1.
แม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ด
อาสนวิหารแม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ด ประเทศฝรั่งเศส
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ ของทุกปี พระศาสนจักรให้เราระลึกถึงแม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ด
ทำให้นึกถึงวันเวลาพิเศษที่ได้มีโอกาสไปแสวงบุญที่เมืองลูร์ด ระหว่างวันที่ 29-30 กันยายน ปีที่ผ่านมา (ค.ศ. 2012) พร้อมกับภคินีคณะรักกางเขนแห่งท่าแร่
แม้วันที่ไปถึงฝนจะตกและอากาศหนาวมาก
แต่หัวใจกลับรู้สึกอบอุ่นและเปี่ยมล้นด้วยความเชื่อศรัทธา ที่ครั้งหนึ่งในชีวิตได้มีโอกาสมาถวายมิสซา
เดินรูปสิบสี่ภาคและร่วมในพิธีแห่พระรูปแม่พระกับผู้แสวงบุญจากทั่วโลก ณ
สถานที่ที่แม่พระเคยประจักษ์มา ยิ่งการได้มีโอกาสสวดบทวันทามารีย์และขับร้องบทเพลง
“ข้าเจ้าชาวไทยไหว้แม่มารีย์” ในพิธีแห่ ย่อมเป็นสิ่งที่น่ายินดีและภาคภูมิใจเสมอ
ชั้นบนสุดของอาสนวิหารแม่พระประจักษ์ที่ลูร์ดที่ใช้ถวายมิสซา
หลังมิสซาพากันเดินรูปสิบสี่ภาคบนเขาซึ่งสวยงามมาก
ลูร์ด (Lourdes) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำการ์ฟเดอโป ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส
อยู่ท่ามกลางเทือกเขาพีเรนีส ซึ่งคั่นพรมแดนระหว่างประเทศฝรั่งเศสและสเปน
ก่อนการประจักษ์มาของแม่พระ 4 ปี สมเด็จพระสันตะปาปาปีโอที่ 9 ทรงประกาศข้อความเชื่อเรื่อง “พระนางมารีอาทรงปฏิสนธิอันนิรมล”
คือแม่พระไม่มีบาปกำเนิด ในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1854
การประจักษ์ที่เมืองลูร์ด เท่ากับแม่พระเองเสด็จมายืนยันอัตถ์ความจริงข้อนี้
ที่สุดก็มาถึงสถานที่สิบสี่ ทุกคนได้ร่วมส่วนกับพระมหาทรมานของพระเยซูเจ้า
ก่อนจะไปที่ถ้ำมาสซาเบียลที่แม่พระประจักษ์มา
แม่พระได้ประจักษ์มาหาแบร์นาแด๊ต
ซูบิรูส์ ขณะไปเก็บฝืนที่ป่าที่ถํ้ามาสซาเบียลในเทือกเขาพีเรนีส ได้พบสตรีผู้หนึ่งแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีฟ้าและสีขาว
ที่เท้ามีดอกกุหลาบประดับอยู่และขอร้องให้เธอสวดสายประคำ สตรีผู้นี้ได้มาหาแบร์นาแด็ตจำนวน
18
ครั้ง ระหว่างวันที่ 11 กุมภาพันธ์
จนถึงวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1858 ครั้งหนึ่งสตรีผู้นี้ได้บอกให้แบร์นาแด๊ตขุดลงบนพื้นดินที่ตนคุกเข่า
