุบลฯได้มาแวะพักที่นครพนมหลายสัปดาห์ ในโอกาสนั้นคุณพ่อโปรดมกับคุณพ่อรองแดล ได้สอนคำสอนให้ชาวเวียดนามที่สนใจ ที่สุดได้โปรดศีลล้างบาปคริสตชนชาวเวียดนามกลุ่มแรกที่นครพนมจำนวน 13 คน และจัดให้พวกเขารับศีลสมรสอย่างถูกต้องอีก 4 คู่ เมื่อวันที่ 14 กันยายน ค.. 1883 (.. 2426)  หลังจากฉลองปัสกาในเดือนเมษายน ค.. 1884 (.. 2427) คุณพ่อโปรดม คุณพ่อเกโก และครูทัน ครูเณรชาวเวียดนามได้เดินทางจากอุบลฯมานครพนมอีกครั้งหนึ่ง กลุ่มคริสตชนของนครพนมได้ต้อนรับคณะของคุณพ่อด้วยความยินดียิ่งและรวมกลุ่มอาศัยอยู่ทางทิศใต้ของตัวเมืองนครพนม ใกล้กับที่เรียกว่า วัดป่า ต่อมาได้มีครอบครัวชาวเวียดนาม 4-5 ครอบครัวได้มาตั้งหลักแหล่งอยู่ด้วยและสมัครเป็นคริสตชนโดยมีครูทันเป็นคนสอนคำสอน  เดือนมิถุนายน ค.. 1884 (.. 2427) คุณพ่อโปรดม และครูเณรทัน ได้เดินทางต่อไปยังสกลนคร โดยมีความประสงค์จะตั้งกลุ่มคริสตชนที่นั่นถ้าเป็นไปได้  ต่อมาในเดือนมกราคม ค.. 1885 (.. 2428) คุณพ่อเกโก ได้ปรึกษากับทุกคนเพื่อย้ายคริสตชนกลุ่มนี้ไปอยู่ที่บ้านคำเกิ้ม ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของตัวเมืองนครพนมประมาณ 3-4 กิโลเมตร
ในเดือนแรกของปี ค.. 1887 (.. 2430) คริสตชนชาวคำเกิ้ม ได้ไปหักล้างถางพงที่บ้านหนองแสงเพื่อทำไร่และอยู่อาศัย คุณพ่อเกโก ไม่อยากให้ไปตั้งหลักแหล่งอยู่ถาวร แต่อนุญาตให้ไปทำไร่ได้  ส่วนคุณพ่อรองแดล นั้นตรงข้าม ท่านไม่ห้ามให้ไปตั้งบ้านคริสตชนที่หนองแสง  ฉะนั้นเมื่อคุณพ่อได้รับภาระให้ดูแลบ้านคำเกิ้ม จึงชักชวนและแนะนำชาวคำเกิ้มให้ไปตั้งถิ่นฐานที่บ้านหนองแสง ท่านได้สร้างบ้านขึ้นหลังหนึ่งซึ่งได้ใช้เป็นวัดในเวลาต่อมา  บ้านหนองแสงเดิมตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของบ้านคำเกิ้ม ห่างกันประมาณ 2 กิโลเมตร
คณะสงฆ์มิสซังลาวสมัยพระสังฆราชกืออาส ปี ค.ศ. 1903 ณ ศูนย์มิสซังแห่งใหม่ที่หนองแสง
1.2          หนองแสง ศูนย์กลางของมิสซังใหม่
ในเวลานั้นมีพระสงฆ์ประจำอยู่ที่ศูนย์บุ่งกะแทว คำเกิ้มและท่าแร่ วัดนักบุญยอแซฟ คำเกิ้มซึ่งเป็นสถานที่อยู่กึ่งกลางกว่าวัดแม่พระนฤมลทิน บุ่งกะแทว ที่อุบลฯ ได้กลายเป็นศูนย์กลางที่สองของมิสซัง ซึ่งบรรดาพระสงฆ์ที่อยู่ทางแขวงนี้พากันมาประชุมและเข้าเงียบเป็นประจำในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี  แต่เนื่องจากผู้ปกครองมิสซังในสมัยนั้นไม่ได้พำนักอยู่ที่คำเกิ้มตามตำแหน่ง  ส่วนมากมักพักอยู่กับพระสงฆ์มิชชันนารีองค์อื่นเพื่อช่วยงานหรือไปเยี่ยมเยียนสัตบุรุษตามวัดต่างๆ  ซึ่งได้ก่อให้เกิดปัญหาและความไม่สะดวกหลายอย่างตามมา  เพราะพระสงฆ์ที่ประสบปัญหาไม่สามารถปรึกษาหารือได้ อีกทั้งเจ้าหน้าที่บ้านเมืองหรือบุคคลภายนอกไม่สามารถติดต่อได้
