วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2567

คุณพ่ออันดรูว์ สำราญ วงศ์เสงี่ยม

คุณพ่ออันดรูว์ สำราญ  วงศ์เสงี่ยม

(Rev. Fr. Andrew Samran  VONGSA-NGIEM)

1.         กำเนิด

คุณพ่ออันดรูว์ สำราญ วงศ์เสงี่ยม  เกิดเมื่อ 6 มิถุนายน 1938 (2481) (ถือตามหลักฐานราชการจากเอกสารการศึกษา) รับศีลล้างบาปที่วัดนักบุญเทเรซา สะหวันนะเขต ประเทศลาว โดยคุณพ่อเปโตร  ฮัน เมื่อ 19 มิถุนายน 1939 (2482) คุณพ่อเป็นบุตรชายคนโตของ เปาโล เหงียน วัน  ซาง กับ เทเรซา เหงียน ธิ  เมา คริสตชนชาวเวียดนามซึ่งรับศีลสมรสที่วัดฝู กาม เมืองเว้ ประเทศเวียดนาม ปี 1935 (2478) แต่มาทำงานที่สะหวันนะเขต ประเทศลาว

ก่อนเดินทางกลับประเทศเวียดนาม บิดามารดาได้มอบบุตรชายให้อยู่ในความอุปการะของคุณพ่อเปาโล คำจวน  ศรีวรกุล ซึ่งขณะนั้นเป็นเจ้าอาวาสวัดแม่พระนิรมลทิน บุ่งกะแทว อุบลราชธานี ทำให้คุณพ่อต้องพลัดพรากจากบิดามารดาตั้งแต่ยังเล็ก เติบโตในประเทศไทย โดยอยู่ในความดูแลของภคินีรักกางเขนแห่งอุบลราชธานีและได้รับการอบรมบ่มเพาะในวัฒนธรรมอีสานแบบเด็กอีสานทั่วไป



         ครอบครัวของคุณพ่อที่ประเทศเวียดนาม เป็นครอบครัวที่มีความเชื่อมั่นคงและมีความศรัทธาแรงกล้า และเป็นบ่อเกิดแห่งกระแสเรียก โดยมีน้องชาย 1 คนเป็นพระสงฆ์ คือคุณพ่ออันดรูว์ เหงียน วัน  ฟุ๊ก และหลานอีก 2 คน เป็นพระสงฆ์ คือ คุณพ่อเปโตร ฟัม หงอก  ฮวา และคุณพ่อมีคาแอล ฟัม หงอก หาย (บุตรชายของอลีซาเบธ เหงียน ธิ  ลันห์ พี่สาว) คุณพ่อมีพี่น้องทั้งหมด 8 คน ดังรายนามต่อไปนี้

1)         นางอลีซาเบธ เหงียน ธิ  ลันห์        เสียชีวิต

2)         คุณพ่ออันดรูว์ สำราญ  วงศ์เสงี่ยม (เหงียน วัน  ลันห์)

3)         คุณพ่ออันดรูว์ เหงียน วัน  ฟุ๊ก

4)         นางมารีอา เหงียน ธิ  เฮา

5)         นายมีคาแอล เหงียน วัน  กิ๊น

6)         นายอันดรูว์ เหงียน วัน  ติน

7)         นางมารีอา เหงียน ธิ  แซน

8)         นายเปโตร เหงียน วัน  กุ๊ย              เสียชีวิต



2.        
การศึกษา

2.1     ประถมศึกษา                      โรงเรียนอาเวมารีอา อุบลราชธานี               

2.2     มัธยมศึกษา                         โรงเรียนเซนต์ยอแซฟท่าแร่ สกลนคร

2.3     B.A. (Philosophy)              Pont. Universitas Urbaniana          1965 (2508)

2.4     M.A. (Philosophy)            Pont. Universitas Urbaniana          1966 (2509)

2.5     M. In Divinity (S.T.L.)      Pont. Universitas Urbaniana          1970 (2513)

2.6     M. In Liturgy (S.T.L.)       Pont. Universitas St. Anselmi       1975 (2518)



3.        
กระแสเรียก

3.1     บ้านเณรเล็ก          สามเณราลัยแม่พระฟาติมา ท่าแร่ สกลนคร   1950-1962 (2493-2505)

