วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

อัครเทวดาของพระเจ้า

อัครเทวดาของพระเจ้า

วันนี้พระศาสนจักรให้เราทำการฉลอง อัครเทวดามีคาแอล คาเบรียล และราฟาแอล คำว่า เทวดา หรือ “Angel” มาจากคำ “Angelos” ในภาษากรีกหมายถึง “ผู้ส่งข่าว” ในความเชื่อคริสตชนเราถือว่า เทวดาเป็นจิตบริสุทธิ์ที่อยู่ใกล้ชิดพระเจ้า คอยปรนนิบัติรับใช้หรือปฏิบัติตามที่พระเจ้าทรงมอบหมาย ตามหลักฐานและความเชื่อของชาวยิว เชื่อว่ามีอัครเทวดาอยู่ 7 องค์ แต่ที่เราทราบดีคือ อัครเทวดามีคาแอล คาเบรียล และราฟาแอล ซึ่งเราฉลองในวันนี้
อัครเทวดามีคาแอล: “ใครเล่าเหมือนพระเจ้า”

เทวดาได้รับการอ้างถึงบ่อยครั้งในพันธสัญญาใหม่ ในฐานะเป็นผู้แจ้งข่าวแก่แม่พระ นักบุญยอแซฟ เซคาริยา และคนเลี้ยงแกะเกี่ยวกับการประสูติของพระเยซูเจ้า(ลก 1:26-38) นอกนั้น เทวดาของพระเจ้ายังทำหน้าที่ปรนนิบัติรับใช้พระเยซูเจ้าขณะอดอาหารในถิ่นทุรกันดารเป็นเวลา 40 วัน (มก 1:12) และบรรเทาใจพระองค์ขณะเข้าตรีทูตในสวนมะกอกเทศ (ลก 22:43) อีกทั้งยังเป็นผู้แจ้งข่าวเรื่องการกลับคืนชีพของพระเยซูเจ้า และนำพาเปโตรให้เป็นอิสระจากการถูกจองจำในคุก
อัครเทวดาคาเบรียล: “พละกำลังของพระเจ้า”

มีคาแอล หมายถึง “ใครเล่าเหมือนพระเจ้า” ซึ่งคริสตชนสมัยแรกถือว่าเป็นผู้นำในการต่อสู้กับหัวหน้าเทวดาที่ชื่อ “ลูซีแฟร์” ที่ไม่เชื่อฟังพระเจ้า (วว 12:7-9) คาเบรียล หมายถึง “พละกำลังของพระเจ้า” ที่ทำหน้าที่แจ้งข่าวจากพระเจ้าให้มนุษย์ได้ทราบ (ลก 1:26-38) ส่วน ราฟาแอล หมายถึง “การรักษาของพระเจ้า” ซึ่งเป็นผู้ปกป้องคุ้มครองโทเบียที่ได้รับมอบหมายจากบิดาให้ไปทวงหนี้ให้ได้รับความปลอดภัย อีกทั้ง ยังรักษาดวงตาของโทบิตผู้บิดาซึ่งตาบอดให้หาย (ทบต 3:17, 12:15)
อัครเทวดาราฟาแอล: “การรักษาของพระเจ้า”

บรรดาอัครเทวดาทั้งหลายที่เราฉลองในวันนี้ เป็นเทวดาที่ซื่อสัตย์ต่อพระเจ้าและซื่อตรงต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ให้เราเลียนแบบอย่างท่านเหล่านี้ ในความซื่อสัตย์ต่อพระเจ้าและซื่อตรงต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ให้สำเร็จลุล่วงไปตามน้ำพระทัยของพระองค์ ให้เราโมทนาคุณพระเจ้าสำหรับอัครเทวดาของพระองค์และงานที่พวกท่านได้ทำ อีกทั้งให้เรามีจิตใจที่ใสซื่อ ไม่มีมารยา เชื่อมั่นและวางใจในพระเจ้าเหมือนนาธานาแอลในพระวรสาร

คุณพ่อขวัญ ถิ่นวัลย์
danielkhuan@hotmail.com
วัดพระคริสตประจักษ์ นาบัว
29 กันยายน 2010

วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

เขตตะวันตกสัมมนาพระคัมภีร์

คุณพ่อพรทวี โสรินทร์ หัวหน้าเขตตะวันตก กล่าวเปิดการสัมมนาพระคัมภีร์เบื้องต้น
 เขตตะวันตกจัดสัมมนาพระคัมภีร์
ท่านจำเนียรย้ำต้องอ่านพระคัมภีร์

ช้างมิ่ง พระสงฆ์เขตตะวันตกจัดสัมมนาพระคัมภีร์เบื้องต้น ที่วัดพระคริสตราชา ช้างมิ่ง เมื่อวันเสาร์ที่ 25 กันยายน ที่ผ่านมา มีผู้นำระดับเขต ระดับวัด และระดับชุมชนจากวัดต่างๆ เข้าร่วมสัมมนาเป็นจำนวนมาก ตอนบ่ายพระอัครสังฆราชหลุยส์ จำเนียร สันติสุขนิรันดร์ พร้อมคุณพ่อทินรัตน์ คมกฤส และคณะกรรมการหน่วยงานชุมชนคริสตชนพื้นฐานได้เดินทางมาเยี่ยม และกล่าวกับผู้เข้าร่วมสัมมนาให้อ่านพระคัมภีร์ควบคู่ไปดับการภาวนา

คุณพ่อเฉลิมศีลป์ จันลา เจ้าอาวาสวัดพระคริสตราชา ช้างมิ่ง เจ้าภาพในการสัมมนา

พระคุณเจ้าจำเนียร สันติสุขนิรันดร์ ได้ย้ำถึงความสำคัญของหนังสือพระคัมภีร์ว่าเป็นหนังสือที่บรรจุพระวาจาของพระเจ้า เป็นเหมือนจดหมายรักที่พระเจ้าเขียนถึงเรามนุษย์ ดังนั้นเราจึงต้องอ่านบ่อยๆ หนังสือพระคัมภีร์สามารถให้คำตอบต่อทุกปัญหาที่เรากำลังเผชิญอยู่ได้ ทุกคนจึงควรอ่านพระคัมภีร์ เช่น “เยาวชน ควรอ่านหนังสือพระคัมภีร์ เพื่อเรียนรู้ว่าควรดำรงชีวิตอย่างไร... คริสตชนทุกคน ควรอ่านหนังสือพระคัมภีร์ เพื่อพบการนำทางไปสู่พระเจ้า” พระคุณเจ้ายังได้เตือนว่า การอ่านพระคัมภีร์ต้องกระทำควบคู่ไปกับการภาวนา เพราะเมื่อเราภาวนาเราพูดกับพระเจ้า และเมื่อเราอ่านพระคัมภีร์ พระเจ้าตรัสกับเรา

คุณพ่อขวัญ ถิ่นวัลย์ กำลังอธิบายและให้ความรู้เกี่ยวกับ "พระคัมภีร์เบื้องต้น"

หัวข้อในการสัมมนาครั้งนี้คือ “พระคัมภีร์เบื้องต้น” มีผู้เข้าร่วมการสัมมนา 196 คน ซึ่งเริ่มด้วย วจนพิธีกรรมเปิดการสัมมนา โดยคุณพ่อพรทวี โสรินทร์ หัวหน้าเขตตะวันตก ต่อด้วยการบรรยายของ คุณพ่อขวัญ ถิ่นวัลย์ เจ้าอาวาสวัดพระคริสตประจักษ์ นาบัว ในหัวข้อ “พระคัมภีร์เบื้องต้น” และการบรรยายของ คุณพ่อสุรวุฒิ สมงาม ในหัวข้อ “การอ่านพระคัมภีร์และการภาวนา” ตอนบ่ายเป็นการศึกษาตัวบทและการฝึกปฏิบัติการใช้พระคัมภีร์ ก่อนจะมีวจนพิธีกรรมปิดการสัมมนา โดยคุณพ่อไฟศาล ว่องไว ผู้รับผิดชอบชุมชนคริสตชนพื้นฐานเขตตะวันตก อนึ่ง การสัมมนาครั้งต่อไปจะจัดที่วัดนักบุญยอแซฟ ดอนทอย

คุณพ่อสุรวุฒิ สมงาม กำลังอธิบายเรื่อง "พระคัมภีร์และการภาวนา"

คุณพ่อขวัญ ถิ่นวัลย์ ได้อธิบายให้ผู้เข้าสัมมนาได้เข้าใจถึง “ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับพระคัมภีร์” ในประเด็นที่เกี่ยวกับ “การดลใจของพระเจ้า”, “ภาษาของพระคัมภีร์” และ “แบบวรรณกรรม” อีกทั้งยังได้อธิบายถึง “สาระบบพระคัมภีร์” ที่ประกอบด้วยพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ โดยอ้างสังฆธรรมนูญเรื่องพระวาจา (Dei Verbum) ว่า พระคัมภีร์เป็นหนังสือที่บรรจุพระวาจาของพระเจ้า เนื่องจากเขียนขึ้นโดยการดลใจของพระเจ้า การศึกษาพระคัมภีร์จึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะผู้ที่มีหน้าที่ประกาศพระวาจาอย่างพระสงฆ์และคนอื่นๆ ที่ต้องเอาใจใส่อ่านและศึกษาพระคัมภีร์อยู่เสมอ

พระคุณเจ้าจำเนียร สันติสุขนิรันดร์ กำลังให้โอวาสให้ทุกคนอ่านพระคัมภีร์

สังฆธรรมนูญเรื่องพระวาจาของพระเจ้า ยังได้เตือนคริสตชนทั้งหลายเป็นพิเศษ ให้ศึกษาพระคัมภีร์บ่อยๆ เพื่อจะได้เรียนรู้ “ประโยชน์ล้ำค่าคือการรู้จักพระคริสตเยซู” (ฟป 3:8) “เพราะการไม่รู้พระคัมภีร์คือการไม่รู้จักพระคริสตเจ้า” (นักบุญเยโรม) นอกนั้นยังต้องระลึกว่า การอ่านพระคัมภีร์จะต้องมีการภาวนาควบคู่อยู่ด้วยเสมอ เพื่อจะได้เป็นการสนทนาระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ (DV 25) เพราะว่า “เมื่อเราภาวนาเราพูดกับพระเจ้า และพระเจ้าตรัสกับเราเมื่อเราอ่านพระคัมภีร์” (นักบุญอัมโบส) คุณพ่อได้สรุปว่า เราต้องอ่านพระคัมภีร์บ่อยๆ เนื่องจากในพระคัมภีร์เราสามารถพบคำตอบเกี่ยวกับทุกสิ่งและทุกปัญหาที่เรากำลังเผชิญอยู่ เพราะ “พระคัมภีร์คือน้ำพุที่ไม่มีวันเหือดแห้งแห่งความจริงทั้งหมด” (Immanuel Kant)

หมายเหตุ: อ่านเอกสารประกอบคำบรรยายได้ที่ http://www.genesis.in.th/FrKhuan/Sep2010/2010-09-27Basical%20of%20Bible.pdf
จำนวนผู้เข้าร่วมสัมมนาทั้งหมด 196 คน จากทุกวัดในเขตตะวันตก
Don Daniele รายงาน
วัดพระคริสตประจักษ์ นาบัว
26 กันยายน 2010

สารวัดนาบัว, ปีที่ 1 ฉบับที่ 20

สารวัดพระคริสตประจักษ์ นาบัว
ปีที่ 1 ฉบับที่ 20, อาทิตย์ที่ 26 กันยายน ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553): http.//dondaniele.blogspot.com
บ้านนาบัว หมู่ที่ 2 ตำบลหนองแวงใต้ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร 47120. 086-231-3231
 

การสัมมนาพระคัมภีร์เบื้องต้น เขตตะวันตก ที่วัดพระคริสตราชา ช้างมิ่ง: 25 ก.ย. 2010

