วันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ท่าแร่: 130 ปีแห่งความเชื่อ



ท่าแร่: 130 ปีแห่งความเชื่อ
  ท่าแร่ หรือ ท่าแฮ่ ชื่อนี้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปในฐานะที่เป็นหมู่บ้านคาทอลิกที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย เป็นหมู่บ้านริมหนองหาร บนทางหลวงแผ่นดินสาย 22 อุดรธานี-นครพนม หลักกิโลเมตรที่ 169-170 ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเมืองสกลนคร ห่างจากตัวเมืองโดยทางรถยนต์ประมาณ 21 กิโลเมตร และประมาณ 6 กิโลเมตรโดยทางน้ำ มองเห็นกันได้เวลาอากาศโปร่ง  หมู่บ้านนี้มีฐานะเป็นตำบลเรียกว่า ตำบลท่าแร่ และปัจจุบันได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาล มีประชากรกว่าหนึ่งหมื่นห้าพันคน

1.         ประวัติความเป็นมา
เมื่อปี ค.. 1881 (.. 2424) คุณพ่อยอห์นบัปติสต์ โปรดม และ คุณพ่อซาเวียร์ เกโก พระสงฆ์คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ที่ได้รับมอบหมายจากพระสังฆราชหลุยส์ เวย์ ให้มาเผยแผ่ศาสนาที่ภาคอีสานเดินทางมาถึงอุบลราชธานีและตั้งกลุ่มคริสตชนที่บุ่งกะแทว  ครั้นถึงเดือนมิถุนายน ค.. 1883 (.. 2427) คุณพ่อโปรดมและคุณพ่อรองแดล ได้เดินทางจากอุบลฯมาถึงนครพนมเป็นครั้งแรก เพื่อสำรวจเส้นทาง สถานการณ์และการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน สำหรับวางโครงการแพร่ธรรมในโอกาสต่อไป  เมื่อได้ใช้เวลาสำรวจไปถึงหนองคายและเวียงจันทน์เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว คุณพ่อทั้งสองได้เดินทางกลับอุบลฯ หลังจากฉลองปัสกาในเดือนเมษายน ค.. 1884 (.. 2427) คุณพ่อโปรดม กับ คุณพ่อเกโก และครูทัน ครูเณรชาวเวียดนามได้เดินทางจากอุบลฯมานครพนมอีกครั้งหนึ่ง และตั้งกลุ่มคริสตชนที่นั่น
1.1 กลุ่มคริสตชนแรกที่สกลนคร
เมื่อตั้งกลุ่มคริสตชนที่นครพนมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อมาในเดือนมิถุนายน  .. 1884 (.. 2427) คุณพ่อโปรดม เดินทางไปสกลนครพร้อมกับครูทัน  ตั้งใจจะไปเยี่ยมคริสตชนที่มาจากประเทศเวียดนามตามที่ได้ยินมา และเปิดศูนย์คาทอลิกที่นั่นหากเป็นไปได้  คุณพ่อได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากคริสตชนชาวเวียดนามและมีชาวเวียดนามจำนวนหนึ่งแจ้งความจำนงจะเป็นคริสตชน  คุณพ่อจึงได้สร้างที่พักและอยู่กับพวกเขา 1 เดือน ได้ใช้โอกาสนั้นสอนศาสนาแก่ผู้ไปมาหาสู่  แล้วจึงมอบให้ครูทัน ดูแล ส่วนคุณพ่อเดินทางกลับนครพนม
เดือนสิงหาคม ค.. 1884 (.. 2427) คุณพ่อโปรดม เดินทางไปสกลนครอีกครั้งหนึ่งพร้อมกับคุณพ่อเกโก ในรายงานประจำปี ค.. 1910 (.. 2453) คุณพ่อโปรดม ได้บันทึกไว้ว่า ศูนย์คาทอลิกสกลนครเปิดปี ค.. 1884 (.. 2427) และในวันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน คริสตชนกลุ่มแรกได้รับศีลล้างบาปในโรงสวดที่ปลูกไว้ชั่วคราวระหว่างหนองหารกับตัวเมือง บริเวณซึ่งเป็นที่ตั้งโรงภาพยนตร์ประสานราษฎร์ปัจจุบัน