3.2     บ้านเณรใหญ่        Pont. Collegio Propaganda Fide, Rome, ITALY  1963-1970 (2506-2513)

3.3     บวชเป็นพระสงฆ์  เมื่อศุกร์ที่ 19 มีนาคม 1971 (2514) ที่วัดพระคริสตราชา ช้างมิ่ง พร้อมกับคุณพ่อยอห์น บันลือ  เกียรติธาตรี โดย พระอัครสังฆราช มีคาแอล เกี้ยน  เสมอพิทักษ์

3.4        คติพจน์      “ความรักมั่นคงของพระองค์ ดำรงเป็นนิตย์” (สสด 118)



4.    
หน้าที่การงาน

v 1971-1972 (2514-2515)         อธิการโรงเรียนเซนต์ยอแซฟท่าแร่ ดูแลวัดราชินีแห่งสายประคำศักดิ์สิทธิ์ จอมแจ้ง

v 1973-1975 (2516-2518)         ศึกษาวิชาพิธีกรรม ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี

v 1975-1989 (2518-2532)         อาจารย์วิทยาลัยแสงธรรม, เหรัญญิก และรองอธิการสถาบันแสงธรรม

v  1975-1997 (2518-2540)         เลขาธิการคณะกรรมการพิธีกรรมแห่งประเทศไทย

v 1989-1993 (2532-2536)         อธิการและผู้จัดการโรงเรียนวรสารพิทยา กรุงเทพฯ

v 1993-2009 (2536-2552)         อุปสังฆราช

v  1993-1998 (2536-2541)         เจ้าอาวาสสักการสถานพระมารดาแห่งมรณสักขี สองคอน

v 1994-1998 (2537-2541)         อธิการและผู้จัดการโรงเรียนเซนต์ยอแซฟ สกลนคร

v 17 มี.ค. 1996 (2539) หิรัญสมโภชการเป็นพระสงฆ์

v  1998-2003 (2541-2546)         เจ้าอาวาสอาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล ท่าแร่

v 1998-2003 (2541-2546)         อธิการสักการสถานพระมารดาแห่งมรณสักขี สองคอน

v  2000-2003 (2543-2546)         เจ้าอาวาสวัดแม่พระแห่งภูเขาการ์แมล ป่าพนาวัลย์

v 2003-2005 (2546-2548)         เจ้าอาวาสสักการสถานพระมารดาแห่งมรณสักขี สองคอน, วัดแม่พระเหรียญอัศจรรย์ แก่งกะเบา, วัดแม่พระแจกจ่ายพระหรรษทาน นิคมทหารผ่านศึกดงหมู และวัดนักบุญยอห์นอัครสาวก นาตะแบง

v 2004-2005 (2547-2548)         รักษาการเลขาธิการอัครสังฆมณฑล

v 2005-2008 (2548-2551)         เจ้าอาวาสวัดแม่พระที่พึ่งคริสตชน ดอนเชียงคูณ

v 2008-2013 (2551-2556)         เจ้าอาวาสวัดแม่พระแห่งสายประคำศักดิ์สิทธิ์ จอมแจ้ง

