วันศุกร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ภคินีคณะรักกางเขนแห่งท่าแร่



ภคินีคณะรักกางเขนแห่งท่าแร่
(Sisters, Lovers of  the Cross)
1.         ภูมิหลัง
พระสังฆราชปีแอร์ มารีย์ ลังแบรต์ เดอลา ม๊อต ธรรมทูตฝรั่งเศส ผู้ร่วมก่อตั้งคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (M.E.P.) ที่สมณกระทรวงเผยแพร่ความเชื่อแห่งกรุงโรมส่งมาปกครองมิสซังโคชินไชน่า (ญวนใต้) ได้เดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ค.. 1662 (.. 2205) แต่ไม่สามารถเดินทางไปแพร่ธรรมในประเทศเวียดนามเพราะเกิดการเบียดเบียนศาสนา จึงตัดสินใจพำนักอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาและเริ่มงานแพร่ธรรมที่นั่น
ในเวลาต่อมา พระสังฆราชลัมแบรต์ ได้ตั้งสถาบันภคินีรักกางเขนที่ค่ายนักบุญยอแซฟอยุธยา เมื่อวันที่ 7 กันยายน ค.. 1672 (.. 2215)  เพื่อช่วยงานแพร่ธรรมของคณะธรรมทูต สมาชิกกลุ่มแรกมีประมาณ 5 คนและในวันที่ 2 มกราคม ค.. 1679 (.. 2222) พระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 11 ทรงรับรองสถาบันรักกางเขนและทุกหมู่คณะของสตรีรักกางเขนที่พระสังฆราชหรืออุปสังฆราชได้ตั้งหรือที่จะตั้งขึ้นในเอเชีย ด้วยการประทานพระคุณการุณย์
2.         การก่อตั้งอารามคณะรักกางเขนแห่งท่าแร่
ในปี ค.. 1885 (พ.ศ. 2428) คุณพ่อยอแซฟ กอมบูริเออ พระสงฆ์คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดอัครเทวดามีคาแอลท่าแร่ ขณะที่มีอายุเพียง 23 ปี  คุณพ่อได้อุทิศตนในงานธรรมทูตด้วยความร้อนรน ทำให้มีผู้ที่สมัครเป็นคริสตชนเพิ่มจำนวนมากขึ้น และได้ก่อตั้งเป็นชุมชนคาทอลิกขึ้นในหลายหมู่บ้านทำให้ภารกิจของคุณพ่อเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว  คุณพ่อเริ่มเห็นความสำคัญและความต้องการหญิงสาวที่อุทิศตนเพื่อมาช่วยงานของพระศาสนจักรท้องถิ่น แต่ก็ยังไม่สามารถดำเนินการใด ๆ ได้เนื่องจากอุปสรรคและความจำกัดหลายอย่าง
จนกระทั่งปี ค.. 1922 (.. 2465) หลังจากที่เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าแร่มา 38 ปี  คุณพ่อจึงนำเรื่องดังกล่าวไปปรึกษากับ พระสังฆราชอังเยโล มารีย์ แกวง ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นพระสังฆราชมิสซังลาวในปีนั้น  พระคุณเจ้าเห็นดีด้วย คุณพ่อจึงได้รวบรวมหญิงสาวที่ประสงค์จะอุทิศตนเพื่อช่วยงานพระสงฆ์ในด้านการสอนคำสอนและด้านอื่นๆ มีผู้สมัครรุ่นแรกจำนวน 8 คน  คุณพ่อได้ส่งหญิงสาวเหล่านั้นไปรับการฝึกอบรมที่อารามเชียงหวาง ประเทศลาวในเดือนพฤศจิกายน ค.. 1922 (.. 2465)  ระหว่างที่บรรดาหญิงสาวรับการฝึกอบรมที่อารามเชียงหวาง คุณพ่อได้สร้างอารามขึ้นที่บ้านท่าแร่