สัปดาห์ที่ 26 เทศกาลธรรมดา

ในพระวรสารวันนี้ เราจะได้ยินเรื่องราวเศรษฐีผู้มั่งคั่ง จัดงานเลี้ยงและกินดื่มอย่างหรูหราทุกวัน เขาปฏิเสธที่จะแบ่งปันแม้เศษอาหารที่หล่นจากโต๊ะกับลาซารัส ขอทานผู้หิวโซที่มาขอเศษอาหารที่ประตูบ้าน ให้เรานึกถึงฉากของเหตุการณ์ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่า เราได้ดำเนินชีวิตเยี่ยงเศรษฐีคนนี้หรือเปล่า

เราทุกคนล้วนเป็นคนบาป เต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว เรารู้สึกลำบากที่จะแบ่งปันสิ่งที่เรามีกับคนอื่น โดยเฉพาะกับคนขัดสน แต่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้า เราทุกคนเป็นเพียงขอทานที่ต่ำต้อย เราต้องการการให้อภัยจากพระเจ้าสำหรับการปฏิเสธที่จะแบ่งปันสิ่งที่เรามี ให้เราสำนึกถึงความบาปผิดเหล่านี้ และขอให้พระองค์ทรงอภัยบาปของเรา

บทอ่านที่ 1: หนังสือประกาศกอาโมส อมส 6:1ก,4-7

ประกาศกอาโมสพูดกับคนมั่งมีในอิสราแอล อาชญากรรมที่พวกเขาได้กระทำคือการเมินเฉยต่อเสียงร้องขอความช่วยเหลือของคนจน โดยเตือนว่าการประพฤติตนเช่นนี้นำมาซึ่งหายนะของทุกคนในชาติ อาโมสได้เตือนคนมั่งมีถึงความรับผิดชอบของพวกเขาต่อพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ คริสตชนควรหันความสนใจไปที่ความมั่งมีฝ่ายจิตมากกว่าสิ่งภายนอก

บทอ่านที่ 2: จดหมายนักบุญเปาโลถึงทิโมธี ฉบับที่หนึ่ง 1 ทธ 6:11-16

เปาโลได้เตือนทิโมธีในการเป็นพยานถึงความเชื่อจนตลอดชีวิต การเป็นพยานถึงพระวรสารเป็นกระแสเรียกของคริสตชนทุกคน เราจะต้องพยายามดำเนินชีวิตเยี่ยงนักบุญตามคำแนะนำของเปาโล ด้วยความมั่นใจและจริงใจในการประกาศข่าวดีกับทั้งคนขัดสนและคนมั่งมี เราจะต้องเป็นคนที่มีคุณธรรม ใจดีมีเมตตา และสม่ำเสมอในความรักในการดำเนินชีวิต

พระวรสาร: นักบุญลูกา ลก 16:19-31

ในพระวรสารพระเยซูเจ้าทรงใช้คำอุปมาเรื่องเศรษฐีกับลาซารัส เพื่อสะท้อนช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน เศรษฐีไม่ได้ใช้โอกาสและทรัพย์สินที่มีเพื่อสะสมสมบัติในสวรรค์ ด้วยการแบ่งปันและช่วยเหลือคนอื่น เขาจึงกลายเป็นคนยากจนในบั้นปลาย ตรงข้ามกับลาซารัสที่กลายเป็นคนมั่งมีในสวรรค์ ทุกวันนี้มีคนทั้งสองประเภทในสังคมของเรา
 
การสัมมนาครั้งนี้ มีผู้นำระดับเขต ระดับวัด และระดับกลุ่มเข้าร่วมจำนวน 196 คน

 ข่าวสารและประชาสัมพันธ์

1) ขอบคุณพี่น้องกลุ่มคริสตชนพื้นฐาน กลุ่มที่ 11 ที่ช่วยกันทำความสะอาดวัด กลุ่มที่รับผิดชอบอาทิตย์ต่อไปคือ กลุ่มที่ 12 และขอขอบคุณ ผู้นำระดับเขต ระดับวัด และระดับกลุ่ม ของชุมชนคริสตชนพื่นฐาน ที่เข้าร่วมการสัมมนาพระคัมภีร์เบื้องต้นที่วัดพระคริสตราชา ช้างมิ่ง เมื่อวันเสาร์ที่ 25 กันยายน ที่ผ่านมา

2) ขอเชิญพี่น้องทุกกลุ่ม ทุกคุ้ม ร่วมแห่แม่พระจากปากทางไปยังวัด และร่วมมิสซาเปิดเดือนแม่พระ วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคมนี้ เวลา 19.00 น.

3) ศูนย์สังคมพัฒนาฯ และคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ อัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง ขอเชิญผู้สูงอายุร่วมงานวันรวมพลังผู้สูงอายุ วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม 2010 ที่อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล ท่าแร่ ตั้งแต่เวลา 08.00-13.00 น.

4) ศูนย์ส่งเสริมชีวิตครอบครัว จะจัดอบรมฟื้นฟูชีวิตครอบครัว ขั้นที่ 1 รุ่นที่ 158 ระหว่างวันที่ 1-3 ตุลาคม 2010 ณ ศูนย์อภิบาลอัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง ขอเชิญครอบครัวที่สนใจ และกลุ่มชีวิตครอบครัว (รุ่นพี่) ไปร่วมเป็นเกียรติและให้กำลังใจ

5) รายนามผู้บริจาคสมทบกองทุนบูรณะวัดไม้: เซอร์โปลีน ชูวิรัตน์ โรงเรียนเซนต์ฟรังซิสเซเวียร์ จำนวน 50,000.- บาท

6) วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม ขอเชิญร่วมฉลองบ้านเณรฟาติมา ท่าแร่ มิสซาเวลา 10.00 น. ทางบ้านเณรได้ขอให้ทำอาหารไปช่วยด้วย

7) เงินทานวันเสาร์ ได้ 587.- บาท, วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน ได้ 4,969.- บาท; เงินทานวัดพระนามเยซู โพนสวาง ได้ 571.- บาท
อ.สมัย พิมพ์นาจ ประธานคูเรียนนาบัว และนายเจริญ จันทร์สุนีย์ เลขาธิการสภาอภิบาลวัด

วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

เศรษฐีกับลาซารัส

วันอาทิตย์ สัปดาห์ที่ 26 เทศกาลธรรมดา ปี C
บทอ่านที่ 1: อมส 6:1ก,4-7
บทอ่านที่ 2: 1 ทธ 6:11-16
พระวรสาร: ลก 16:19-31

ลาซารัส หน้าบ้านเศรษฐี ผลงานของ เฟดอร์ บรอนนิคอฟ
 บทนำ

มีนักธุรกิจคนหนึ่งในนครซานอันโตนิโอ รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ได้จอดรถสปอร์ตรุ่นใหม่ของเขาไว้ข้างถนนและไปทำธุระบางอย่างในย่านธุรกิจแถวนั้น เมื่อเขากลับมาที่รถก็พบเด็กชายยากจนคนหนึ่งกำลังจ้องมองรถคันงามของเขาด้วยดวงตาเป็นประกาย บ่งบอกถึงความชื่นชอบอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเห็นเขาเดินมาที่รถ เด็กคนนั้นถามว่า “รถของท่านหรือครับ มันสวยมาก ท่านซื้อมาราคาเท่าไหร่ครับนี่”

นักธุรกิจคนนั้นตอบว่า “ใช่! รถของฉัน แต่ฉันไม่ได้ซื้อมันหรอก มีคนให้ฉันเป็นของขวัญ” เด็กคนนั้นยิ่งสนใจมากขึ้น ถามต่อว่า “ใครนะช่างใจดีจัง ให้รถสวยคันนี้แก่ท่าน” ชายนั้นตอบว่า “พี่ชายของฉันเอง” เด็กคนนั้นรู้สึกแปลกใจจึงพูดว่า “แสดงว่าท่านไม่ได้จ่ายเงินซื้อมันสักแดงเดียว” ชายนั้นตอบว่า “ใช่แล้ว เธอพูดถูก” เขาคิดในใจว่าเด็กข้างถนนคนนั้นคงพูดต่อว่า “ผมอยากจะมีพี่ชายอย่างท่านบ้าง” แต่เขาคิดผิดถนัด เพราะเด็กคนนั้นกลับพูดว่า “ผมหวังว่า สักวันผมจะเป็นพี่ชายที่ดีอย่างนี้บ้าง”

นักธุรกิจคนนั้นรู้สึกอึ้งกับคำพูดดังกล่าว ตัวเขาซึ่งฐานะร่ำรวย แต่งกายด้วยเสื้อผ้าอย่างดี มีทุกอย่างพร้อม ขณะที่เด็กคนนั้นแต่งกายมอซอ ไม่มีอะไรในมือ แต่ในหัวใจของเด็กคนนั้นมีมากยิ่งกว่าเขาเสียอีก เด็กโกโรโกโสมีจิตใจที่ร่ำรวยมากกว่าเขาหลายเท่า ทั้งนี้เพราะเด็กคนนั้นไม่ได้คิดถึงตัวเองที่คอยรับจากคนอื่น แต่ต้องการจะเป็นผู้ให้ (เนื่องจากเขามีน้องชายที่เป็นอัมพาต เดินไม่ได้ ความตั้งใจของเขาคือต้องการซื้อรถยนต์ให้น้องชาย เพื่อใช้เดินทางไปในที่ที่ต้องการและเห็นสถานที่ต่างๆ ด้วยตนเอง)

ทุกวันนี้ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนในสังคมดูเหมือนจะถูกขยายให้ห่างกันมากขึ้น คำอุปมาเรื่องเศรษฐีกับลาซารัส สะท้อนให้เห็นลักษณะที่แตกต่างกันราวฟ้ากับเหวของคนสองคน คนหนึ่งร่ำรวยเป็นเศรษฐี ส่วนอีกคนหนึ่งเป็นขอทานยากจนเข็ญใจ ชีวิตของคนทั้งสองแตกต่างกัน ไม่ใช่เพียงเรื่องฐานะความเป็นอยู่เท่านั้น แต่ยังแตกต่างกันระหว่างชีวิตหลังความตายอีกด้วย ความแตกต่างประการหลังนี้เห็นได้ถึงความเด็ดขาดและถาวร ซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ ส่งผลให้เศรษฐีต้องทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส

สิ่งที่ทำให้เศรษฐีต้องรับโทษไม่ใช่สิ่งที่เขาทำลงไป แต่เป็นสิ่งที่เขาไม่ได้ทำต่างหาก

1. เศรษฐีกับลาซารัส

ในพระวรสารวันนี้ได้นำเสนอเรื่องเศรษฐีกับลาซารัส พระเยซูเจ้าได้ฉายภาพชีวิตเศรษฐีที่อยู่อย่างคนโลภและฟุ่มเฟือย “แต่งกายหรูหราด้วยเสื้อผ้าเนื้อดีราคาแพง จัดงานเลี้ยงทุกวัน” เขาได้ละเลยบัญญัติเอกและสำคัญที่สุดคือ “จงรักพระเจ้าสิ้นสุดจิตใจและรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง” ชีวิตของเขาตั้งอยู่บนความสะดวกสบายด้านวัตถุและทำทุกอย่างเพื่อตนเอง โดยไม่เคยคิดถึงความลำบากเดือดร้อนของคนอื่น หัวใจของเขาว่างเปล่าเพราะเขาขาดความรัก ตาของเขาบอดมือเพราะมองไม่เห็นความต้องการของพี่น้อง

ในทางตรงข้าม ลาซารัส มีชีวิตอยู่อย่างยากจนน่าสังเวช มีแผลเต็มตัว ไม่มีแรงแม้แต่จะไล่สุนัขที่กำลังเลียแผล เขาถูกนำมาทิ้งไว้ที่ประตูบ้านเศรษฐีและรอสิ่งที่ตกจากโต๊ะอาหาร เขาไม่ต้องการสิ่งที่มีค่าใด นอกจากเศษอาหารเพื่อประทังชีวิตซึ่งเศรษฐีไม่ต้องการแล้ว เศรษฐีจึงเป็นตัวแทนของคนมั่งมีที่เห็นแก่ตัว ขณะที่ลาซารัส เป็นตัวแทนของเสียงกรีดร้องของคนจนหลากหลายรูปแบบที่ไม่มีใครได้ยินทุกยุคทุกสมัย