ดังนั้น หลังการเข้าเงียบประจำปีในเดือนพฤศจิกายน ค.. 1896 (.. 2439) บรรดาพระสงฆ์จึงเสนอความเห็นให้มีสถานที่หนึ่งสำหรับใช้เป็นสำนักของอุปสังฆราชผู้ปกครองมิสซัง และเป็นสำนักทางการของมิสซังด้วยเพื่อให้ง่ายต่อการติดต่อทางจดหมายและปรึกษาหารือปัญหาต่างๆ โดยเลือกเอาบ้านหนองแสง แต่หลังจากพิจารณาอย่างละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ที่เหมาะสมกว่าก็เห็นว่า ควรย้ายบ้านพักและโรงสวดไปตั้งใกล้ฝั่งแม่น้ำโขงที่มีสถานที่กว้างขวางและไปมาสะดวก ที่ตั้งใหม่นี้คือ หนองแสงในปัจจุบัน  ดังนั้น หนองแสงจึงกลายเป็นศูนย์ที่ 3 ของมิสซังและเป็นสำนักพระสังฆราช ประมุขปกครองมิสซังลาวตั้งแต่ปี ค.. 1899 (.. 2422) มาจนถึงปี ค.. 1940 (.. 2483)
เมื่อได้ข้อยุติเกี่ยวกับสถานที่ตั้งศูนย์กลางมิสซังที่หนองแสงแล้ว คุณพ่อโปรดม ได้เตรียมสถานที่และโค่นต้นไม้เพื่อจะได้สร้างบ้านหลังเล็ก ๆ สำหรับเป็นที่อาศัยของคุณพ่อ ซึ่งต่อมาภายหลังได้สร้างเป็นโรงครัวในปี ค.. 1897 (.. 2440)  ในการก่อสร้างครั้งนั้นคริสตชนที่อยู่รอบๆ หนองแสงมีส่วนอย่างมากในการเตรียมไม้เสา ไม้โครงส่วนต่างๆ เพื่อสร้างตึกตามโครงการดังกล่าว  คริสตชนวัดดอนโดนซึ่งเลื่อยไม้เก่งได้อาสาเป็นผู้เลื่อยไม้ขื่อ  หลังวันปัสกาปี ค.. 1897 (.. 2440)  คริสตชนวัดต่างๆ ได้บรรทุกไม้ที่เลื่อยแล้วใส่เรือมาส่งที่หนองแสง แต่น่าเศร้าใจเป็นอย่างยิ่งที่มีเหตุร้ายแรงอุบัติขึ้น เมื่อคริสตชนดอนโดน 12 คนที่ผูกไม้ซุง 3 ท่อนติดกับเรือล่องแม่น้ำโขงจากเกาะดอนโดนมาหนองแสง ระหว่างทางเกิดลมพัดแรงจนเรือล่มเป็นเหตุให้มีผู้จมน้ำตาย 6 คน  อย่างไรก็ตามในที่วันที่ 21 มิถุนายน ค.. 1887 (.. 2440) ชาวบ้านเริ่มตั้งเสาต้นแรก เพียงไม่กี่วันต่อมาโครงตึกทั้งหลังก็เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา  พวกเขาจึงใช้หญ้ามุงมุมด้านหนึ่งแล้วปูพื้นชั่วคราวเพื่อเป็นที่อยู่ของอุปสังฆราช ซึ่งได้มาอยู่ประจำประมาณเดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคม ค.. 1897 (.. 2440)
คณะสงฆ์มิสซังลาวสมัยพระสังฆราชแกวง ปี ค.ศ. 1937 ณ สำนักมิสซังหนองแสง
         พระสังฆราชเกลาดิอุส บาเย ได้บันทึกเอาไว้ว่าเมื่อท่านมาถึงมิสซังลาวในปี ค.. 1926 (.. 2469) ตัวตึกยังคงอยู่และใช้ต่อมาจนถึงปี ค.. 1940 (..2483) มีลักษณะเป็นตึกใหญ่มีเสาเป็นไม้ทั้งหมด ยกพื้นสูงจากดินประมาณ 1.50 เมตร มีเพียงชั้นเดียวเท่านั้น ตรงกลางเป็นห้องกว้าง ใช้เป็นห้องอาหาร ห้องประชุมและห้องพักผ่อน  ปลายตึกทั้ง 2 ข้างมี 4 ห้องพร้อมกับเตียง มีระเบียงกว้างสองเมตรรอบตัวตึก นี่คือตึกที่พระสังฆราชยอแซฟ-มารีย์ กืออ๊าส พระสังฆราชองค์แรกได้มาพักอยู่เมื่อมาถึงหนองแสง  นอกนั้นยังมีห้องพักสำหรับพระสงฆ์ที่ผ่านมาหนองแสงและได้ใช้เป็นสถานที่เข้าเงียบประจำปีของพระสงฆ์ในเดือนพฤศจิกายนด้วย