หลังจากได้ฝึกอบรมเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว คุณพ่อกอมบูริเออ ได้ไปรับโปสตุลันต์ทั้ง 8 คนกลับมาที่ท่าแร่เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.. 1923 (.. 2466) โดยมีคุณแม่ยุสตา มารีอา เปี่ยม ชาวบ้านปากซัน ได้ตามมาเป็นนวกจารย์และอธิการิณีคณะ  หลังจากนั้นได้มีหญิงสาวมาสมัครเข้ารับการอบรมเพิ่มมากขึ้น  คุณพ่อจึงได้ขออนุญาตพระสังฆราชแกวง ตั้งอารามคณะภคินีรักกางเขนแห่งท่าแร่ขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.. 1924 (.. 2467) ซึ่งในขณะนั้นมีผู้ฝึกหัดในคณะจำนวน 10 คน  พร้อมกับทำหน้าที่เป็นจิตตาธิการคณะภคินีใหม่ที่คุณพ่อได้ตั้งขึ้นเรื่อยมา  จนกระทั่งวาระสุดท้ายแห่งชีวิตที่คุณพ่อได้มอบคืนดวงวิญญาณแด่พระเป็นเจ้าอย่างสงบ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ค.. 1939 (.. 2482) สิริอายุ 78 ปี
3.  จุดประสงค์ในการเปิดอารามของคุณพ่อกอมบูริเออ
3.1   เพื่อให้โอกาสหญิงสาวถวายตัวแด่พระเป็นเจ้า ด้วยการปฏิญาณถวายตัวถือศีลบนความยากจน ความบริสุทธิ์ ความนบนอบ  ตลอดจนการรำพึงภาวนาและสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าในชีวิต
3.2   เพื่อช่วยพระสงฆ์ในการแพร่ธรรม สอนคำสอน และเป็นผู้นำด้านกิจกรรมคาทอลิกในกลุ่มคริสตชนและงานอภิบาลอื่นๆ
3.3   เพื่อช่วยดูแลวัดและงานบ้าน
2.4      เพื่อสอนเรียนในโรงเรียนของมิสซังคาทอลิกในระดับประถม-มัธยมและฝึกอบรมวิชาชีพแก่หญิงสาว
3.5   เพื่อเลี้ยงดูเด็กกำพร้า คนชรา และรักษาคนป่วย
4.  การเบียดเบียนและการปิดอาราม
ในปี ค.. 1940 (.. 2483) เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 และเกิดกรณีพิพาทอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส   ส่งผลให้พระสังฆราชแกวง และพระสงฆ์ชาวฝรั่งเศสถูกบังคับให้ออกจากประเทศไทย  มีการเบียดเบียนศาสนาทั่วไป  เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.. 1940 (.. 2483) ทางการได้ยึดและปิดอาราม ขับไล่ภคินีออกจากอารามทั้งหมด  บรรดาภคินีต้องกลับไปอาศัยอยู่บ้านบิดามารดาของตนเอง  โดยสวมชุดฆราวาส   วันที่ 22 ธันวาคม ค.. 1942 (.. 2485) คุณพ่อเปาโลศรีนวล ศรีวรกุล ผู้ดูแลมิสซังในขณะนั้นได้ส่งภคินีจำนวนหนึ่งไปอาศัยอยู่ที่อารามคณะรักกางเขนแห่งอุบลฯ จนถึงวันที่ 26 มกราคม ค.. 1944 (.. 2487) ภคินีเหล่านั้นได้เดินทางกลับท่าแร่และไปอาศัยอยู่ที่บ้านบิดามารดาของตน
เมื่อสงครามและกรณีพิพาทอินโดจีนยุติลง ทางราชการได้คืนวัดวาอารามให้มิสซังเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.. 1944 (.. 2487)  ดังนั้นจึงมีภคินี 12 รูป และโนวิสอีก 3 คนซึ่งฝึกอบรมระหว่างการเบียดเบียนอยู่ที่อารามรักกางเขนแห่งอุบลฯ ต่อมาได้ถวายตัวและกลับมาที่อารามรักกางเขนแห่งท่าแร่  โดยอาศัยความรักและพระเมตตาจากพระเป็นเจ้า ทำให้มีสมาชิกเพิ่มมากขึ้นจนถึงปัจจุบัน
คุณพ่อขวัญ ถิ่นวัลย์
danielkhuan@hotmail.com
โรงเรียนเซนต์ยอแซฟกุฉินารายณ์
1 พฤษภาคม 2014

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น