คำว่า “ลาซารัส” เป็นชื่อภาษากรีกแปลว่า “พระเจ้าทรงเป็นผู้ช่วย” เพื่อเน้นให้เห็นความจริงที่ว่า แม้คนชอบธรรมจะยากจนไม่มีใครช่วยเหลือ แต่พระเจ้าทรงเป็นผู้ช่วยเขาเสมอ เราจึงได้เห็นสถานการณ์ที่กลับกันหลังความตาย เศรษฐีกลายเป็นคนจนน่าสมเพชในเปลวไฟ (นรก) ที่ร้องขอความช่วยเหลือจากลาซารัส ขณะที่ลาซารัสกลายเป็นคนร่ำรวยมีความสุข (สวรรค์) เพราะได้อยู่ในอ้อมอกของอับราฮัม
ลาซารัส ผู้น่าสงสาร ผลงานของ มัตเทอุส เมเรียน เดอะ เอลเดอร์
 2. บทเรียนสำหรับเรา

คำอุปมานี้ได้ให้บทเรียนสำคัญแก่เราว่า เราจะได้รับในสิ่งที่ต้องการ แต่ก็ต้องชดเชยตามราคาของสิ่งนั้น เวลามีชีวิตอยู่ในโลกเราอาจได้ทุกสิ่งที่ปรารถนา แต่อาจต้องสูญเสียวิญญาณหรือความสุขนิรันดรกับพระเจ้าในบั้นปลาย “สิ่งที่ทำให้เศรษฐีต้องทรมานในไฟ(นรก) ไม่ใช่สิ่งที่เขาทำลงไป แต่เป็นสิ่งที่เขาไม่ได้ทำต่างหาก” โดยเฉพาะการแบ่งปันสิ่งที่เขามีกับชายยากจนที่อยู่ต่อหน้า ดังนั้น ความรักที่เรามีต่อพระเจ้าจึงต้องแสดงออกต่อเพื่อนพี่น้องของเรา เพราะเป็นพระเจ้าเองที่ปรากฏพระองค์ให้เราเห็นในตัวคนยากจน

คุณแม่เทเรซาแห่งกัลกัตตา กล่าวเอาไว้ว่า “โรคที่มนุษย์เป็นมากที่สุดในโลกปัจจุบันคือ ความรู้สึกว่าตนเองไม่เป็นที่ต้องการ และความเลวร้ายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกปัจจุบันคือการขาดความรัก” เราคริสตชนจะต้องเป็นปากเสียงแทนคนยากจนและคนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบในสังคมเหล่านี้ ความสนใจของเราจะต้องแสดงออกให้เห็นยิ่งกว่าคำพูด มิฉะนั้นแล้วเราก็ไม่ต่างอะไรจากเศรษฐีในคำอุปมา

ทรัพย์สมบัติหรือความร่ำรวยที่เรามีถือเป็นพระพรของพระเจ้า ที่เราต้องสำนึกเสมอว่ามิใช่สมบัติส่วนตัวของเราเพียงคนเดียว เราจะต้องแบ่งปันให้ผู้ที่ไม่มี เพื่อให้เขาสามารถเจริญชีวิตสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ซึ่งเป็นบุตรของพระเจ้า เราจะทำเป็นทองไม่รู้ร้อนกับพี่น้องที่ขัดสนหรือเดือดร้อนเจียนตายไม่ได้เป็นอันขาด มิฉะนั้นชะตากรรมของเราในชีวิตหน้าก็จะเป็นเช่นเดียวกับเศรษฐีในวันพระวรสารวันนี้

หลายคนอาจคิดว่าคำอุปมานี้ไม่เกี่ยวกับฉัน เพราะ “ฉันไม่ใช่คนรวย ไม่ได้มีเงินมากพอที่จะแบ่งหรือช่วยเหลือใคร” สิ่งที่พระเยซูเจ้าตรัสไม่ได้หมายถึงทรัพย์สินเท่านั้น เราสามารถแบ่งปันสิ่งที่เรามีกับคนที่ต้องการความช่วยเหลือ ดังนั้น เราจึงต้องมองดูว่า “มีใครที่กำลังนั่งอยู่ที่ประตูบ้านของเรา” ที่ต้องการคำพูดให้กำลังใจ ต้องการความเป็นเพื่อนชั่วขณะ ต้องการความรักและความเข้าใจสักเล็กน้อย หรือต้องการการให้อภัยจากเรา บางทีคนเหล่านี้อาจเป็นคนในบ้านของเราเองที่เรามองข้าม ไม่ได้ให้ความสนใจเท่าที่ควร
วิถีชีวิตที่แตกต่างกันระหว่าง "คนรวย" กับ "คนจน" ในสังคมปัจจุบัน
บทสรุป

พี่น้องที่รัก พระเยซูเจ้าสอนเราในคำอุปมาว่า เราต้องแบ่งปันและรับผิดชอบต่อคนที่ขัดสน เศรษฐีในคำอุปมาได้รับการลงโทษเพราะเขาปฏิเสธที่จะช่วยเหลือพี่น้องที่ต้องการความช่วยเหลือ เราจะต้องรับรู้ถึงความอยุติธรรมที่ผู้คนกำลังเผชิญอยู่ต่อหน้า เราไม่สามารถจะเป็นเพียงผู้ดูเฉยๆ แล้วปล่อยให้เรื่องราวความอยุติธรรมในสังคมผ่านเลยไป เราจะต้องทำบางสิ่งบางอย่าง นั่นคือ แบ่งปันสิ่งที่เรามีกับบุคคลเหล่านี้

ชีวิตของเราคือของประทานอันล้ำค่าของพระเจ้า และเราต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่พระเจ้ามอบความไว้วางใจให้เราดูแล ต้องใช้มันเพื่อพระเกียรติมงคลของพระเจ้าและเพื่อผู้อื่น ชีวิตของเราในโลกนี้เป็นการเตรียมสำหรับชีวิตในโลกหน้า ความหรูหราฟุ่มเฟือยไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิต เราต้องแสวงหาสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่าซึ่งนำไปสู่ชีวิตนิรันดร แน่นอนว่า เราไม่สามารถจะใช้ชีวิตอย่างสุขสบายได้ ขณะที่ยังมีคนอย่างลาซารัสนั่งคอยเราอยู่ที่ประตูบ้าน

ชีวิตของเศรษฐีเป็นชีวิตที่ไร้ค่า เขาใช้ความร่ำรวยที่เขามีเพื่อตนเองเท่านั้นและปฏิเสธผู้อื่น ตาของเขาบอดมืดต่อคนที่ต้องการความช่วยเหลือ เขาเจริญชีวิตในโลกนี้โดยปราศจากพระเจ้า เขาจึงสูญเสียพระองค์ไปตลอดกาล รวมถึงทุกสิ่งที่เขามี ขณะที่ลาซารัสคือแบบอย่างของคนที่เชื่อและไว้ใจในพระเจ้า ขอให้เรารู้จักแบ่งปันสิ่งที่เรามีกับผู้อื่น เพราะเงื่อนไขที่ขาดไม่ได้สำหรับการเข้าในอาณาจักรของพระเจ้าคือ ความเชื่อไว้ใจในพระเจ้าและการใส่ใจในคนยากจน

คุณพ่อขวัญ ถิ่นวัลย์
danielkhuan@hotmail.com
วัดพระคริสตประจักษ์ นาบัว
24 กันยายน 2010

วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

คุณพ่อปีโอ นักบุญผู้มีรอยแผลศักดิ์สิทธิ์

23 กันยายน เป็นวันระลึกถึง นักบุญปีโอแห่งปิเอเตรลชีนา หรือ "คุณพ่อปีโอ" ขณะที่ศึกษาอยู่ที่กรุงโรม ได้มีโอกาสไปแสวงบุญที่ซานโจวานนี โรตอนโด แคว้นปูเลีย ประเทศอิตาลี ที่เก็บร่างของนักบุญผู้มีรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ ร่วมสมัยองค์นี้ พร้อมกับพระสังฆราช พระสงฆ์ และชาวไทยในโรม

อีกทั้งได้เคยเขียนเรื่องลงเว็บไซต์และอุดมสาร วันนี้จึงขอนำข้อเขียนบางตอนที่เกี่ยวกับประวัติของคุณพ่อปีโอมานำเสนออีกครั้ง ส่วนบทความและภาพประกอบทั้งหมด สามารถติดตามได้ที่ลิงค์ข้างล่างนี้
http://www.catholic.or.th/events/news/news30/news037/news037.html
http://www.naphoradio.com/San%20Giovanni%20Rotondo2008.php
คุณพ่อขวัญ ถิ่นวัลย์

ชีวิตของคุณพ่อปีโอ

นักบุญปีโอแห่งปิเอเตรลชินา หรือที่เรียกกันติดปากว่า “คุณพ่อปีโอ” (Padre Pio) เกิดเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1887 ที่ปิเอเตรลชินา (Pietrelcina) เมืองเล็กๆ ในอัครสังฆมณฑลเบเนเวนโต (Benevento) เขตปูเลียทางภาคใต้ของประเทศอิตาลี เป็นบุตรของ กราซีโอ มารีโอ ฟอร์โจเน (Grazio Mario Forgione) กับ มาเรีย จูเซปปา เด นุนซิโอ (Maria Guiseppa de Nunzio) บิดามารดาได้พาไปรับศีลล้างบาปในวันต่อมาที่วัดแม่พระแห่งทูตสวรรค์ (La Madonna degli Angeli) ใกล้บ้าน โดยได้ชื่อว่า “ฟรันเชสโก” (Francesco) ตามชื่อของพี่ชายที่ตายตั้งแต่ยังเล็ก มีพี่น้องทั้งหมด 4 คน พี่ชายหนึ่งคนชื่อ มิเกลเล (Michele) และน้องสาวอีกสามคนคือ เฟลิชิตา (Felicita), เปลเลกรินา (Pellegrina) และกราเซีย (Grazia)

ครอบครัวฟอร์โจเน เป็นคริสตชนที่ศรัทธาและเคร่งครัดไปร่วมพิธีมิสซาทุกวัน สวดสายประคำร่วมกันทุกคืน และอดเนื้ออาทิตย์ละสามวันเพื่อถวายเกียรติแด่แม่พระแห่งภูเขาคาร์เมล แม้ว่าบิดามารดาจะอ่านหนังสือไม่ออกแต่รู้พระคัมภีร์ดีมาก จดจำได้ขึ้นใจและเล่าเรื่องราวในพระคัมภีร์ให้ลูกๆ ฟังเป็นประจำ ทำให้เมล็ดพันธ์แห่งความเชื่อได้รับการปลูกฝังในตัวของเด็กชายฟรันเชสโกตั้งแต่ยังเล็ก ขณะอายุได้ห้าขวบได้ปวารณาตัวที่จะอุทิศตนเพื่อพระเยซูเจ้า อายุ 12 ปี ได้รับศีลมหาสนิทและศีลกำลัง มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะเป็นพระสงฆ์ ต่อมาได้เข้าคณะภราดาน้อยกาปูชินที่มอร์โคเน (Morcone) อายุได้16 ปีได้สวมเครื่องแต่งกายของคณะกาปูชินเมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1903 และเข้าเป็นโนวิส โดยได้ชื่อว่า “ปีโอ” (Pio) เพื่อเป็นเกียรติแด่นักบุญปีโอที่ 5 องค์อุปถัมภ์ของเมือง และเป็นที่รู้จักในชื่อ “ปีโอ” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ภราดาปีโอ ได้ปฏิญาณตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1904 จากนั้นได้เดินทางไปเมืองอัสซีซี เพื่อศึกษาและเตรียมตัวเป็นพระสงฆ์และได้ปฏิญาณตนตลอดชีพที่นั่นเมื่อวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 1907 หลังเรียนจบได้บวชเป็นพระสงฆ์เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 1910 โดยพระอัครสังฆราชเปาโล สกิโนซี (Paolo Schinosi) ที่อาสนวิหารเบเนเวนโต ต่อมาเนื่องจากมีปัญหาด้านสุขภาพจึงได้พักอยู่กับครอบครัวจนถึงปี ค.ศ. 1916 เดือนกันยายนปีเดียวกันได้ถูกส่งตัวมาอยู่ที่อารามที่ซานโจวานนี โรตอนโด และอยู่ที่นั่นจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต
ผู้มีรอยแผลศักดิ์สิทธิ์และญาณหยั่งรู้