       ในครั้งนั้น คุณพ่อโปรดม ยังได้สร้างวัดเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งต้องเรียกว่า อาสนวิหาร เพราะเป็นวัดพระสังฆราช ซึ่งในชั้นแรกที่สร้างขึ้นยังไม่มีประตูหน้าต่าง เครื่องประดับตกแต่งและเครื่องใช้ภายใน  แต่ก็ได้เริ่มไช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมแล้วตั้งแต่วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ ปี ค.. 1901 (.. 2462) ดังที่คุณพ่อมาลาวาล ได้กล่าวว่า  จนถึงบัดนี้วัดของเราเป็นตึกดูคล้ายกับศาลาพักแรมตามบ้านนอก    
 1.3 อาสนวิหารหลังใหม่
ภายหลังที่คุณพ่อโปรดม ได้รับเลือกให้เป็นพระสังฆราชองค์ที่สองของมิสซังลาวในปี ค.. 1913 (.. 2456) ก็ได้ดำเนินการก่อสร้างอาสนวิหารใหม่ตามแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก งานก่อสร้างเริ่มก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี ค.. 1914 (.. 2457) แต่มาหยุดชะงักปลายเดือนสิงหาคม ค.. 1914 (.. 2457) ต่อมาได้มอบหมายให้คุณพ่อแฟรสแนล ดำเนินการก่อสร้างต่อในปี ค.. 1918 (.. 2461) สร้างเสร็จกลางปี ค.. 1919 (.. 2462) 
       นับเป็นอาสนวิหารที่ใหญ่โตแข็งแรงและสวยงามมาก ด้านหน้ามีหอคู่ที่มีลักษณะเป็นยอดแหลมสูงเด่นเป็นสง่ามองเห็นได้จากระยะไกล  โครงหลังคาสร้างอย่างถูกหลักเทคนิค วัสดุก่อสร้างส่วนใหญ่ขนมาจากเมืองไซ่ง่อน ประเทศเวียดนาม ซึ่งสมัยนั้นมีเพียงบริษัทเดินเรือบริษัทเดียวที่เดินเรือระหว่างไซ่ง่อนกับเวียงจันทน์สัปดาห์ละครั้ง จึงเข้าใจได้ว่าต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะสร้างเสร็จ นับเป็นผลงานชิ้นเอกที่ยังความพิศวงงงงวยแก่ผู้ที่พบเห็น  แต่น่าเสียดายที่อาสนวิหารนี้ได้ถูกระเบิดทำลายจนหมดสิ้นในช่วงที่เกิดกรณีพิพาทอินโดจีนระหว่างประเทศไทยกับกลุ่มประเทศอินโดจีนของฝรั่งเศสในปี ค.. 1940 (.. 2483) เหลือไว้แต่ซากปรักหักพังที่ยากแก่การปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่  มิฉะนั้นเราคงจะมีโบราณสถานอันล้ำค่าแห่งหนึ่งของภาคอีสาน ณ ดินแดนแห่งนี้
ภายหลังที่สงครามสงบมิสซังได้ย้ายศูนย์กลางไปอยู่ที่บ้านท่าแร่ จังหวัดสกลนคร ที่หนองแสงคุณพ่ออัลแบร์ ดงได้สร้างวัดชั่วคราวขึ้นเป็นหลังที่ 3 หลังคามุงแฝก ต่อมาคุณพ่อเอดัวร์ ถัง นำลาภ ได้บูรณะวัดหลังนี้ให้ดีขึ้น โดยมุงหลังคาด้วยดินเผา  เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.. 1965 (.. 2508) วัดชั่วคราวซึ่งมุงด้วยดินเผาทนการสั่นสะเทือนจากการทิ้งระเบิดที่บ้านถ้ำ ประเทศลาวไม่ได้หลังคาจึงพังทะลายลงมา แต่ไม่มีใครได้รับอันตราย  คุณพ่ออันตน เสงี่ยม ศรีวรกุล เจ้าอาวาสในขณะนั้นพร้อมกับคริสตชนชาวหนองแสงได้พากันซ่อมแซมเปลี่ยนหลังคาเป็นสังกะสีเพื่อจะได้ใช้เป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนาต่อไป