ทันใดนั้นเกิดบ่อนํ้าพุมหัศจรรย์ ประชาชนใช้นํ้านั้นรักษาโรคต่างๆของตน
ผู้แสวงบุญเยอะมาก ต้องเข้าคิวเพื่อจะเข้าไปสวดในถ้ำได้
พระแท่นหินอ่อนสักการสถานใต้ดินซึ่งมีขนาดใหญ่มาก
ในการปรากฏมาครั้งนั้น แบร์นาแด๊ตได้ถามสตรีผู้นั้นว่า
“ท่านคือใคร” สตรีผู้นั้นตอบว่า “เราคือผู้ปฎิสนธินิรมล”
ซึ่งหมายถึง “แม่พระ” นั่นเอง แม่พระวิงวอนทุกคนให้สวดภาวนามากๆ เพื่อคนบาป
หลังจากนั้น แบร์นาแด๊ตมิได้พบแม่พระอีก พระศาสนจักรเริ่มดำเนินการสอบสวนจนกระทั่งวันที่
18
มกราคม ค.ศ. 1862 พระสังฆราชแห่งลูร์ดได้รับรองและประกาศอย่างเป็นทางการว่า แม่พระได้ประจักษ์มาที่ถ้ำมาสซาเบียลจริง
จากนั้นได้ลงมือสร้างพระวิหารขึ้นจนสำเร็จ
เยี่ยมชมบ้านที่ น.แบร์นาแด็ดเกิดและเติบโต
ที่เห็นด้านหน้าคือสายประคำขนาดยักษ์ที่กินเนสบุ๊กรับรอง
ส่วนแบร์นาแด๊ตได้ตัดสินใจเข้าอารามที่เนอแวร์ส
ในเดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ. 1866
เธอพยายามทำทุกอย่างตามพระประสงค์ของพระเจ้า และที่สุดได้มอบดวงวิญญาณคืนแด่พระเจ้า
เมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1879
อายุ 39 ปีเศษ ต่อมาสมเด็จพระสันตะปาปา ปีโอ ที่
11 ทรงประกาศชื่อแบร์นาแด๊ต ซูบิรูส์ ในสารบบนักบุญ เมื่อวันที่ 8
ธันวาคม ค.ศ. 1933 ทุกวันนี้ ลูร์ดได้กลายเป็นสักการสถานแม่พระที่ทุกคนรู้จักทั่วโลก แต่ละวันมีผู้จาริกแสวงบุญจากทั่วโลกมาที่นี่ไม่ขาดสาย
กางเขนที่ผู้แสวงบุญจากทุกมุมโลกนำมาปักเอาไว้
ลานกว้างด้านหน้าอาสนวิหารแม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ด
“อัศจรรย์” ที่ลูร์ดยังคงมีอยู่เสมอ แม่พระยังคงเรียกร้องเรามนุษย์ให้ “กลับใจ” จากการที่บรรดาคนป่วยยอมรับทนความทุกข์ยากลำบากต่างๆ
ด้วยความยินดีพร้อมกับพระคริสตเจ้า และจากการที่เยาวชนหนุ่มสาวเป็นจำนวนมาก ได้เสียสละอุทิศตนในการช่วยเหลือคนที่น่าสงสารและผู้ประสบความทุกข์ยากลำบาก
รวมทั้งบรรยากาศที่เข้มข้นไปด้วยการสวดภาวนาอย่างไม่รู้จักหยุดหย่อนที่ลูร์ดด้วยความเชื่อนี่เอง
ย่อมเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ว่าพระคริสตเจ้าทรงอวยพรคนป่วย เป็นผู้นำข่าวและเป็นผู้ช่วยให้รอดหรือรักษาทุกคนให้หาย
กลับไปสวดที่ถ้ำมาสซาเบียลอีกครั้งเพื่อขอพรสำหรับพี่น้องที่เจ็บป่วย
ผู้แสงบุญต่อแถวบรรจุน้ำศักดิ์สิทธิ์เพื่อนำกลับไปฝากญาติพี่น้อง
2.