แต่จากหลักฐาน สมุดบัญชีศีลล้างบาป คริสตัง  สกลนคร ปี 1884, 1885, 1886” ที่บันทึกโดยคุณพ่อโปรดม  ผู้ที่ได้รับศีลล้างบาปลำดับที่ 1 คือ มารีอาเดียง ได้รับศีลล้างบาปในโอกาสสมโภชแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ วันที่ 15 สิงหาคม ค.. 1884 (.. 2527) ทำให้เราแน่ใจว่า คุณพ่อโปรดม ได้ล้างบาปคริสตชนที่สกลนครก่อนหน้านั้นแล้ว  ต่อมาคุณพ่อโปรดม ได้มอบกลุ่มคริสตชนกลุ่มนี้ให้คุณพ่อเกโกกับครูทัน ดูแล และเดินทางกลับไปอุบลฯเพื่อเป็นประธานการเข้าเงียบประจำปีของพระสงฆ์และเตรียมตัวเดินทางไปกรุงเทพฯ
นานวันเข้าได้มีหลายคนมาสมัครเป็นคริสตชน ส่วนใหญ่เป็นชาวเวียดนามที่ได้รับการปลดปล่อยจากการเกณฑ์แรงงานและคนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผีปอบ 40 คน  ทำให้จำนวนคริสตชนเพิ่มมากขึ้น เป็นความลำบากสำหรับคุณพ่อเกโก ในอันที่จะจัดหาที่ดินเพื่อพักอาศัยและทำกินสำหรับคริสตชนเหล่านั้นในตัวเมืองสกลนคร ประกอบกับถูกกลั่นแกล้งไม่หยุดหย่อนจากเจ้าหน้าที่บางคนจึงได้คิดหาทำเลสำหรับตั้งหมู่บ้านคริสตชนใหม่   ในคืนวันหนึ่งหลังการฉลองนักบุญทั้งหลายปี ค.. 1884 (.. 2427) คุณพ่อเกโก และครูทัน ได้ตัดสินใจย้ายกลุ่มคริสตชนโดยจัดทำแพใหญ่ทำด้วยเรือเล็กและไม้ไผ่ผูกติดกันบรรทุกทั้งคนและสัมภาระลงแพ ใช้ผ้าห่มและผืนผ้าขึงแทนใบให้ลมพัดไปในทิศทางที่พระเป็นเจ้าทรงประสงค์  ที่สุดพวกเขาสามารถข้ามไปยังอีกฝากหนึ่งของหนองหารอย่างปลอดภัย และตั้งหลักแหล่งที่นั่น
1.2  วัดมหาพรหมมีคาแอล หนองหาร
คริสตชนกลุ่มแรกที่ย้ายมามี 20 ครอบครัว ประมาณ 150 คน นับทั้งที่ได้รับศีลล้างบาปแล้วกับผู้ที่กำลังเตรียมซึ่งมีทั้งชาวเวียดนามและพื้นเมือง  ชาวพื้นเมืองส่วนมากเป็นทาสที่ได้รับการไถ่ให้เป็นอิสระ  เนื่องจากคริสตชนเหล่านั้นได้ร้องขอความช่วยเหลือจากอัครเทวดามีคาแอลเป็นประจำเพื่อให้ช่วยคุ้มครองป้องกันและสู้ทนกับความยากลำบาก เมื่อสร้างวัดหลังแรกที่มีลักษณะเป็นโรงเรือนชั่วคราวแล้วเสร็จจึงตั้งชื่อว่า วัดมหาพรหมมีคาแอล หนองหาร  ดังปรากฏในเอกสารบัญชีศีลล้างบาปวัดนักบุญมารีอามักดาเลนา นาโพธิ์ ที่บันทึกโดย คุณพ่อยอแซฟ กอมบูริเออ ว่า คริสตชนกลุ่มแรกของวัดนาโพธิ์ล้างบาปที่ วัดมหาพรหมมีคาแอล หนองหาร (Ecclesia Sti Michaelis Nong-Han)  เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.. 1888 (.. 2431) 
เป็นที่น่าสังเกตว่าในการล้างบาปคริสตชนที่ท่าแร่ในเวลาต่อมาในปี ค.. 1885 (.. 2428) ที่บันทึกโดย คุณพ่อยอร์ช ดาแบง ยังคงใช้คำว่า วัดสกล (Ecclesiae Sakhon) บางครั้งก็ใช้คำว่า วัดเล็กเมืองสกลนคร (sacello civitatis Sakhon Nakhon) ในการล้างบาปอีกครั้งในวันฉลองแม่พระลูกประคำ วันที่ 7 ตุลาคม จึงใช้คำว่า วัดมหาพรหมมีคาแอล เมืองสกล (Ecclesia Sti Michaelis Urbis Sakhon) ต่อมาในสมัยคุณพ่อกอมบูริเออ ใช้เพียงว่า วัดมหาพรหมมีคาแอล (Ecclesia Michaelis) ตามที่ปรากฎใน สมุดบัญชีศีลล้างบาปคริสตัง สกลนคร ปี 1884, 1885, 1886” ยังไม่มีการใช้ชื่อ ท่าแร่ แต่อย่างใด 