หลังจากเป็นพระสงฆ์ได้ไม่ถึงเดือน พระเยซูเจ้าและแม่พระได้ปรากฏมาและให้รอยแผลศักดิ์สิทธิ์กับคุณพ่อปีโอเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ขณะภาวนาหลังจากถวายมิสซาที่ปิอานา โรมานา (Piana Romana) คุณพ่อได้ขอพระเยซูเจ้าให้ขจัดมันออกไป กระทั่งวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1918 คุณพ่อได้รับรอยแผลนี้อีกครั้งขณะที่กำลังภาวนาในวัดน้อยของอาราม คุณพ่อต้องเจ็บปวดมากและมีเลือดไหลที่มือและเท้าจนต้องพันผ้าไว้ รอยแผลนี้ได้อยู่กับคุณพ่อเป็นเวลา 50 ปี และค่อยๆ จางหายไปในวันที่คุณพ่อมรณภาพ

คุณพ่อปีโอได้ยึดเอางานธรรมทูตและไม้กางเขนของพระเยซูเจ้าเป็นพลัง ปรีชาญาณและเกียรติสำหรับตัวเองเหมือนนักบุญเปาโล ความรักของพระเยซูเจ้าเร่งเร้าทำให้คุณพ่อกลายเป็นเหมือนกับพระองค์ในการทนทรมานเพื่อความรอดของโลก คุณพ่อได้ติดตามและเรียนแบบพระคริสต์ผู้ถูกตรึงบนไม้กางเขนด้วยการเจริญชีวิตในความรักต่อพระเจ้าและต่อเพื่อนมนุษย์ ซึ่งแสดงออกในการแนะนำวิญญาณผู้คนมากมายที่มาหา ในการฟังแก้บาป การภาวนา และการถวายพิธีบูชาขอบพระคุณ คุณพ่อแซร์โจเล่าว่า คุณพ่อปีโอใช้เวลาถวายมิสซานานนับชั่วโมง และฟังแก้บาปวันหนึ่ง 15 ชั่วโมง

คุณพ่อปีโอเป็นผู้ที่มีชีวิตจิตที่ลึกซึ้งมาก ได้รับพระพรพิเศษในการรู้จิตใจคน สามารถรู้ก่อนที่คนนั้นจะบอกบาปหรือมาหาเสียอีก และสามารถรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า พระคาร์ดินัล อัลฟอนส์ สติ๊กเลอร์ (Alfons Stickler) แห่งออสเตรียเล่าว่าในปี ค.ศ. 1947 คุณพ่อคาโรล วอยติยา ซึ่งต่อมาคือพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ขณะเป็นนักศึกษาที่กรุงโรม ได้ยินเรื่องของคุณพ่อปีโอและปรารถนาจะพบจึงได้เดินทางไปที่ซานจีโอวานนี โรตอนโด ระหว่างที่พบกันคุณพ่อปีโอได้ยืนยันกับคุณพ่อวอยติยาว่า “วันหนึ่งท่านจะอยู่ในตำแหน่งที่สูงที่สุดของพระศาสนจักร” พระคาร์ดินัลสติ๊กเลอร์ เล่าต่อไปว่าคุณพ่อวอยติยาเชื่อว่าคำทำนายนี้เป็นจริงเมื่อท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระคาร์ดินัลไม่ใช่พระสันตะปาปา เล่ากันว่าวันนั้นคุณพ่อปีโอได้เห็นคุณพ่อวอยติยาแต่งกายด้วยเครื่องแบบของพระสันตะปาปาและมีรอยเลือดสีแดงเปื้อนอยู่บนผ้าคลุมไหล่สีขาว ข่าวนี้แพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็วภายหลังจากที่พระคาร์ดินัลวอยติยาได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปาแล้ว
สถานที่ที่เคยใช้ฝังศพของคุณพ่อปีโอเป็นเวลาร่วม 40 ปี ที่ซานโจวานนี โรตอนโด
นักบุญร่วมสมัย ผู้มีความศรัทธาต่อแม่พระ

สิ่งที่คุณพ่อปีโอใช้เป็นอาวุธในการประจญคือ การภาวนา คุณพ่อน้อมรับพระประสงค์ของพระอย่างไม่มีเงื่อนไข ตัวอย่างในช่วงปี ค.ศ. 1931-1933 พระสันตะปาปาปิอุส ที่ 11 ได้มีคำสั่งห้ามคุณพ่อฟังแก้บาป ห้ามถวายมิสซาในที่สาธารณะเนื่องจากมีพระสังฆราชและพระสงฆ์ไปรายงานว่างานอภิบาลของคุณพ่อไม่โปร่งใส แต่คุณพ่อได้กล่าวว่า "ลูกจะตอบแทนพระคุณพระองค์ได้อย่างไร ในงานอภิบาลอย่างแสนสาหัสครั้งนี้" นี่เป็นลักษณะความนบนอบของคุณพ่อ

คุณพ่อปีโอใช้เวลาหลายชั่วโมงในการสวดภาวนาต่อหน้าพระรูปแม่พระมหาการุณย์ วิงวอนขอการช่วยเหลือจากแม่พระเพื่อผู้ที่มาหาคุณพ่อ เมื่อพบปัญหาที่ยากเป็นพิเศษคุณพ่อจะพูดว่า "เราจำเป็นต้องพึ่งแม่พระ" พระนางเป็นผู้ที่คุณพ่อมักคิดถึงเสมอเป็นคนแรก เพราะพระนางทรงแนะนำและทำให้คุณพ่อมีใจร้อนรน คุณพ่อชอบจินตนาการถึงพระนางขณะที่อยู่ใต้ไม้กางเขนและพูดถึงพระนางว่า "แม่พระทรงรับความทุกข์เพื่อพวกเรา พระนางมีความสามารถเข้าใจในความทุกข์ทุกอย่าง อย่างลึกซึ้งภายใต้ธรรมล้ำลึกแห่งไม้กางเขน เพราะพระนางทรงร่วมรับความทุกข์ทรมานกับพระเยซูเจ้า พระบุตรของพระนาง” คุณพ่อได้บอกผู้มาหาเสมอว่า แม่พระคือช่องทางที่ทำให้เราไปหาพระเยซูเจ้า ผู้เป็นแหล่งน้ำทรงชีวิต

คุณพ่อปีโอแสดงความศรัทธาต่อแม่พระด้วยการสวดสายประคำไม่หยุดหย่อน มีสายประคำติดมือตลอดเวลาเพราะตระหนักว่านี่เป็นอาวุธอันทรงอานุภาพในการต่อสู้กับปีศาจ เพื่อเอาชนะการประจญ เป็นที่สบพระทัยพระเจ้าและรับพระหรรษทานต่างๆ แม้กระทั่งในวาระสุดท้ายของชีวิต คุณพ่อถือสายประคำในมือแต่ไม่มีแรงสวดบทวันทามารีอา นอกจากคำว่า “เยซู มารีอา” ก่อนมอบคืนดวงวิญญาณแด่พระเจ้าอย่างสงบ หลังจากได้รับศีลอภัยบาปเป็นครั้งสุดท้ายและรื้อฟื้นคำปฏิญาณในคณะฟรังซิสกัน ตอนเช้าตรู่ของวันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 1968 เวลา 02.30 น. เป็นการปิดฉากชีวิตผู้ศักดิ์สิทธิ์ในโลกนี้ด้วยวัย 81 ปี ร่างของคุณพ่อได้รับการฝังไว้ใต้โบสถ์ในอีกสามวันต่อมา มีผู้คนมาร่วมพิธีศพมากกว่าแสนคน

วันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ได้ลงนามในการเริ่มกระบวนการสอบสวนเพื่อดำเนินเรื่องว่าคุณพ่อปีโอสมควรได้รับการพิจารณาให้เป็นนักบุญหรือไม่ หลังจากนั้น 7 ปี คือ ค.ศ. 1990 คุณพ่อปีโอได้รับการประกาศเป็น “ผู้รับใช้ของพระเจ้า” ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกของการประกาศเป็นนักบุญ วันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 1998 ได้รับการประกาศเป็น “ผู้น่าเคารพ” และวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1999 ได้รับการประกาศเป็น “บุญราศี” ที่สุด พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ได้ประกาศให้คุณพ่อปีโอเป็น “นักบุญปีโอแห่งปิเอเตรลชินา” เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 2002 มีผู้คนมากกว่า 3 แสนคนไปร่วมในพิธีแต่งตั้งเป็นนักบุญในวันนั้น วันฉลองประจำปีคือวันที่ 23 กันยายน ของทุกปี
ร่างที่ไม่เน่าเปื่อยเหมือนคนนอนหลับของคุณพ่อปีโอ ที่นำขึ้นมาใส่ไว้ในโลงแก้วปี 2007




วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

มัทธิว คนเก็บภาษี


มัทธิว คนเก็บภาษี

วันนี้พระศาสนจักรให้เราฉลองนักบุญมัทธิว อัครสาวกและผู้นิพนธ์พระวรสาร เราไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับมัทธิวมากนัก นอกจากรู้ว่าเป็นคนเก็บภาษีให้รัฐบาลโรมัน โรมมีวิธีการจัดเก็บภาษีโดยกำหนดเพดานเงินภาษีที่ต้องการจากเขตต่างๆ แบบตายตัวและให้มีการประมูลราคากันเอง หากคนเก็บภาษีจ่ายภาษีให้โรมตามจำนวนเงินที่กำหนด เขาสามารถเก็บรายได้ส่วนที่เหลือเป็นของตนเองได้ อาชีพเก็บภาษีจึงสามารถสร้างรายได้ให้อย่างงาม ในสายตาของคนทั่วไป คนเก็บภาษีจึงเป็นคนบาปในระนาบเดียวกันกับหญิงโสเภณีและฆาตกร

พระวรสารของวันนี้พูดถึงพระเยซูเจ้าทรงเรียกคนเก็บภาษีชื่อ “มัทธิว” ที่กำลังเก็บภาษีในด่านให้ติดตามพระองค์ ทรงเชื้อเชิญเขาให้ทิ้งงานที่สร้างรายได้มหาศาล และชีวิตที่เอารัดเอาเปรียบคนอื่นเพื่อติดตามพระองค์ มัทธิวตระหนักว่าพระองค์ทรงเป็นเพื่อนกับท่าน เพราะไม่ได้มองท่านอย่างชาวยิวทั่วไปที่มองว่าเป็นคนบาป เป็นคนทรยศชาติด้วยการขูดรีดเก็บภาษีจากเพื่อนร่วมชาติไปให้รัฐบาลโรมัน อีกทั้ง เป็นผู้ไม่บริสุทธิ์เพราะไม่รักษาธรรมประเพณีของบรรพบุรุษ และสร้างความร่ำรวยให้ตนเองจากการเก็บภาษี
ภาพวาด "การเรียกมัทธิว" ผลงานของ เฮนริก บรุ๊กเกน 1621

พระเยซูเจ้าทรงรักษาชีวิตฝ่ายจิตของมัทธิวให้ตระหนักว่า พระเจ้าทรงรักและอภัยบาปท่าน นี่คือท่าทีใหม่ที่มัทธิวสัมผัสได้ถึงความเมตตากรุณาของพระองค์ จึงจัดงานเลี้ยงใหญ่ต้อนรับพระองค์ที่บ้าน และจากงานเลี้ยงนี้พระองค์ได้เปิดเผยความจริงให้ทุกคนทราบว่า ทรงเป็นเพื่อนกับคนบาปและเสด็จมาเพื่อตามหาคนบาป “คนสบายดีไม่ต้องการหมอ แต่คนเจ็บไข้ต้องการ... เราไม่ได้มาเพื่อเรียกคนชอบธรรม แต่มาเพื่อเรียกคนบาป” (มธ 9:12-13)