สาส์นวันผู้ป่วยสากล
นอกนั้น ในวันระลึกถึงแม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ด วันที่ 11 กุมภาพันธ์ของทุกปี พระศาสนจักรกำหนดให้เป็น “วันผู้ป่วยสากล”
พระสันตะปาทรงมีสาส์นถึงบรรดาผู้ป่วย ผู้ทำงานด้านสุขภาพอนามัย
บรรดาคริสตชนและผู้มีน้ำใจดีทุกคน เพื่อให้ความบรรเทาใจผู้ที่กำลังเจ็บป่วยด้วยการอ้างถ้อยแถลงจากสภาสังคายนาวาติกันที่
2 ที่ว่า “ท่านไม่ได้โดดเดี่ยว ไม่ได้แปลกแยก
ไม่ได้ถูกทอดทิ้งหรือไร้ค่า” แต่เป็นพระฉายาลักษณ์ที่มองเห็นได้ของพระคริสตเจ้า
ร่วมขบวนแห่พระรูปแม่พระในตอนกลางคืน ท่ามกลางอากาศที่หนาว
มีผู้แสวงบุญมาร่วมพิธีแห่มืดฟ้ามัวดิน
พระสันตะปาปาทรงเชิญชวนทุกคนให้ไตร่ตรองแบบอย่างของชาวสะมาเรียผู้ใจดี
ซึ่งพระเยซูเจ้าทรงปรารถนาให้เราได้เข้าใจถึง ความรักอันลึกซึ้งของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์ทุกคน
โดยทรงย้ำคำสั่งของพระเยซูเจ้าที่ว่า “จงไปและทำเช่นเดียวกันเถิด”
(ลก 10:37)
นี่คือท่าทีซึ่งศิษย์ของพระองค์ทุกคนต้องมีต่อผู้อื่น
ในการทำให้ภาพความรักของพระเจ้าปรากฏอย่างเป็นรูปธรรม
เช่นเดียวกับชาวสะมาเรียผู้ใจดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีแห่งความเชื่อนี้
บรรยากาศการแห่พระรูปแม่พระท่ามกลางสายฝนที่โปรยปราย
คณะของเราได้สวดบทวันทามารีย์เป็นภาษาไทยด้วย
พระสันตะปาปายังได้ยกตัวอย่าง
นักบุญเทเรซาแห่งพระกุมารเยซู
ผู้ดำเนินชีวิต “ในความเป็นหนึ่งเดียวอย่างลึกซึ้งกับพระมหาทรมานของพระเยซูเจ้า” ลุยจิ โนวาเรเซ ผู้น่าเคารพ
ในแบบอย่างแห่งการรับใช้และภาวนาเพื่อผู้เจ็บป่วยและผู้ทนทุกข์ทรมาน ราอูล โพลเลเรียว ที่อุทิศชีวิตดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อน
และบุญราศีคุณแม่เทเรซาแห่งกัลกัตตา
ที่ออกไปตามท้องถนนเพื่อพบและรับใช้พระเจ้าในบรรดาผู้ทนทุกข์ทรมาน และนักบุญอันนาสคัฟเฟอร์
แห่งมินเดลสเต็ตเทน ที่ร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระมหาทรมานของพระคริสตเจ้าบนเตียงคนป่วย
โดยเฉพาะพระนางมารีย์แทบเชิงกางเขน ที่ร่วมส่วนในพระมหาทรมานของพระเยซูเจ้า
วันเดินทางจากเมืองลูร์ดไปยังสนามบินตูลูส (1 ตุลาคม 2012)
เพื่อเดินทางต่อไปยังกรุงโรม ประเทศอิตาลี
ที่สุด
พระสันตะปาปาทรงขอบคุณและให้กำลังใจผู้ทำงานด้านสุขภาพอนามัยทุกองค์กรและทุกคน
ให้ได้ตระหนักมากขึ้นว่า พระศาสนจักรทุกวันนี้ดำรงชีวิตอยู่บนพื้นฐานแห่งพันธกิจ “ในการต้อนรับด้วยความรักและเอื้อเฟื้อต่อทุกๆ ชีวิต
โดยเฉพาะผู้ที่อ่อนแอและเจ็บป่วย” และทรงมอบการฉลองผู้ป่วยสากล
ครั้งที่ 21 ไว้ในการเสนอวิงวอนของพรหมจารีมารีย์
เพื่อช่วยทุกคนที่มีส่วนในพันธกิจแห่งเมตตาจิต
ได้กลายเป็นชาวสะมาเรียผู้ใจดีสำหรับผู้เจ็บป่วยและทุกข์ทรมาน
คุณพ่อขวัญ ถิ่นวัลย์
danielkhuan@hotmail.com
วัดพระคริสตประจักษ์ นาบัว11 กุมภาพันธ์ 2013
ขอบคุณสำหรับการแบ่งปันภาพและบรรยากาศอันน่าประทับใจค่ะ
ตอบลบ