เป็นไปได้ว่าชื่อ หนองหาร อาจเป็นชื่อดั้งเดิมของกลุ่มคริสตชนที่ท่าแร่   ส่วนการจะเปลี่ยนชื่อเป็น ท่าแร่ เมื่อไรนั้นไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด  แต่จากเอกสารที่เขียนด้วยอักษรโรมัน (ภาษาวัด) 2 เล่มซึ่งผู้เขียนให้ชื่อว่า บันทึกเหตุการณ์และหนังสือเข้า และ สำเนาหนังสือออกและคดีความ  ที่บันทึกโดยคุณพ่อกอมบูริเออ ในช่วงแรกไม่ปรากฏการใช้ชื่อ ท่าแร่ แต่อย่างใด นอกจากชื่อ วัดมหาพรหมมีคาแอล แขวงเมืองสกลนคร เพิ่งจะมาปรากฏในบันทึก สำเนาหนังสือออกและคดีความ เลขที่ 10 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.. 1901 (.. 2444) ที่คุณพ่อกอมบูริเออ เขียนถึงพระวิชิตพลหาร ผู้ช่วยเมืองสกลนคร  จึงได้ใช้ชื่อ บ้านท่าแร่ โดยเขียนขึ้นต้นหนังสือฉบับนั้นว่าที่สำนักท่านบาทหลวง บ้านท่าแร่
อย่างไรก็ตามเป็นที่ทราบกันว่าชื่อ ท่าแร่ เรียกตามชื่อถิ่นที่ตั้งหมู่บ้านอันเป็นบริเวณที่เต็มไปด้วยป่าไม้มีหินลูกรังอยู่ทั่วไป ซึ่งคนภาคพื้นนี้เรียกว่า หินแฮ่ และเป็นชื่อที่เรียกขานกันตั้งแต่เริ่มแรกเช่นเดียวกันในหมู่ชาวบ้านจนเป็นที่นิยมเรียกกันทั่วไป  ต่อมาชื่อ ท่าแร่ จึงได้กลายมาเป็นชื่อหมู่บ้านอย่างในปัจจุบัน    ส่วนชื่อวัดยังคงใช้ชื่อ วัดมหาพรหมมีคาแอล เมื่อสร้างวัดหลังที่ 2 ก็ยังคงใช้ชื่อนี้จวบจนกระทั่งอาสนวิหารหลังปัจจุบันสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.. 1971 (.. 2514) จึงใช้ชื่อ อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล
วัดหลังที่ 2 ซึ่งมีโครงสร้างถาวรผนังก่ออิฐถือปูนมีหอสูงด้านหน้า 2 หอ และด้านหลัง 1 หอ สร้างในราวปี ค.. 1901 (.. 2444) ดังปรากฏในเอกสาร สำเนาจดหมายออกและคดีความ เลขที่ 29 ที่ คุณพ่อกอมบูริเออ พร้อมกับขุนพิทักษ์ประเทศ ตาแสง (ผู้ใหญ่บ้าน)บ้านท่าแร่ได้เขียนไปถึงพระยาจันตประเทศธานี เจ้าเมือง, ชาเนตร ข้าหลวงประจำเมือง, อุปฮาด, ราชวงศ์, ราชบุตร และกรมการเมืองสกลนคร เพื่อแจ้งให้ทราบถึงความประสงค์ที่จะรื้อวัดเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมและสร้างพระวิหารใหม่ขึ้น  พร้อมกับขออนุญาตให้บ่าวไพร่ราษฎรบ้านท่าแร่ได้งดเว้นจากงานราชการ เพื่อจะได้พร้อมใจกันก่อสร้างพระวิหารใหม่ในตอนต้นปี 
จดหมายฉบับนั้นลงวันที่ 30 ตุลาคม ค.. 1900 (.. 2443) จึงทำให้เราทราบว่า พระวิหารใหม่ หรือวัดหลังที่ 2 ได้เริ่มสร้างเมื่อต้นปี ค.. 1901 (.. 2444) และใช้เวลาในการก่อสร้างหลายปี เพราะชาวท่าแร่บางส่วนยังถูกเกณฑ์ไปทำงานหลวงไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าเมืองตามที่คุณพ่อกอมบูริเออ ร้องขอ  อีกทั้งความจำกัดในเรื่องเครื่องไม้เครื่องมือและอุปกรณ์ก่อสร้างในสมัยนั้น  เห็นได้จากเอกสาร บันทึกเหตุการณ์และหนังสือเข้าเลขที่ 249 และ 250 ลงวันที่ 14 และ 20 กุมภาพันธ์ ค.. 1903 (.. 2446) ตามลำดับ ซึ่งเป็นหนังสือที่พระอนุบาลสกลเกศ ยกกระบัตรเมืองสกลนครมีมาถึงคุณพ่อกอมบูริเออ โดยอ้างถึงหนังสือที่คุณพ่อเขียนไปปรึกษาเพื่อขออิฐที่ถูกทิ้งร้างอยู่ตามเกาะหนองหาร สำหรับการสร้างพระวิหารใหม่ และพระอนุบาลฯบอกให้รอไว้ก่อนเพราะพระยาจันตฯเจ้าเมืองไม่อยู่  และภายหลังเมื่อพระยาจันต์ฯกลับมาได้ปรึกษาหารือกันและพระอนุบาลฯได้มีหนังสือตอบกลับมาอีกว่า อิฐเหล่านั้นให้ไม่ได้เพราะเป็นโบสถ์และปัฌิมาโบราณอันเป็นที่นับถือของชาวพุทธ 
อย่างไรก็ดีการก่อสร้างได้ดำเนินเรื่อยมาและเป็นไปด้วยความยากลำบาก ในเอกสารเล่มเดียวกัน เลขที่ 291 ลงวันที่ 2 มิถุนายน ค.. 1905 (.. 2448) ซึ่งเป็นหนังสือตอบของพระอนุบาลฯ เรื่องที่คุณพ่อกอมบูริเออ ขอเช่าเรือไปบรรทุกปูนที่เมืองนครพนมสำหรับการสร้างพระวิหารที่ท่าแร่  ซึ่งเส้นทางน้ำจากท่าแร่ไปเมืองนครพนมมีแต่ทางเดียว คือล่องเรือตามลำน้ำก่ำออกสู่แม่น้ำโขง แล้วย้อนขึ้นไปเมืองนครพนม ซึ่งจะเดินเรือตามเส้นทางนี้ได้ก็แต่เฉพาะในฤดูน้ำหลากเท่านั้น และต้องใช้เวลาเดินทางนานทีเดียว จึงทำให้เราทราบว่าการก่อสร้างวัดหลังที่ 2 ใช้เวลาก่อสร้างหลายปีกว่าจะสร้างเสร็จ
 ที่สุดพระวิหารใหม่ได้สร้างเสร็จสมบูรณ์มีพิธีเสกและเปิดโดยคุณพ่อโปรดม อุปสังฆราช ในโอกาสฉลองวัดเดือนพฤษภาคม ค.. 1906 (.. 2449) ตามบันทึกของพระสังฆราชบาเย ที่ได้ยินจากคำบอกเล่าของ คุณพ่อกอมบูริเออ  ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยได้เสด็จตรวจเยี่ยมมณฑลอีสานเป็นเวลานาน 3 เดือน  ในระหว่างเส้นทางไปเมืองสกลนครผ่านบ้านท่าแร่ ได้หยุดแวะเยี่ยมมิชชันนารีที่บ้านพักพระสงฆ์เป็นเวลานานและได้ทรงถ่ายภาพวัดหลังใหม่เมื่อวันที่ 14 มกราคม ค.. 1907 (.. 2450)  ทำให้เราได้เห็นถึงความสวยงามโอ่อ่าตระการตาของวัดหลังนั้นเมื่อแรกสร้าง 

ต่อมาในราวปี ค.. 1925-2926(.. 2468-2469) คุณพ่อกอมบูริเออ ได้ดำเนินการบูรณะปรับปรุงโครงสร้างวัดใหม่ เข้าใจว่าเพื่อเตรียมฉลองครบรอบ 20 ปีของวัดหลังดังกล่าว ด้วยการทุบหอสูงด้านหน้าและด้านหลังเพื่อสร้างหอใหญ่เพียงหอเดียวด้านหน้าวัดสำหรับใช้แขวนระฆังใบใหญ่เพิ่มอีก 2 ใบที่ได้รับการถวายจากคหบดีชาวท่าแร่ รวมเป็น 3 ใบ ระฆังใบใหญ่สุดได้รับการถวายจาก องบาง, องเด (สองพี่น้อง)และญาติพี่น้อง ใบรองลงมาได้รับการถวายจากองเลื่อง และญาติพี่น้อง ดังปรากฏชื่อที่จารึกด้วยอักษรโรมันในระฆังทั้ง 2 ใบ  ส่วนอีกด้านของระฆังทั้ง 2 ใบจารึกปีที่นำมาคือปี ค.. 1926 (.. 2469) และชื่อพระสังฆราชแกวง และคุณพ่อกอมบูริเออ เจ้าอาวาส
คุณพ่อขวัญ ถิ่นวัลย์
danielkhuan@hotmail.com
โรงเรียนเซนต์ยอแซฟกุฉินารายณ์
3 พฤษภาคม 2014

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น