ลูกาและมาระโก เรียกมัทธิวว่า “เลวี” (ลก 6:15; มก 3:18) เป็นไปได้ว่า “เลวี” อาจเป็นชื่อดั้งเดิมของมัทธิว ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมดาที่ชาวยิวจะมีสองชื่อ “มัทธิว” หมายถึง “ของประทานของพระเจ้า” (The gift of God) เป็นหนึ่งในอัครสาวกและผู้นิพนธ์พระวรสาร ที่ได้เขียนข่าวดีเกี่ยวกับพระเยซูเจ้า ทำให้เราทราบเรื่องราวและคำสอนของพระองค์ โดยเฉพาะบทเทศน์บนภูเขาซึ่งเป็นศูนย์กลางแห่งพระวรสารของท่าน และความจริงเรื่องการประทับอยู่ของพระองค์ท่ามกลางเรา มัทธิวจึงสรุปพระวรสารของท่านว่า “เราจะอยู่กับท่านเสมอไปจนสิ้นพิภพ”
ภาพวาด "มัทธิวกำลังเขียนพระวรสาร" ผลงานของแรมบรันดต์

นอกนั้น มัทธิวได้เน้นถึงความสัมพันธ์ของพระเยซูเจ้ากับความเชื่อของยิว โดยแสดงให้เห็นว่าพระเยซูเจ้าคือพระเมสสิยาห์ที่เสด็จมาเพื่อทำให้พันธสัญญาเดิมสำเร็จไป และเพื่อพิพากษาชาวยิวเนื่องจากความไม่ซื่อสัตย์ของพวกเขา ตามธรรมประเพณีเล่าว่า มัทธิวเริ่มประกาศเทศน์สอนให้ชาวยิวในปาเลสไตน์ก่อน และประเทศใกล้เคียง นักเขียนโบราณบางท่านกล่าวกันว่า มัทธิวเดินทางไปถึงเอธิโอเปีย ประเทศแถบเปอร์เชีย ซีเรีย กรีก และไอร์แลนด์ เชื่อกันว่ามัทธิวได้ตายเป็นมรณสักขี ซึ่งวันฉลองของท่านตรงกับวันที่ 21 กันยายนของทุกปี

จากแบบอย่างชีวิตของมัทธิวและพระวาจาวันนี้ พระเยซูเจ้าได้เรียกเราแต่ละคนให้ติดตามพระองค์ ด้วยการละทิ้งชีวิตเก่าที่เต็มไปด้วยบาป และหันมาหาพระองค์ผู้เป็นองค์แห่งความรอด พระองค์ไม่ได้เรียกร้องให้เราเป็นคนดีเสียก่อนถึงจะติดตามพระองค์ได้ พระองค์ทรงทราบและเข้าใจดีถึงบาปและความอ่อนแอของเรา พระองค์จึงทรงเรียกเราแต่ละคนอย่างที่เราเป็นให้ติดตามพระองค์ แต่เราต้องพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง เลียนแบบอย่างของมัทธิว ยึดคำสอนของพระองค์ และติดตามพระองค์ด้วยความมั่นใจ

คุณพ่อขวัญ ถิ่นวัลย์
danielkhuan@hotmail.com
วัดพระคริสตประจักษ์ นาบัว
21 กันยายน 2010

วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

บุญราศี จอห์น เฮนรี นิวแมน

บุญราศี จอห์น เฮนรี นิวแมน (Blessed John Henry Newman)

สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 ในพิธีแต่งตั้งบุญราศีจอห์น นิวแมน ที่เบอร์มิงแฮม

ในโอกาสที่สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 เสด็จเยือนประเทศอังกฤษ ระหว่างวันที่ 16-19 กันยายน ที่ผ่านมา ได้ก่อให้เกิดกระแสหลายอย่างในหมู่ชาวอังกฤษทั้งที่ชื่นชมและต่อต้าน ในการเสด็จเยือนครั้งนี้สมเด็จพระสันตะปาปาได้พบกับผู้นำและบุคคลต่างๆ อาทิสมเด็จพระราชินีเอลีซาเบธ สมาชิกรัฐสภา และพระอัครสังฆราชโรแวน วิลเลียมส์ ผู้นำแองกลิกัน นิกายเชิร์ช ออฟ อิงแลนด์ แต่ไฮไลท์ของการเสด็จเยือนครั้งนี้ดูเหมือนจะอยู่ที่การแต่งตั้ง “บุญราศี จอห์น เฮนรี นิวแมน” ที่เบอร์มิงแฮม เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการเสด็จเยือน

จอห์น เฮนรี นิวแมน (John Henry Newman: 1801-1890) เป็นนักคิดและนักเทววิทยาคนสำคัญในศตวรรษที่ 19 เกิดในกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 1801 เคยเป็นพระสงฆ์แองกลิกัน ต่อมาภายหลังได้กลับใจเป็นคริสตชน เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม1845 และได้บวชเป็นพระสงฆ์ในพระศาสนจักรคาทอลิกที่กรุงโรม เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 1847 ในปี ค.ศ. 1879 ได้รับสถาปนาเป็นพระคาร์ดินัลจากพระสันตะปาปา เลโอ ที่ 13 และถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 1890 ก่อนจะได้รับการประกาศเป็น “บุญราศี” อย่างเป็นทางการระหว่างการเสด็จเยือนอังกฤษของสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน 2010 ที่ผ่านมา
สมเด็จพระสันตะปาปา ทรบพบกับผู้นำแองกลิกัน นิกายเชิร์ช์ ออฟ อิงแลนด์

เฮนรี นิวแมน ได้ชื่อว่าเป็นนักคิด นักเขียน ได้เทศน์สอนและเขียนหนังสือมากมาย ผลงานหนึ่งที่สำคัญคือ “An Essay on the Development of Christian Doctrine” ซึ่งศึกษารากฐานความเป็นมาทางความเชื่อของคาทอลิก จากการศึกษานี้เองทำให้นิวแมนเข้าใจว่าพระศาสจักรคาทอลิกคือผู้สอนความจริงที่ถูกต้อง ซึ่งได้รับมาจากพระเยซูเจ้าผ่านทางบรรดาอัครสาวกและปิตาจารย์ของพระศาสจักร การศึกษานี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อความคิดของนิวแมน ทำให้กลับใจเป็นคริสตชนก่อนที่หนังสือเล่นนี้จะได้รับการตีพิมพ์

ในระหว่างที่ผู้เขียนศึกษาวิชาพระสัจธรรมที่ Ateneo Pontificio Regina Apostolorum กรุงโรม ประเทศอิตาลี ก่อนจบกาศึกษา นอกจากการสอบความเข้าใจทุกวิชาที่เรียนมาแล้ว ทางมหาวิทยาลัยได้กำหนดให้ศึกษาหนังสือเทวิทยา 2 เล่ม หนึ่งในหนังสือที่เลือกคือ “An Essay on the Development of Christian Doctrine” ของนิวแมนนั่นเอง ซึ่งเป็นหนังสือขนาด 16 หน้ายก หนา 476 หน้า เพื่อเป็นการร่วมยินดีกับบุญราศีใหม่นาม “จอห์น เฮนรี นิวแมน” จึงขอนำสรุปเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้มาให้ผู้อ่านที่สนใจได้อ่าน เผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่ไม่มีเวลาจะศึกษาเนื้อหาทั้งเล่ม (ขออภัยที่เป็นฉบับภาษาอังกฤษ)

คุณพ่อขวัญ ถิ่นวัลย์

ภาพวาด จอห์น เฮนรี นิวแมน ของ จอห์น เอเวอเรตท์ มิลเลียตส์

AN ESSAY ON THE DEVELOPMENT OF CHRISTIAN DOCTRINE

John Henry Newman may be considered the most outstandingly original and creative English religious thinker of the nineteenth century. In the early 1840s he increasingly began to doubt that the Anglican Church could justly see itself as a branch of true Catholicism. Instead, his intensive study of the Church Fathers led him to believe that the development of Christian doctrine from the time of Jesus until the nineteenth century, and consequently the way in which the Catholic Church taught these doctrines, were rightful interpretation.

In his An Essay on the Development of Christian Doctrine, which he wrote when he thought about resigning his fellowship in Oxford, he set out to prove his point of view logically. Before the book was published, Newman had joined the Catholic Church. One could say that through the writing of the Christian Doctrine Newman convinced himself of the rightful position of the Catholic Church in regard to dogmas.

Newman believed that the Church standing in real continuity with the primitive Church would have as a hallmark fidelity to the teaching of the apostles. Research and reflection had confirmed his belief that the “corruption” perceived by a Protestant mind-set was in fact the full flowering of the seed of revelation. His treatise was a refutation of the liberal attempt to equate development with evolutionary change in doctrine.

Introduction

Newman wrote his Essay in order to counter the arguments of many liberal Protestants who were seeking to eliminate what they claimed were unbiblical accretions that had obscured the purity of the early Church, such as the status of Mary, the cult of saints, infant baptism, and the papacy. Newman was defending tradition, the process of handing on the faith from generation to generation. Opposed to tradition, he said, was corruption of the faith, which culminated in heresy. Newman’s idea of development, requires a magisterium in order to distinguish it from corruption.

Newman begins the Essay with a definition of development, pointing out that the real problem is how to distinguish true developments from corruptions and decays. He then goes on to a sweeping consideration of the growth and development of doctrine in the Catholic Church, from the time of the Apostles to his own era. He demonstrates the basic “rule” under which Christianity proceeded through the centuries is to be found in the principle of development, and emphasized that throughout the entire life of the Church this law of development has been in effect and safeguards the faith from any real corruption.

The Essay is divided into two parts, the first having to do with doctrinal developments in themselves, and the second with doctrinal development relative to doctrinal corruptions. Newman’s theory of the development of doctrine is based on his belief that it is characteristic of an important and vital idea to live in the mind that has received it and to become an active principle that leads to a number of self-reflections and applications of the idea to other ideas as they develop.

PART I

DOCTRINAL DEVELOPMENT VIEWED IN THEMSELVES

Chapter I: The Development of Ideas

1. On the process of development in ideas

Newman’s notion of the development of doctrine is actually closer to the historical view of faith. Catholic has never been a religion of static law and unchanging doctrine, established once and for all in the past and true for ever. Newman argues that the church’s inner life is like an idea that is continually clarified and expanded by development and growth. His profound historical sense led him realized that the more the Church grows, develops and changes, the more it becomes truly. He concludes with the famous statement: “Here below to live is to change, and to be perfect is to have changed often”.

Newman deemed doctrinal development the only hypothesis capable of explaining how Christianity could have remained faithful to its doctrinal patrimony. He conceded that Christianity has undergone many changes over the centuries, and confronts the problem of whether or not there has been any continuity of doctrine since the time of Jesus. He claims that for various reasons developments and variations in doctrine and worship have become necessary over the centuries. His main arguments are based:

1) on the universality of Christianity and the idea that its spread all over the world necessitated adaptations to local circumstances;

2) on the fact that questions have arisen over the centuries which Scripture does not solve. Newman maintained that Scripture was written on the principle of development. God himself secured doctrine from perversion and corruption.

2. On the kinds of development in ideas

Newman spoke about the development of ideas in various subject matters. He listed seven kinds of development: mathematical, physical, material, political, logical, ethical and metaphysical. A Christian idea is no less an idea because it is Christian. There is, accordingly, an antecedent argument in favor of the development of Christian ideas and therefore of Christian doctrine. There is need for an infallible guide to determine the direction of the development, but development there must be.

1) Mathematical developments, the system of truths drawn out from mathematical definitions or equations.

2) Physical developments, as the growth of animal or vegetable nature.

3) Material developments, which, though effected by human contrivance.

4) Political developments, in the growth of states of the changes of a constitution.

5) Logical developments, as in the Anglican doctrine of the Royal Supremacy.

6) Ethical developments, substituting what is congruous, desirable, pious, generous.

7) Metaphysical developments, a mere analysis of the idea contemplated.