1.4   คุณพ่อเอดัวร์ ถัง นำลาภ
คุณพ่อเอดัวร์ เกิดวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.. 1893 (.. 2436)  ที่จังหวัดจันทบุรี เข้ารับการศึกษาที่บ้านเณรเล็กบางนกแขวก อำเภอบางคณฑี จังหวัดสมุทรสงคราม  ระหว่างปี ค.. 1908-1916 (.. 2451-2459) จากนั้นเป็นครูเณรที่บางนกแขวกจนถึงปี ค.. 1920 (.. 2463) จึงได้เข้ารับการศึกษาที่บ้านเณรใหญ่ ปีนัง ประเทศมาเลเซียจนจบหลักสูตรได้บวชเป็นพระสงฆ์เมื่อปี ค.. 1926 (.. 2469) 
ต่อมาเมื่อคุณพ่อโบแอร์ เจ้าอาวาสอาสนวิหารนักบุญอันนา หนองแสง ลาพักเนื่องจากสุขภาพไม่ดีในปี ค.. 1929 (.. 2472)  จึงไม่มีพระสงฆ์ที่รู้ภาษาเวียดนามดีพอ  เนื่องจากคริสตชนที่หนองแสงส่วนใหญ่ใช้ภาษาเวียดนาม  พระสังฆราชแกวง จึงขอมิสซังกรุงเทพฯให้หาพระสงฆ์ที่รู้ภาษาเวียดนามไปช่วย  คุณพ่อเอดัวร์ จึงสมัครมาช่วยงานที่หนองแสง เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสคุณพ่อมาลาวาล ทำหน้าที่ดูแลวัดเชียงยืน นามน โคกก่อง และได้เป็นเจ้าอาวาสวัดหนองแสงในเวลาต่อมา
       ระหว่างที่เกิดกรณีพิพาทอินโดจีนและการเบียดเบียนศาสนาในปี ค.. 1940 (..2483)  อาสนวิหารที่หนองแสงถูกทหารไทยยึดและใช้หอระฆังซึ่งเป็นหอสูงเป็นที่ส่องกล้องดูความเคลื่อนไหวของฝ่ายฝรั่งเศส  จึงถูกยิงด้วยปืนใหญ่จากฝั่งลาวจนหอระฆังพังไปแถบหนึ่ง  เมื่อเห็นว่าอาสนวิหารถูกยิงได้รับความเสียหายข้าหลวงเมืองนครพนมได้สั่งให้นักโทษในเรือนจำขึ้นไปรื้อกระเบื้องหลังคา ขนเอาอิฐ และไม้ไปขาย  คงเหลือแต่ซากหอระฆังอีกข้างหนึ่งเท่านั้น  สำนักพระสังฆราช บ้านพักพระสงฆ์ โรงเรียนพระหฤทัย บ้านเณร อาราม โรงเลี้ยงเด็กกำพร้า ยุ้งข้าว กำแพงอิฐทั้ง 4 ด้าน ฯลฯ ถูกรื้อเอาไปหมดเช่นกัน เหลือแต่ซากปรักหักพัง  เวลานั้นคุณพ่อเอดัวร์ ถูกจับขังคุกพร้อมกับคริสตชนบางคน เช่น ครูทัน เวียงชัย  ภายหลังออกจากคุกแล้วยังมีผู้ใส่ร้ายคุณพ่อว่าเป็นแนวที่ 5 กล่าวหาว่าคุณพ่อฉายไฟให้เครื่องบินของฝรั่งเศสมาทิ้งระเบิดที่นครพนมและที่สกลนคร  จนถูกดำเนินคดีและถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตเมื่อปี ค.. 1941 (.. 2484)  คุณพ่อถูกส่งตัวไปคุมขังที่คุกบางขวาง จังหวัดนนทบุรี
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี ค.. 1945 (..2488)  นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้ประกาศนิรโทษกรรม คุณพ่อเอดัวร์ จึงได้กลับมาเป็นเจ้าอาวาสที่หนองแสงอีกครั้ง  พร้อมกับทำหน้าที่ดูแลคริสตชนชาวเวียดนามที่อพยพเข้ามาประเทศไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กระจัดกระจายอยู่ตามริมแม่น้ำโขง ในเขตอำเภอต่างๆ ที่อยู่ตามแนวชายแดน เช่น อำเภอบ้านแพง ธาตุพนม มุกดาหาร ดอนตาล ฯลฯ คุณพ่อได้ติดตามหากลุ่มคริสตชนเหล่านั้น ตั้งแต่อำเภอบ้านแพงมาจนถึงอำเภอมุกดาหารด้วยความร้อนรนและด้วยความห่วงใยเป็นที่น่าสรรเสริญยิ่งนัก จนกระทั่งหัวใจวายถึงแก่มรณภาพขณะกำลังขึ้นฝั่งแม่น้ำโขงเพื่อติดตามกลุ่มคริสตชนที่อำเภอบ้านแพงเมื่อวันที่ 14 กันยายน ค.. 1965 (.. 