v 2013-2018 (2556-2561)         เจ้าอาวาสวัดแม่พระที่พึ่งคริสตชน ดอนเชียงคูณ

v 2018-2024 (2561-2567)         เกษียณอายุ พักประจำที่สำนักมิสซังฯ สกลนคร

v 19 มีนาคม 2021 (2564)          สุวรรณสมโภชการเป็นพระสงฆ์



5.        
การเจ็บป่วย

อังคารที่ 28 พฤษภาคม 2019 (2562) คุณพ่ออันดรูว์ สำราญ วงศ์เสงี่ยม มีอาการเบาหวานขึ้นตาอย่างรุนแรง ทำให้มองไม่เห็น ทางสังฆมณฑลได้ส่งตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ กรุงเทพฯ ได้รับการรักษาเป็นการด่วนจนมีอาการดีขึ้น ได้กลับไปพักฟื้นที่โรงเรียนเซนต์ยอแซฟยานนาวา กรุงเทพฯ โดยอยู่ในความดูแลของพระสงฆ์และภคินี และเข้ารับการตรวจรักษาตามนัดหมายอย่างใกล้ชิด กระทั่งอาการดีขึ้นได้เดินทางกลับมาพักที่สำนักมิสซังสกลนคร เมื่อศุกร์ที่ 5 มิถุนายน 2020 (2563)



6.        
วาระสุดท้าย

เดือนมิถุนายน 2024 (2567) คุณพ่ออันดรูว์ สำราญ  วงศ์เงี่ยม เริ่มร่างกายอ่อนแรงลง เดินไม่สะดวก ต้องใช้ไม้พยุง และไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมของคณะสงฆ์ เช่น การเข้าเงียบ หรือการประชุมประจำเดือนเหมือนอย่างที่เคยทำได้ตามปกติ เดือนกันยายน 2024 (2567) หลังเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร แพทย์ลงความเห็นว่า อาการโรคมะเร็งที่เคยเป็นได้กระจายไปทั่วร่างกาย เกินความสามารถของแพทย์ที่จะรักษา ต้องรักษาตามอาการ ทำให้คุณพ่อรับประทานอะไรไม่ได้ ส่งผลทำให้ร่างกายอ่อนแรงลง ที่สุด คุณพ่อได้มอบคืนดวงวิญญาณสู่การพักผ่อนนิรันดรในองค์พระเจ้าเมื่อเสาร์ที่ 14 กันยายน 2024 เวลา 19.30 น. สิริอายุ 86 ปี



        คุณพ่ออันดรูว์ สำราญ  วงศ์เสงี่ยม ถือเป็นผู้มีคุณูปการใหญ่หลวงต่อพระศาสนจักรในประเทศไทยด้านพิธีกรรม เคยเป็นอาจารย์สอนพิธีกรรมที่วิทยาลัยแสงธรรม ได้เขียนตำราเรียนพิธีกรรมจำนวน 5 เล่ม ถือเป็นอาจารย์คนแรกของวิทยาลัยแสงธรรมที่เขียนตำราเรียนในรายวิชาที่ตนเองสอน ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับนักศึกษาและผู้สนใจพิธีกรรมได้ศึกษาค้นคว้า ก่อให้เกิดความเข้าใจพิธีกรรมอย่างลึกซึ้งถ่องแท้ รวมถึงการทำหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรมเป็นเวลา 22 ปี ได้แปลและจัดทำหนังสือบทอ่าน บทภาวนา และหนังสือพิธีต่าง ๆ สำหรับใช้ในพิธีกรรม เพื่อการสรรเสริญและเทิดเกียรติพระนามของพระเจ้าอย่างซาบซึ้งและมีชีวิตชีวา



       อีกทั้ง ได้เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการดำเนินเรื่องมรณสักขีทั้งเจ็ดแห่งสองคอน ให้ได้รับการแต่งตั้งเป็นบุญราศีจากสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์นปอลที่
2 เมื่อ 22 ตุลาคม 1989 (2532) และได้ทำหน้าที่เจ้าอาวาสสักการสถานมรณสักขีแห่งสองคอน ที่มีส่วนสำคัญในการวางผังและแผนแม่บทสำหรับสักการสถานพระมารดาแห่งมรณสักขีสองคอนอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นศูนย์กลางการจาริกแสวงบุญของคริสตชนจากทั่วประเทศ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดมุกดาหารอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ขอบุญราศีทั้งเจ็ดแห่งสองคอนได้รับดวงวิญญาณของคุณพ่อเข้าร่วมในหมู่นักบุญ เทอญ







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น