Chapter II: The Antecedent Argument in behalf of Developments

In this chapter Newman expanded the hypothesis he had been slowly establishing. There we find three important categories:

1. The developments of doctrine to be expected;

Newman noted that the whole Bible is developmental in its message and moves from beginning to end in an increasing and growing revelation. For him, this was a powerful analogy, so much so that he could conclude that Christian doctrine admits of formal, legitimate and true developments, “developments contemplated by its Divine Author”.

2. An infallible developing authority to be expected;

Newman noted that the doctrine of infallibility of the Church is the power of deciding whether the theological or ethical statements are true. These come to us through the revelation, whereby God communicates himself to man, which we can see clearly in the authority of the Apostle, the infallibility of the Scripture and the infallibility of the Church of Rome.

Newman claimed that when we say that a person is infallible, we mean no more than that what he says is always true, always to be believe, and always to be done. We yield to the authority of the Church in the questions and developments of faith. For the Church is “the pillar and ground of the Truth”.

3. The existing developments of doctrine, the probable fulfillment of expectation:

The fact of Catholicism is accepted universally by those within as well as those outside the Christian fold. It is a fact with well-developed features, presenting itself as a coherently structured organism, which demands either total rejection or complete acceptance. Newman concluded that modern Catholicism is both one with the ancient Church of Alexandria and the genuine heir to the Church of St. Ambrose.

Chapter III: The Historical Argument in behalf of the existing Developments

1. Method of proof

Newman noted that certain doctrines came to us with the Apostles, and be expressed in the text of Scripture. The event which is the development is the interpretation of the prediction. He quoted Bishop Buller: “The truth of our religion, like the truth of common matters, is to be judge by all the evidence taken together.”

2. State of evidence

The true development ought to be found in the historic seats of Apostolic teaching and in the authoritative homes of immemorial tradition. According to Newman the Church, acting through Pope or Council as the oracle of heaven, has never contradicted her own enunciation.

Chapter IV: Instances in Illustration

1. Instances cursorily noticed

1) Canon of the New Testament

• Catholic and Protestant receive the New Testament as canonical and inspired, consists of 27 books.

2) Original Sin

• Newman remarked upon the historical fact that the recognition of original sin was the consequence of Adam’s fall.

3) Infant Baptism

• Newman referred to St. Chrysostom: “We baptized infants, though they are not defiled with sin, that they may receive sanctity, righteousness, adoption, heirship, brotherhood with Christ, and may become his members.”

• Infant baptism is a fundamental rule of Christian duty with us but in the fourth century, St. Gregory Nazianzen, St. Basil, and St. Augustine, having Christian mothers, still were not baptized till they were adults.

4) Communion in one kind

• Newman referred to the Council of Constance (15th century) that the sacrament of the Eucharist was received by the faithful under each kind, that is bread. Since it is most firmly to be believed that the whole Boby and Blood of Christ is truly contained as well under the kind of Bread as under the kind of Wine.

5) The HomoÜsion

• The teaching on the subject of Jesus’ consubstantiality and co-eternity with the Father, which confirmed in Nicene Creed.

2. Our Lord’s Incarnation, and the dignity of His Mother and of all Saints

Newman referred to the earlier Fathers spoke as if there were no medium interposed between the Creator and the creature, so they seemed to make the Eternal Son medium. In order to honor Christ, to defend the true doctrine of Incarnation, and to secure a right faith of the manhood of the Eternal Son, the council of Ephesus determined the Blessed Virgin to be the Mother of God.

Thus the title Theotokos was familiar to Christians from primitive time, and had been used among others writers, by Origen, Eusebius, St. Alexander, St. Athanasius, St. Ambrose, St. Gregory Nazianzen, St. Gregory Nyssan, and St. Nilus.

3. Papal Supremacy

Newman’s argument that the papacy was a true development of foundations present in the primitive Church. Newman granted that it is a theory, principally to connect the words and acts of the Ante-Nicene Church which forms their presumptive interpretation (Dev, 154). He contended that this “presumptive interpretation” grounded a strong case in favor of the Roman Catholic belief that the papacy is divinely instituted.

Newman claimed that an external authority, that is, the infallibility of the Church, is to be expected “to decide upon them, thereby separating them from the mass of mere human speculation, extravagance, corruption, and error, in and out of which they grow” (Dev., 78). It is in the authoritative seats and homes of old tradition, the Latin and Greek Churches.

PART II

Doctrinal Developments viewed Relatively to Doctrinal Corruptions

Chapter V: Developments contrasted with Corruptions

From the very outset Newman opposes the transformers’ view that Christianity is ever flux and accommodates itself to the times. For him it is axiomatic that the faith of the apostles must perdure. But in order to retain its vitality and ward off new errors, the living Church will sometimes have to articulate its faith in new ways. Granted that development must occur, it must still be asked whether the new formulations are in accord with the ancient faith. To respond to this difficult question he proposed seven tests or notes for authentic development.

Newman expected by the application of these tests to confirm that his hypothesis of development in fact showed the identity of the Roman Catholic Church of his day and the primitive Church. He hoped thereby to render acceptance of the Roman Catholic faith – precisely as the true representative of pristine Christian faith – inviting because reasonable.

1. PRESERVATION OF TYPE (Chapter VI)

Just as an adult keeps the same members and organs as the newborn child, so the Church and its teaching must always remain recognizably the same. If St. Athanasius or St. Ambrose were to come suddenly to life, what communion would they take to be their own? Newman noted that “unity of type…must not be pressed to the extent of denying all variation, may, considerable alteration of proportion and relation, as time goes on, in the parts or aspects of an idea”

A review of the history of the first ecumenical councils showed that precisely as Catholic bishops added to the creed against the objections of heretical parties, who claimed that by their refusal to sanction such development they remained more faithful to the primitive Church, the Catholic bishops in union with the pope preserved the true meaning of the scriptural formulate.

1) The Church of the First century

• Christianity and Magical Religions. Christianity should be first called a magical superstition by Suetonius, and then should be found in the intimate company, and seemingly the parent of a multitude of magical superstitions.

• Christianity as outlaw religion. The professors of low superstitions, of mysteries, of magic, of astrology, were the outlaws of society and the Romans applied this rule to religion.

2) The Church of the fourth century

• At this time the imperial government had become Christian, and heresies were put down by the arm of power, the face of Christendom presented as propagation of the religion.

• Palestine abounded in Origenists which may be called as a sect; Palestine, Egypt, and Arabia were overrun with Marcionists.

• The Church is one and everywhere; sects are many and everywhere. Thery are independent and discordant. Catholicity is the attribute of the Church, independency of sectaries.

• The Church is a kingdom; a heresy is a family and continually divides and sends out branches, founding new houses, and propagating itself in colonies, such as Simon Magus, Basilidians, Valentinians, and the whole family of Gnostics.

• Newman referred Lactantius that the Catholic Church alone which retains the true worship. It is the Body of Christ composed of many parts and members knit in one.

3) The Church of the fifth and sixth centuries

• Newman considered the mutual relation of Christianity and heresy under these circumstances.

(1) The Arians of the Gothic Race

- By the end of the fifth century the heresy had been established by the Vsigoths in France and Spain, in Portugal by Suevi, in Africa by the Vandals, and by the Ostrogoths in Italy.

- The Arian ascendency established through the extent of Italy and had a church even in Rome. The rule of Arianism lasted for eighty years in France, a hundred and eighty in Spain, a hundred in Africa and Italy.

- It is remarkable that the Catholics during these period were denoted by the additional title of “Romans.” I speak with the successor of the Fisherman and the disciple of the Cross.

(2) The Nestorians

- The Churches of Syria and Asia Minor were the most intellectual portion of early Christendom. Alexandria was one metropolis in a large region, but Syria was the place where arts and the schools of Greece had full opportunities of cultivation.

- Theodore was the principal teacher of the religion. Nestorianism lay in the ascription of a human as well as a Divine Personality to the Lord. There were two persons; it denied the “Mother of God” of Mary. They maintained that Mary was mother of the man Jesus, not of the Word.

(3) The Monophysites

- Eutyches was an abbot of a Monastery in the suburbs of Constantinople. He said that before the incarnation there were two natures, after their union one. He denied the human nature of Jesus: “I have never found in Scripture that there are two natures”

- The Monophysite heresy was established as Apostolic truth in the East from Macedonia to Egypt. The Council of Chalcedon was held to solve this controversy on 8th of October, 451 with a large number of Bishops and two Roman legates.

- In the second session of the Council of Chalcedon, the bishops cried out, “This is the faith of the Fathers; this is the faith of the Apostles: we all believe thus…Peter has thus spoken through Leo.” It is the faith of the Fathers; let it be set down that the Holy Mary is the Mother of God.

2. CONTINUITY OF PRINCIPLES (Chapter VII)

In order to preserve its type, the Church must stand by its foundational principles.

1) Principles of Christianity

• Newman lists nine such principles – the principle of development itself:1) The principle of dogma; 2) The principle of faith; 3) The principle of theology; 4) The sacramental principle; 5) The mystical sense of scripture; 6) The principle of grace; 7) The principle of asceticism; 8) The malignity of sin; 9) Matter’s capability of sanctification

• These principles, according to Newman, are the very instrument of development. This is a sense in which principles even claim priority over specific doctrines. If any of these principles were abandoned, Christianity itself would be mutilated.

2) Supremacy of Faith

• Newman referred to St. Thomas Aquinas: “it is necessary for man to receive as articles of Faith, not only the things which are above reason, but even those that for their certainty may be known by reason.” Anyway the natural reason is not sufficient to make man know things divine.

3) Theology

• The first step in theology is investigation

4) Scripture and its Mystical Interpretation

• Scripture may be said to be the medium in which the mind of the Church has energized and developed. All are found in Christ so that Christ is the proper subject of Canonical Scripture. Holy Scripture contains the beginnings of all theology.

5) Dogma

• The Fathers of Antioch wrote the Creed from Scripture, and have in the Catholic Church until this day by succession as preached by the Apostles who were eye-witnesses and ministers of the Word.

6) Additional Remark

• Newman observed that the continuity of principles down to this day in two distinct guarantees that the theological conclusions in accordance with the Divine Promise, true developments, and not corruptions of the revelation.

3. POWER OF ASSIMILATION (Chapter VIII)

As a healthy organism builds itself up by ingesting food, so the Church takes in what is assimilable in the cultures it meets, and transforms what it appropriates. The Church and its faith have matured by interaction with the great civilizations of Greece and Rome. From power of assimilation results “Catholic fullness”.

1) The assimilating power of Dogmatic Truth

• Newman noted that the principle of Dogmatism developed into Councils in the course of time. Councils and Popes are the guardians and instruments of the dogmatic principle.

2) The assimilating power of Sacramental Grace

• In the fourth century developments spread over the face of Christendom, with a rapidity characteristic of the Church; the one ascetic, the other ritual or ceremonial.

4. LOGICAL SEQUENCE (Chapter IX)

Logical sequence means a vague but general intellectual coherence. It is not the logical implication of the Scholastics, but merely harmony or congruity or naturalness. Time will tell the true import of a doctrine as implications unfold according to logic.

As instances of one doctrine leading to another Newman traced from the doctrine of baptism the development in sequence of pardons, penances, satisfactions purgatory, meritorious works and the monastic rule.

Certain truths, when believed and put into practice, are seen to imply other cognate truths. For example, the remission of sin in baptism calls for completion by a sacrament of forgiveness for post-baptismal sin. Newman’s term “logical sequence” is much broader in scope than formal inference of conclusions from premises, although Newman does not exclude deductive argument.

1) Pardons

• Three sins seemed to many, at least in the West, to be irremissible, idolatry, murder, and adultery.

• There is a controversy whether the Church had the means of pardoning sins committed after Baptism, which the Novatians denied. By the end of the third century, four degrees of penance were appointed, through which offenders had to pass in order to a reconciliation.

2) Penances

• “the crime of homicide was expiated by the penitence of twenty years…the murderer should have been excluded from the holy communion till the hour of his death.” (Gibbon)

3) Satisfactions

• It cannot be doubt that the Fathers considered penance as not a mere expression of contrition, but as an act done directly towards God and a means of averting His anger.

4) Purgatory

• Newman mentioned Clement of Alexandria about the necessary of the purifying, if it does not take place in this life, it must after death by a discriminating fire. It can be washed from all sin in martyrdom.

5) Meritorious Works

6) The Monastic Rule

• The penitential observances of individuals were necessary.

5. ANTICIPATION OF ITS OWN FUTURE (Chapter X)

Some doctrines that did not receive formal recognition until relatively late were foreshadowed by the beliefs and practice of Christians of an earlier time; for example, the veneration of relics of the martyrs as a prelude to the invocation of saints.

1) Resurrection and Relics

• Newman observed that from the doctrines concerning Christ’s work of redemption follow Catholic doctrines sometimes accused of being corruptions:

• “that of the resurrection of the bodies of His Saints, and of their future glorification with Him; next that of the sanctity of their relics; further, that of the merit of Virginity; and, lastly, that of the prerogatives of Mary, Mother of God”. All these doctrines are more or less developed in the Ante-Nicene period.

• Newman referred the writer who went under the name of St. Basil, “corpses were an abomination; when death is for Christ, the relics of Saint are precious. If any one shall touch a Martyr’s bones, by reason of the grace dwelling in the body, he receives some participation of his sanctity.”

• Origen even conjectures that “as we are redeemed by the precious blood of Jesus, so some are redeemed by the precious blood of the Martyrs.”

2) The Virgin Life

• St. Methodius speaks of the profession of Virginity as a vow. Chastity is a mighty vow beyond all vows.

• Tertullian speaks of being “married to Christ”. Origen speaks of “devoting one’s body to God” in chastity. St. Cyprian speaks of dedicating to Christ by virtuous chastity to the praise of continence. And Eusebius speaks of consecrating body and soul to a pure and all holy life.

3) Cultus of Saints and Angels

• Newman mentioned the Spanish Church supplies us with an anticipation of the later devotion to Saints and Angels. The Saints and Angels were objects of worship, their pictures would have been allowed.

4) Office of the Blessed Virgin

• Newman frequently uses the Church’s teaching about Mary. He does not argue from Scripture alone, but from Scripture read in the light of tradition. The early Fathers, beginning with Justin, depicted Mary as the “second Eve”, and this title becomes fundamental principle of Newman’s Mariology.

• In the Fathers, Newman concedes, we do not find a developed Marian doctrine, but Mary’s virginity is extolled an imitated as a means of union with God; she is seen as actively involved in the process of redemption and her medieval role as a patroness with clients is anticipated.

6. CONSERVATIVE ACTION ON ITS PAST (Chapter XI)

1) Instances cursorily noticed

• For Newman, the theory of development dovetails with the antecedent probability that there will be growth and development in divine truth communicated to this world. He contends that it is the best theory, being the “simplest, the most natural, the most persuasive.” It is clear that his aim was to solve a problem, that posed by the apparent discontinuity between the Church of the Apostles and contemporary Roman Catholicism.

• In Newman’s view a developed doctrine which reverses the course of development is no true development but a corruption. Genuine development involves addition or change which is in one sense real and perceptible, yet without loss or reversal of what has gone before, but, on the contrary, protective and confirmative of it.

• Recalling that a strict correspondence between the various members of a development, and those of the doctrine from which it is derived, is more than we have any right to expect, just as the bodily structure of a grown man is not merely that of a magnified boy, Newman held that nonetheless there is real preservation. Development is a process of protecting, not of superseding.

2) Devotion to the Blessed Virgin

• Newman takes cognizance of the Protestant objection that the cultus of Mary draws the minds and hearts of Christians away from the more fundamental truth of their relationship to Christ. He replies that the contrary is true. The title theotokos was bestowed on Mary.

• Because Mary is the Mother of God, the salvation of mankind is said to be given to her prayers.

7. CHRONIC VIGOR (Chapter XII)

A church that retains its youthful vigor in spite of its antiquity may be presumed to be authentic. Corruption by its very nature leads to stagnation and decay. Thus Newman pointed out: “The course of heresies is always short.”

When indeed they appear to contradict this rule, close observation will reveal that they do so only by vacillating between possibly contradictory ideas. Therefore Newman ventured to state that an attempt to dismiss the long standing peculiarly Catholic beliefs as corruptions would be to postulate a miracle indeed.

Newman concludes “The brightness of the Catholic and only true Church went forward and increasing.”

The Application of the Theory of Development

The International Theological Commission claimed in Interpretation of Dogmas (1990) that Newman’s notes constitute a criteriology for dogmatic development that is useful for the ongoing contemporary interpretation of dogmas. Newman was concerned primarily to confirm that the Roman Catholic Church as such could plausibly claim to embody authentic developments of doctrine.

The “notes” serve to dispel accusations that Roman Catholic doctrines are additions compromising the pristine apostolic deposit of faith. With the assistance of the “notes” one can defend the plausibility of distinctively Catholic doctrines. The “notes” have the important function of providing a check for a case constructed on other grounds. If one can employ the “notes” with a presumption of the truth of doctrinal development within the Church when one can uses them as Newman did.

Conclusion

The Essay was not written to prove the truth of Catholicism, but to answer an objection against Catholicism. Newman compared the first six centuries of the Church’s life to the contemporary Church and concluded that the Catholic Church emerged unscathed. It was for him the authentic re-composition of an original New Testament idea into fresh consistency and form. It was an attempt to explain both the fact of change in the Church and its direction as well, with the result that the Anglican Church was not the same as the Church of the first four centuries, but that the Roman Church was.

The thoughts of Newman were the subjects of the discussion and study of the Fathers of the Second Vatican Council, as for example the question of ecumenism, the relationship between Christianity and the world, the emphasis on the role of the laity in the Church and the relationship of the Church to non-Christian religions. The philosophical and theological thought and the spirituality of Newman, so deeply rooted in and enriched by Sacred Scripture and the teachings of the Fathers, still retain their particular originality and value.

The figure and teaching of the great Newman will continue to inspire an ever more effective fulfillment of the Church’s mission in the modern world, and that it will help to renew the spiritual life of her members and hasten the restoration of unity among all Christians. His thought speaks to us of deep intellectual honesty, fidelity to conscience and grace, piety and priestly zeal, devotion to Christ’s Church and love of her doctrine, unconditional trust in divine providence and absolute obedience to the will of God.

วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

สารวัดนาบัว, ปีที่ 1 ฉบับที่ 19

สารวัดพระคริสตประจักษ์ นาบัว
ปีที่ 1 ฉบับที่ 19, อาทิตย์ที่ 19 กันยายน ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553): http.//dondaniele.blogspot.com
บ้านนาบัว หมู่ที่ 2 ตำบลหนองแวงใต้ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร 47120. 086-231-3231

คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ (ซิสเตอร์ซาเลเซียน) พบเยาวชนหญิงที่วัดนาบัว
วันเสาร์ที่ 18 กันยายน 2010
สัปดาห์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

เป็นที่ทราบกันดีว่าทุกคนต้องการมีชีวิตที่ดี มีทรัพย์สินเงินทอง มีข้าวของเครื่องใช้อำนวยความสะดวก พบความสำเร็จในชีวิต และมีความสุขตามที่ปรารถนา สิ่งเหล่านี้คือพลังที่ผลักดันเราให้ถอยห่างจากพระเจ้า เราต้องการรับใช้พระเจ้า แต่ในเวลาเดียวกันเราก็ไม่ต้องการให้พระองค์เข้ามายุ่งเกี่ยวกับชีวิต อุปนิสัย และวิถีชีวิตที่เราคุ้นเคย

พระวรสารวันนี้ได้ให้แนวทางในการดำเนินชีวิตแก่เรา 2 แนวทาง เราจะต้องเป็นนายเหนือทรัพย์สินเงินทองและใช้มันเพื่อพระเจ้า หรือให้มันเป็นนายเรา จนทำให้เราหลงลืมพระเจ้า ให้เราเงียบสักครู่เพื่อพิจารณาดูว่า ชีวิตของเรายังคงสัตย์ซื้อต่อพระเจ้ามากน้อยแค่ไหน อะไรสำคัญที่สุดในชีวิตของเรา พระเจ้าหรือทรัพย์สินเงินทองภายนอก
ธ.ม.ธ. คือผู้ตอบรับความรักของพระคริสตเจ้า เป็นเครื่องหมายแห่งความเอื้ออาทรแก่เยาวชน

บทอ่านที่ 1: หนังสือประกาศกอาโมส อมส 8:4-7

อาโมสเป็นประกาศกผู้ยิ่งใหญ่เรื่องความยุติธรรมในสังคม อาโมสได้ชี้ให้เห็นภาพของผู้มีหน้าที่ทางศาสนา ที่เฝ้าคอยให้วันสัปบาโตพ้นไป เพื่อว่าเขาจะได้แสวงหาความร่ำรวยให้ตัวเองจากการค้าที่ฉ้อฉล อาโมสได้ตำหนิความเห็นแก่ตัวของคนรวยที่เอาเปรียบคนจน โดยอ้างพระดำรัสของพระยาเวห์ว่า “เราจะไม่ลืมการกระทำของเขาสักอย่างเดียวเลยตลอดไป”

บทอ่านที่ 2: จดหมายนักบุญเปาโล ถึงทิโมธี ฉบับที่หนึ่ง 1 ทธ 2:1-8

เปาโลได้ย้ำเตือนคริสตชนให้ภาวนาเพื่อกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีหน้าที่ในการบริการและรับใช้ผู้อื่น หรือผู้ปกครอง เพราะถ้าบรรดาผู้ปกครองมีชีวิตที่ดี ยุติธรรม และเปี่ยมด้วยความดี ประชาชนจะมีสันติสุข พระเจ้าทรงประสงค์ให้ทุกคนได้รอดและมีความสุข ดังนั้น เราจึงต้องหันมาหาพระเจ้าด้วยความวางใจ ภาวนา และขอบคุณพระองค์

พระวรสาร: นักบุญลูกา ลก 16:10-13

พระวรสารวันนี้พูดถึงคำอุปมาเรื่องผู้จัดการที่ฉ้อโกงและถูกนายจับได้ และเขาแก้ปัญหาด้วยการแก้บัญชีลูกหนี้ของนาย เพื่อตัวเองจะได้พึ่งพายามที่ถูกนายไล่ออก ลูกาได้ใช้กรณีนี้เพื่อเตือนเราให้รู้จักใช้เวลา โอกาส และทรัพย์สินที่เรามีอย่างถูกต้อง โปร่งใส ตรงไปตรงมา ซื้อสัตย์แม้ในเรื่องเล็กน้อย เพื่อคนอื่นจะได้เชื่อใจและวางใจเรา
ผู้ใหญ่ชาญชัย นาแว่น ผู้ใหญ่บ้านคนใหม่ของหมู่ที่ 11 นาบัวพัฒนา

ข่าวสารและประชาสัมพันธ์

1) ขอบคุณพี่น้องกลุ่มคริสตชนพื้นฐาน กลุ่มที่ 10 ที่ช่วยกันทำความสะอาดวัด กลุ่มที่รับผิดชอบอาทิตย์ต่อไปคือ กลุ่มที่ 11

2) ขอแสดงความยินดีกับผู้ใหญ่มานะ ปู่ธิรัตน์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 (นาบัว) และผู้ใหญ่ชาญชัย นาแว่น ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 11 (นาบัวพัฒนา) ที่ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านแบบไร้คู่แข่ง ขอพระเจ้าอวยพรในการทำหน้าที่รับใช้พี่น้องประชาชน

3) รายนามผู้บริจาคสมทบกองทุนบูรณะวัดไม้: (1) เงินขายข้าววัด จำนวน 30,000.- บาท, (2) ครอบครัวคุณประคอง ตระกูลสิงขร จำนวน 6,000.- บาท

4) วันจันทร์ที่ 20 กันยายนนี้ ขอเชิญสภาอภิบาลวัดและผู้นำหมู่บ้านทุกท่านเข้าร่วมประชุม ณ บ้านพักพระสงฆ์ เวลา 19.00 น.