2508) สิริอายุ 72 ปี  นับเป็นการสูญเสียปูชนียบุคคลอีกครั้งหนึ่งของวัดหนองแสงและสังฆมณฑล
1.5    รองอาสนวิหารนักบุญอันนา: วัดหลังปัจจุบัน
เดือนมีนาคม ค.. 1972 (.. 2515) พระอัครสังฆราชมีคาแอลเกี้ยน เสมอพิทักษ์ ได้อนุมัติให้สร้างวัดหลังใหม่หลังที่ 4 สำหรับใช้เป็นรองอาสนวิหารของอัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง เพื่อเป็นการระลึกถึงความเสียสละและความกล้าหาญของมิชชันนารีรุ่นแรกที่ได้นำเมล็ดพันธุ์แห่งพระวรสารมาหว่านในดินแดนแห่งนี้ ประกอบกับวัดชั่วคราวมีอายุกว่าสามสิบปีแล้วไม่ปลอดภัยสำหรับสัตบุรุษ โดยมีพิธีวางศิลาฤกษ์ในวันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม ค.. 1972 (.. 2515) ตรงกับวันสมโภชพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์  
        วัดหลังใหม่นี้สร้างตามแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่คล้ายคลึงกับอาสนวิหารหลังเก่าที่ถูกทำลาย ด้วยความร่วมมือร่วมใจอย่างพร้อมเพรียงของคริสตชนชาวหนองแสง ด้วยความศรัทธาและความช่วยเหลือของคริสตชนจากภาคกลาง  พร้อมทั้งความสามารถของคุณพ่ออันตน เสงี่ยม วัดหลังใหม่จึงสำเร็จลงอย่างน่าสรรเสริญ เป็นวัดที่ใหญ่โตตั้งตระหง่าน สง่างามทั้งภายนอกและภายในสมกับเป็นรองอาสนวิหารอย่างแท้จริง ได้มีพิธีเสกและเปิดอย่างยิ่งใหญ่เมื่อวันที่  18 เมษายน ค.. 1975 (.. 2518) โดยพระสังฆราชเกลาดีอุส บาเย อดีตประมุขมิสซังลาว, มิสซังท่าแร่และมิสซังอุบลราชธานี มิชชันนารีรุ่นที่สองผู้บุกเบิกและมีบทบาทสำคัญในพระศาสนจักรท้องถิ่นแห่งนี้
ปี ค.. 1985 (.. 2528) คุณพ่อยอแซฟ ตรรกวิทย์ เวียรชัย ได้รับแต่งตั้งให้มาเป็นเจ้าอาวาส  คุณพ่อได้ปรับปรุงและพัฒนาวัดหลายอย่าง เช่น สร้างบ้านพักพระสงฆ์หลังใหม่ และอาคารสำนักงานโคเออร์ ส่วนถนนรอบวัดสร้างในสมัยคุณพ่อยอแซฟ ธีระยุทธ อนุโรจน์  ต่อมาในปี ค.. 1998 (.. 2541) คุณพ่อยอแซฟ ตรรกวิทย์ ได้รับแต่งตั้งให้มาเป็นเจ้าอาวาสอีกครั้ง  และได้ดำเนินการก่อสร้างศาลาอเนกประสงค์บริเวณที่เคยเป็นที่ตั้งวัดเก่าหลังที่ 3  จนกระทั่งแล้วเสร็จสมบูรณ์ มีพิธีเสกและเปิดโอกาสปิดปีปีติมหาการุญ ค.. 2000  โดยให้ชื่อว่า ศาลาเซนต์แอน ค.. 2000”  รวมค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 1,100,000.- บาท  โดยได้รับการสนับสนุนจากพี่น้องคริสตชนชาวหนองแสงและผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป