วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วัดนักบุญอันตนคำบง



วัดนักบุญอันตน คำบง

บ้านคำบง หมู่ที่ 4 ตำบลโชคชัย อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร
1.         ประวัติความเป็นมา
ในปี ค.. 1972 (.. 2515) คริสตชนกลุ่มหนึ่งจากวัดพระวิสุทธิวงศ์ หนองคู อำเภอเสนางนิคม จังหวัดอุบลราชธานี  ภายใต้การนำของนายแสง วงศ์อนันต์ และนายเรียบ งามวงศ์ ได้อพยพย้ายถิ่นมาทำไร่ที่บ้านคำบง หมู่ที่ 4 ตำบลโชคชัย กิ่งอำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดนครพนม  ต่อมาการอพยพย้ายถิ่นได้เพิ่มมากขึ้นเป็น 20 ครอบครัว  บางส่วนได้ขยายไปตั้งหลักแหล่งที่บ้านหนองหลี่ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของบ้านคำบงห่างออกไปประมาณ 1 กิโลเมตร
สาเหตุที่อพยพมาคือ ที่ดินราคาถูก อ้อย ปอ และมันสำปะหลังราคาดี  ฉะนั้นจึงพากันซื้อที่บุกเบิกทำไร่ทำสวนจนมีฐานะดีขึ้นตามลำดับ  เมื่อเห็นว่าฐานะดีแล้วจึงพากันขายที่ทำกิน (ซึ่งคิดว่าได้ราคาดีมากในสมัยนั้นเพราะคิดว่าสภาพนิคมคำสร้อยคงไม่เจริญ) อพยพกลับมาตุภูมิ  บางกลุ่มมุ่งหน้าสู่บ้านนิรมัย อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร และบางกลุ่มไปที่อื่นโดยไม่มีเป้าหมาย  แต่นิคมคำสร้อยเจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ มีโรงน้ำตาลทรายทันสมัย (ภายหลังย้ายไปตั้งที่บ้านโคกสุวรรณ อำเภอเมืองมุกดาหาร) ผู้คนเพิ่มมากขึ้นจากกิ่งอำเภอเป็นอำเภอในที่สุด
1.1      วัดหลังแรก
      เมื่อเห็นว่ามีคริสตชนที่อพยพมาเพิ่มจำนวนมากขึ้น ประกอบกับตระหนักในความเชื่อที่ได้รับการสั่งสอนมาตั้งแต่เล็ก นายแสง วงศ์อนันต์ จึงปรึกษาชาวบ้านและไปตามพระสงฆ์จากวัดอัครเทวดามีคาแอล ท่าแร่ให้มาดูแล  พระอัครสังฆราชมีคาแอล เกี้ยน  เสมอพิทักษ์ ได้มอบหมายให้คุณพ่อยอแซฟ อินทร์  นารินรักษ์ ซึ่งกำลังบุกเบิกและรับผิดชอบงานแพร่ธรรมในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์มาดูแลและอภิบาล โดยใช้บ้านของนายแสงเป็นที่ภาวนาและประกอบพิธีมิสซา  จนกระทั่งปี ค.. 1974 (.. 2517) เมื่อเห็นว่ากลุ่มคริสตชนเพิ่มจำนวนมากขึ้น  คุณพ่ออินทร์ ได้ซื้อบ้านของชาวบ้านในราคา 6,000.- บาท นำมาดัดแปลงเป็นวัดไม้ ยกพื้นสูง 2.5 เมตร ขนาดกว้าง 6.5 เมตร ยาว 15 เมตร บนที่ดิน 3 ไร่ที่ได้รับบริจาคจากนายแสง โดยกั้นด้านหลังเป็นห้องพักสำหรับพระสงฆ์ที่มาดูแล และตั้งชื่อวัดหลังแรกนี้ว่า วัดนักบุญอันโทนี่ ตามนามนักบุญผู้บริจาคสร้างวัดคือ นายและนางอันโทนี่ ริกี กับนายและนางชาร์ล ริกี
เมื่อวัดเสร็จเรียบร้อย คุณพ่ออินทร์ เห็นว่าวัดนักบุญอันตนคำบง อยู่ในเขตรอยต่อระหว่างอัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสงกับสังฆมณฑลอุบลราชธานี และอยู่ใกล้พระสงฆ์ที่ดูแลในเขตนี้คือคุณพ่ออิฟมารี เลอเบซือ จากวัดแม่พระรับสาร โนนมาลี อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด จึงมอบให้คุณพ่อเลอเบซือ เป็นคนดูแล  แต่ต่อมาภายหลังได้มอบคืนให้อัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง  และครอบครัวของนายแสงผู้บุกเบิกการสร้างวัดได้อพยพไปอยู่ที่วัดพระวิสุทธิวงศ์นิรมัย จังหวัดสกลนคร  โดยขายที่ทำกินให้กับนายเรียบ และกันที่จำนวน 3 ไร่ที่ได้บริจาคให้วัดและเป็นที่ตั้งวัดให้เป็นของวัดต่อไปไม่ได้ขายให้ด้วย  แต่ยังไม่ได้แยกเป็นของวัดต่างหาก  เพราะที่ดินบริเวณดังกล่าวอยู่ในเขตนิคมสร้างตนเองซึ่งได้รับการจัดสรรจากทางราชการ  ดังนั้นพื้นที่ของวัดจำนวน 3 ไร่ในปัจจุบันจึงอยู่ในเอกสารสิทธิ์ ..1” ในความครอบครองของนางกงตา  งามวงศ์ ภรรยาของนายเรียบ
ต่อมาเมื่อจำนวนพระสงฆ์เพิ่มมากขึ้นและด้วยเหตุผลด้านการอภิบาลสัตบุรุษ  อัครสังฆมณฑลจึงกำหนดให้วัดนักบุญอันตนคำบงอยู่ในความดูแลของวัดแม่พระไถ่ทาสสองคอน และเมื่อวัดนักบุญเปโตรมุกดาหารแยกเป็นเอกเทศจากวัดแม่พระไถ่ทาสสองคอน วัดนักบุญอันตนคำบงจึงขึ้นอยู่กับวัดนักบุญเปโตรมุกดาหาร โดยมีพระสงฆ์ที่ผลัดเปลี่ยนกันมาดูแลตามลำดับ
วัดหลังแรกได้ใช้เป็นศูนย์รวมจิตใจของคริสตชนชาวคำบงในการภาวนาและประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ มาเป็นเวลายาวนาน  จนกระทั่งวันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม ค.. 1997 (.. 2540) คุณพ่อดาเนียล ขวัญ  ถิ่นวัลย์ พร้อมกับสัตบุรุษชาวคำบงได้ร่วมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในพิธีบูชาขอบพระคุณ เพื่อโมทนาคุณพระเป็นเจ้าในวัดหลังแรกเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะเริ่มลงมือรื้อถอนในวันรุ่งขึ้น  รวมอายุการใช้งานของเคหะพระเจ้าหลังแรก 23 ปี
1.2      วัดหลังใหม่
เนื่องจากวัดหลังแรกเป็นไม้ชำรุดทรุดโทรมมาก ใช้งานกันมานานและได้มีการซ่อมแซมปรับปรุงมาตลอด  กล่าวคือในสมัยคุณพ่อยอห์นบัปติสต์ พรทวี  โสรินทร์ ซ่อมแซมด้วยการทาสีวัดใหม่ ทำพระแท่นและผนังปาเก้หลังพระแท่นใหม่  ในปี ค.. 1988 (.. 2531) คุณพ่อปีโอ ไอศวรรย์  จันทร์ลือชัย ได้ซ่อมแซมหลังคา บันไดและนำไฟฟ้าเข้าวัด  จนกระทั่งปี ค.. 1994 (.. 2537) คุณพ่อเปาโล ธนกฤต (อุทิศ)  นามโยธา เห็นว่าวัดชำรุดมากเกินกว่าที่จะซ่อมแซมได้จึงดำเนินการหาทุนด้วยการบอกบุญเรี่ยไรจากผู้มีจิตศรัทธาต่างๆ แต่คุณพ่อก็ยังไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จเพราะได้รับแต่งตั้งให้ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดนักบุญอันดรูว์หนองแซง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนมเมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.. 1995 (.. 2538)
วันที่ 24 เมษายน ค.. 1995 (.. 2538) คุณพ่อดาเนียล ขวัญ  ถิ่นวัลย์ ย้ายจากผู้ช่วยเจ้าอาวาสอาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอลท่าแร่ มารักษาการเจ้าอาวาสวัดนักบุญเปโตรมุกดาหารและดูแลวัดในเขตจังหวัดมุกดาหาร  คุณพ่อได้สานต่อเจตนารมณ์ของคุณพ่อธนกฤต ด้วยการขออนุมัติจากคณะกรรมการบริหารอัครสังฆมณฑลฯเพื่อก่อสร้างวัดหลังใหม่แทนหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา
เมื่อได้รับการอนุมัติจึงได้ดำเนินการให้นายสมคิด บัวใหญ่ วิศวกรเขียนแบบแปลนตามแนวความคิดที่ได้ปรึกษาจากหลายฝ่ายแล้ว  เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.. 1995 (.. 2538) เริ่มการปรับที่ถมดินบริเวณหลังวัดเก่า ขนาดกว้าง 20 เมตร ยาว 30 เมตร สูง 1 เมตร เป็นเงินจำนวน 25,000.- บาท และเริ่มดำเนินการก่อสร้างอย่างจริงจังเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.. 1996 (.. 2539)  การก่อสร้างได้ดำเนินเรื่อยมาจนแล้วเสร็จสมบูรณ์ มีพิธีเสกและเปิดวัดใหม่เมื่อวันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน ค.. 1997 (.. 2540) โดยคุณพ่ออันดรูว์ สำราญ  วงศ์เสงี่ยม อุปสังฆราช สิ้นค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 658,003.- บาท 
เงินงบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้าง ได้มาจากการบริจาคและการทำบุญของพี่น้องสัตบุรุษผู้มีจิตศรัทธาทั้งหมด  อาทิ คุณป้าบุญธรรม กัญญากูล 310,000.-บาท อาม่า ขจิตพรรณ  อภิชาติวรพงศ์ 300,000.- บาท คณะทัวร์โดยการนำของคุณมาลีรัตน์ 250,000.- บาท และผู้มีพระคุณและผู้มีจิตศรัทธาอื่นๆ   นอกนั้นยังมีผู้มีจิตศรัทธาอีกหลายท่านที่บริจาคเป็นสิ่งของเครื่องใช้ เช่น นายช่างธิรัตน์  สิทธิรัตน์ บริจาคหินขัดพื้นวัดทั้งหมด มูลค่าประมาณ 40,000.- บาท มาสเตอร์สำเร็จ และผู้ใจบุญที่บริจาคผ่านคุณป้านพวงศ์  ซาลีมาน สำหรับผนังหลังพระแท่นมูลค่าประมาณหนึ่งแสนบาท วัดสองคอนบริจาคม้านั่งในวัด เป็นต้น
พร้อมกันนี้ คุณพ่อขวัญ ได้สร้างบ้านพักพระสงฆ์ใหม่สองชั้น ชั้นล่างเป็นคอนกรีต ชั้นบนเป็นไม้ขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 9 เมตร จำนวน 5 ห้อง 4 ห้องน้ำในที่ดินขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตรที่ได้รับบริจาคจากนายเรียบ โดยใช้เงินที่เหลือจากการก่อสร้างวัดและไม้ที่รื้อจากวัดหลังเก่า  โดยได้รับอนุเคราะห์วัสดุก่อสร้างส่วนหนึ่งจากครอบครัวของคุณชาลี-จันทิมา   จันทรธิกานนท์ จากกรุงเทพฯ  การก่อสร้างได้ดำเนินเรื่อยมาจนแล้วเสร็จสมบูรณ์ สิ้นค่าก่อสร้างทั้งสิ้นประมาณ 750,000.- บาท
1.3      สภาพปัจจุบัน
          วัดนักบุญอันตนคำบงในปัจจุบัน ประกอบด้วยกลุ่มคริสตชน 2 กลุ่มด้วยกัน กล่าวคือที่คำบง 10 ครอบครัว ซึ่งเป็นลูกหลานของนายเรียบ  งามวงศ์ ที่บ้านหนองกะโซ่ห่างออกไปอีก 10 กิโลเมตร 4 ครอบครัว ซึ่งเป็นลูกหลานของนายบุญชู  พิมพ์ดี รวมทั้งหมด 14 ครอบครัว  โดยมีอาชีพส่วนใหญ่ทำไร่อ้อยและรับจ้างทั่วไป  นอกจากนี้วัดนักบุญอันตนคำบงมีลูกวัดเป็นพระสงฆ์ 1 องค์คือ คุณพ่อยอห์น ชัยวิชิต บรรเทา โดยมีคุณพ่อยอแซฟ ชัยวัฒน์ นำสุย เป็นเจ้าอาวาส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น