5) วันเสาร์ที่ 25 กันยายนนี้ ขอเชิญผู้นำและตัวแทนกลุ่มคริสตชนพื้นฐาน ทั้ง 12 กลุ่มๆ ละ 3-5 คน เข้าร่วมสัมมนา “ชุมชนคริสตชนพื้นฐาน เขตตะวันตก” ที่วัดพระคริสตราชา ช้างมิ่ง เริ่มเวลา 08.30 น. ขอตัวแทนหนึ่งคนแบ่งปันประสบการณ์ด้วย

6) เงินทานวันเสาร์ ได้ 583.- บาท, เงินทานวันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน ได้ 6,145.- บาท; เงินทานวัดพระนามเยซู โพนสวาง ได้ 300.- บาท
ผู้ใหญ่มานะ ปู่ธิรัตน์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 นาบัว (สมัยที่ 2)

เงินตราและพระเจ้า

วันอาทิตย์ สัปดาห์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา ปี C
บทอ่านที่ 1: อมส 8:4-7
บทอ่านที่ 2: 1 ทธ 2:1-8
พระวรสาร: ลก 16:10-13
"การมี" ทรัพย์สมบัติไม่ใช่บาป แต่บาปเกิดจาก "การใช้” ต่างหาก

บทนำ

พระวรสารวันนี้พูดถึงคำอุปมาเรื่องผู้จัดการที่ทุจริตและถูกนายจับได้ เขาแก้ปัญหาด้วยการแก้บัญชีลูกหนี้ของนาย เพื่อตัวเองจะได้พึ่งพายามที่ถูกไล่ออก เป็นเรื่องธรรมดาที่บรรดาเศรษฐีหรือเจ้าของที่ดินในปาเลสไตน์จะแต่งตั้งผู้จัดการทำหน้าที่ดูแลทรัพย์สินและจัดการผลประโยชน์ทั้งหมดของตน ในแบบเดียวกับที่โยเซฟเป็นผู้จัดการให้โปตีฟาร์ที่มอบทุกอย่างให้โยเซฟดูแล (เทียบ ปฐก 39:6)

ชายที่พระเยซูเจ้าพูดถึงในคำอุปมามีอำนาจแบบนั้น แต่ต่างกันตรงที่โยเซฟเป็นคนซื่อสัตย์และมีคุณธรรมสูง ขณะที่ผู้จัดการคนนี้เป็นคนไม่ซื่อสัตย์ เขาฉ้อโกงเศรษฐีเจ้านายของตน เศรษฐีจึงเรียกมาไต่ถามและขอให้เขาส่งบัญชีทั้งหมด ไม่จ้างเขาอีกต่อไป ทำให้เขาตัดสินใจเรียกบรรดาลูกหนี้ทั้งหมดของนายมาและแก้บัญชีหนี้สินให้น้อยลง เพื่อให้เขาเป็นที่รักของบรรดาลูกหนี้ ที่ต้องนึกถึงบุญคุณและช่วยเหลือเขายามที่ถูกไล่ออกจากงาน นายจึงชมผู้จัดการไม่ซื่อคนนี้ที่แก้ปัญหาอย่างชาญฉลาด

คำอุปมาเรื่องนี้เป็นปัญหาสำหรับผู้อ่านจำนวมมาก ที่คิดว่าพระเยซูเจ้ากำลังชื่นชมความไม่ซื่อสัตย์ ของผู้จัดการอธรรม แต่ความจริงพระเยซูเจ้ากำลังชี้ให้เห็นความกล้าหาญและความฉลาดของเขา ที่รู้ว่าอะไรกำลังจะเกิดขึ้นและวางแผนรับมือกับมันในทันที เราจะต้องไม่ปล่อยเวลาและโอกาสให้ผ่านเลยไปโดยไม่ทำสิ่งดีใดๆ จะต้องไม่รอจนถึงวินาทีสุดท้ายถึงจะเชื่อและกลับใจมาหาพระเจ้า นี่คือสิ่งที่พระเยซูเจ้าต้องการจะบอกกับเรา พระองค์ไม่ทรงสนับสนุนการฉ้อโกงและความไม่ซื่อสัตย์แต่อย่างใด

1. ความยุติธรรมในสังคม

ในบริบทของพระวรสารวันนี้ เราแต่ละคนมีหน้าที่ในการบริหารจัดการสิ่งที่พระเจ้าทรงมอบให้เราดูแล เราไม่ใช่เจ้าของสิ่งต่างๆ ที่เรามีอยู่ ทุกสิ่งล้วนเป็นของพระเจ้าที่ทรงมอบให้เราดูแลชั่วคราว ณ ปัจจุบัน ในคำอุปมาพระเยซูเจ้าบอกให้เราเผชิญปัญหาด้วยความกล้าหาญ โดยเฉพาะในการช่วยเหลือคนยากจนและคนที่ต้องการความช่วยเหลือ “การมี” ทรัพย์สมบัติไม่ใช่บาป แต่บาปเกิดจาก “การใช้” ทรัพย์สมบัติของเราต่างหาก “ยิ่งเราเก็บรักษา เราจะสูญเสีย ยิ่งเราใช้ เราจะมีมากขึ้น ยิ่งเราให้มาก เราจะได้รับมาก”

ผู้จัดการที่ไม่ซื่อสัตย์เตือนเราถึงบางสิ่งที่ลึกซึ้งในธรรมเนียมคริสตชน นักบุญยอห์น คริสโซสตม กล่าวว่า “การไม่แบ่งปันสิ่งที่เรามีแก่คนยากจน ถือเป็นการขโมยและเบียดบังจากพวกเขา ทั้งนี้เพราะสิ่งที่เรามีไม่ใช่ของเราแต่เป็นของพวกเขา” เราจึงมีหน้าที่ต่อคนยากจนในการช่วยพวกเขาให้สามารถดำรงตนในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี บนพื้นฐานของความรักและความยุติธรรมที่พระเยซูเจ้าทรงสอน ศาสนาจะไม่มีความหมายหากไม่ตั้งอยู่บนความยุติธรรมและศีลธรรมอันดีงาม

ในบทอ่านแรก ประกาศกอาโมสได้ตำหนิผู้นำศาสนาและคนมั่งมีในสมัยของท่านอย่างรุนแรง เพราะพวกเขาหลอกลวงคนอื่นด้วยการโกงตาชั่งและเอารัดเอาเปรียบคนยากจนทุกรูปแบบ ประกาศกอาโมส เป็นประกาศกที่ต่อสู้เพื่อคนยากจนและความยุติธรรมในสังคมในสมัยนั้น ปัจจุบัน มีคนจนจำนวนมากที่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากคนที่ร่ำรวยกว่าอย่างทารุณ นี่คือ สิ่งที่เลวร้ายยิ่งกว่าในสมัยของอาโมสเสียอีก เราจะต้องไม่เป็นส่วนหนึ่งของความอยุติธรรมเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมและหมู่บ้านของเรา

“ท่านทั้งหลายจะปรนนิบัติรับใช้พระเจ้าและเงินทองพร้อมกันไม่ได้” (ลก 16:13)

2. เงินตราและพระเจ้า

ในพระวรสาร ลูกาให้ความสนใจอย่างมากถึงอันตรายของการเป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติในโลกนี้ ลูกาเป็นชาวเมืองอันติโอกซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่รุ่งเรืองสมัยนั้น ทำให้ลูกาได้เห็นผลกระทบที่เกิดจากความร่ำรวยของชาวเมือง ลูกาเตือนเราว่าสามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติได้ แต่จะต้องไม่ให้มันเป็นนายเหนือเรา ความคิดนี้แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดในคำอุปมาเรื่องคนมั่งมี ที่คิดจะสร้างยุ้งฉางใหญ่กว่าเดิมเพื่อเก็บพืชผลและทรัพย์สินของตน โดยไม่ทราบว่าจะต้องจบชีวิตไปอยู่ต่อหน้าพระเจ้า (ลก 12:16-20)

ทรัพย์สมบัติเป็นของประทานจากพระเจ้า เราไม่ใช่เจ้าของแต่เป็นผู้บริหารจัดการ แน่นอนว่าเงินทองเป็นสิ่งที่ดีในตัวเอง แต่จะกลายเป็นสิ่งที่อันตรายหากเราไม่ได้ใช้มันตามพระประสงค์ของพระเจ้า เราจึงต้องใช้มันอย่างชาญฉลาด คนชอบธรรมใช้ทรัพย์สินที่ตนมีเพื่อเลี้ยงคนหิวโหยให้อิ่มท้อง ให้น้ำแก่คนที่กำลังกระหาย ให้เครื่องนุ่งห่มแก่คนที่ไม่มีใส่ ให้การต้อนรับคนแปลกหน้า ไปเยี่ยมคนเจ็บป่วยและถูกจองจำ (มธ 25:31-45) นี่แหละจึงถือว่าเป็นการใช้ทรัพย์สมบัติอย่างถูกต้อง

เมื่อพระเยซูเจ้าบอกเราว่า “ท่านทั้งหลายจะปรนนิบัติรับใช้พระเจ้าและเงินทองพร้อมกันไม่ได้” (ลก 16:13) คล้ายกับว่าเราจะต้องเลือกระหว่างพระเจ้าหรือเงินตรา ความจริงพระเยซูเจ้าทรงเรียกร้องให้เรายืนยันว่า ความวางใจของเราอยู่ที่ไหน เงินทองและข้าวของต่างๆ สามารถตอบสนองพระประสงค์ของพระเจ้าได้ แต่ไม่สามารถแทนที่พระเจ้าได้ พระเจ้าจะต้องเป็นที่หนึ่งและสำคัญที่สุดในชีวิตของเรา

บทสรุป

พี่น้องที่รัก ในพระวรสารวันนี้ พระเยซูเจ้าทรงสอนเราให้มีความกล้าหาญที่จะปฏิบัติตามน้ำพระทัยของพระเจ้าในทุกสถานการณ์ ความใจกว้างของเราต่อคนจนและคนที่ต้องการความช่วยเหลือจะต้องแสดงออกในภายปฏิบัติ เราจะต้องวางใจและเชื่อมั่นพระเจ้าเหนือสิ่งอื่นใด และใช้ทรัพย์สมบัติที่เรามีในทางที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อนำเราไปหาพระเจ้าและเป็นหนึ่งเดียวกับเพื่อนพี่น้อง

พระเจ้าได้ประทานเวลาและโอกาสแก่เราแล้ว เราจึงต้องใช้อย่างชาญฉลาด จะต้องเป็นดังเมล็ดพันธุ์ดีที่เบ่งบานและเกิดผลทันทีที่มีผู้ปลูกและรดน้ำ เราจะต้องให้ความสำคัญกับสิ่งที่มีค่าสำหรับชีวิตนิรันดรเป็นลำดับแรก ใช้เวลา พรสวรรค์ และพลังทั้งหมดที่เรามีเพื่อรับใช้พระเจ้าและเพื่อนพี่น้อง พระวาจาของพระเจ้าวันนี้ตรงกับยุคสมัยของเรา “ผู้ที่ซื่อสัตย์ในเรื่องเล็กน้อย ก็จะซื่อสัตย์ในเรื่องใหญ่ด้วย ผู้ที่ไม่ซื่อสัตย์ในเรื่องเล็กน้อย ก็จะไม่ซื่อสัตย์ในเรื่องใหญ่ด้วย” (ลก 16:10)

หากเราทำตัวเองให้คนอื่นไม่ไว้วางใจเหมือนผู้จัดการที่ไม่ซื่อสัตย์ ก็จะไม่มีใครไว้ใจเราอีกเลย คุณธรรมที่พระเจ้าและมนุษย์ถือว่าสำคัญที่สุดคือ “ความซื่อสัตย์” ดังคติที่ว่า “ความซื่อสัตย์เป็นนโยบายที่ดีที่สุด” (Honesty is the best policy) ดังนั้น เราจึงต้องเป็นคนที่ซื่อสัตย์ โปร่งใส ตรงไปตรงมา แม้ในเรื่องเล็กน้อย เพื่อคนอื่นจะได้เชื่อใจและวางใจเรา สำนวนไทยที่ว่า “ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน” ยังเป็นจริงอยู่เสมอ

คุณพ่อขวัญ ถิ่นวัลย์
danielkhuan@hotmail.com
วัดพระคริสตประจักษ์ นาบัว
18 กันยายน 2010