วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

วัดป่าพนาวัลย์ (1)



วัดแม่พระแห่งภูเขาการ์แมล ป่าพนาวัลย์

เลขที่ 187 หมู่ที่ 5 ตำบลท่าแร่ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร  47230
บ้านป่าพนาวัลย์ เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของตำบลท่าแร่ ห่างจากท่าแร่ประมาณ 2 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินสายท่าแร่-ศรีสงคราม ตรงหลักกิโลเมตรที่ 2-3 จะเห็นซุ้มประตูทางเข้าหมู่บ้าน เดิมเป็นซุ้มประตูที่มีลักษณะแบบแคน เครื่องดนตรีพื้นเมืองของภาคอีสาน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบและป่าเบญจพรรณที่สมบูรณ์ เหมาะแก่การทำเกษตร เช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวน  ประชากรส่วนใหญ่เป็นคริสตชนที่ย้ายมาจากอาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล ท่าแร่
วันเสกเปิดวัด 22 พฤศจิกายน 1986 โดย พระอัครสังฆราชมีคาแอล เกี้ยน เสมอพิทักษ์
1.           ประวัติความเป็นมา
เดิมบริเวณบ้านป่าพนาวัลย์เป็นพื้นที่ป่าเบญจพรรณที่รกร้าง ประมาณ ค.. 1977 (.. 2520) นายผาง จากตระกูล “คำผาเยือง” พร้อมกับเพื่อนที่รักกันมากคือ นายอินทร์เขียน จากตระกูล “บือกุศล” และนายจันทร์ จากตระกูล “เดชทะศร” ทั้งหมดเป็นชาวท่าแร่ ได้พากันย้ายมาตั้งหลักแหล่งหักล้างถางพงเพื่อทำไร่ ทำนา และทำสวน ต่อมาได้มีสมาชิกจากตระกูล “บุตรดีด้วง” ตระกูล “ขำคำ” และตระกูลอื่นๆ หลายครอบครัวเข้ามาอาศัยเพิ่มจำนวนเป็น 60 คน จนกลายเป็นชุมชนย่อยๆ
ประมาณเดือนมิถุนายนหรือกรกฎาคม ปี ค.. 1985 (.. 2528) หลังการสมโภชปัสกา (7 เมษายน ค.ศ. 1985) นายเกิด บุตรดีด้วง ผู้อาวุโสคนหนึ่งของชุมชนใหม่นี้ได้ไปพบ พระอัครสังฆราชมีคาแอล เกี้ยน   เสมอพิทักษ์ อดีตประมุขอัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง ที่พ้นจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระคริสตราชาช้างมิ่ง ตำบลช้างมิ่ง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์คาทอลิกท่าแร่ เพื่อปรึกษาถึงความเป็นไปได้ในการสร้างวัดในชุมชนใหม่นี้
พระอัครสังฆราชมีคาแอล เกี้ยน เสมอพิทักษ์ ได้ไปสำรวจชุมชนใหม่นี้ เห็นถึงความเหมาะสมและความเป็นไปได้ จึงได้เสนอเรื่องการสร้างวัดให้อัครสังฆมณฑลฯพิจารณา  เพื่อจะได้มีวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชนในการประกอบพิธกรรมและเป็นสถานที่ฟื้นฟูจิตใจ (เข้าเงียบ) เมื่อได้รับการพิจารณาเห็นชอบให้ดำเนินการตามโครงการ โดยวัดใหม่นี้มีฐานะเป็นวัดน้อยขึ้นกับอาสนวิหารอัครเทวดามีคาเอลท่าแร่ มอบให้ พระอัครสังฆราชมีคาแอล เกี้ยน เสมอพิทักษ์ เจ้าของโครงการเป็นผู้ดำเนินการและผู้ดูแล
นายช่างสมัย บือกุศล กับพระอัครสังฆราชมีคาแอล เกี้ยน เสมอพิทักษ์
วัดใหม่เริ่มทำการก่อสร้างตามโครงการ ด้วยงบประมาณที่ได้รับการบริจาคและสนับสนุนจาก คุณวัลลี บูรณพันธ์ คุณบุษบา กิจพานิช คุณพ่อนัลลี อารามการ์แมลแห่งกรุงเทพฯ พี่น้องคริสตชนชาวท่าแร่ และผู้มีน้ำใจดีทั้งในและต่างประเทศ โดยมีนายช่าง สมัย  บือกุศล ชาวท่าแร่เป็นผู้รับเหมาการก่อสร้าง บนเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่เศษซึ่งเป็นที่ดินที่ นายเกิด บุตรดีด้วง บริจาคจำนวน 4 ไร่ และพระอัครสังฆราชมีคาแอล เกี้ยน เสมอพิทักษ์ ได้ซื้อเพิ่มเติมจาก นายเกิด บุตรดีด้วง อีกประมาณ 6 ไร่ เป็นเงิน 18,000.- บาท
ด้านหน้าวัดได้สร้างวัดภูเขาการ์แมลจำลอง มีลักษณะเป็นถ้ำประดิษฐานแม่พระแห่งภูเขาการ์แมล ระหว่างวัดถึงภูเขาจำลองมีลักษณะเป็นลานกว้าง ตามแนวคู่ขนานกับถนนได้ทำเป็นมรรคาศักดิ์สิทธิ์ ด้วยการสร้างรูปปั้นหินขัดตามข้อรำพึงมหาทรมานของพระเยซูเจ้าตั้งแต่ภาคที่ 1 ถึงภาคที่ 14  รูปปั้นงานเลี้ยงอาหารค่ำมื้อสุดท้ายและรูปปั้นจำลองการกลับคืนชีพของพระเยซูเจ้า อีกทั้งได้สร้างบ้านพักหลังเล็กๆ 4 หลัง ที่เรียกว่า อาศรม สำหรับเป็นที่พักของผู้มาเข้าเงียบฟื้นฟูจิตใจ
นอกจากนั้นยังได้สร้างบ้านพักคนงานและหอระฆัง  ส่วนบริเวณพื้นที่นอกเหนือจากการก่อสร้างได้ปล่อยให้ต้นไม้น้อยใหญ่ขึ้นตามธรรมชาติ เพื่อเป็นป่าตามความตั้งใจที่จะให้เป็นวัดป่า เพื่ออนุรักษ์ป่าผืนนี้ไว้ สถานที่แห่งนี้จึงถูกเรียกจนติดปากว่า วัดสวนป่าพนาวัลย์ ต่อมาเมื่อจำนวนชุมชนได้ขยายเพิ่มมากขึ้นและได้รับการยกฐานะเป็นหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 ของตำบลท่าแร่ ประชาคมหมู่บ้านได้ใช้ชื่อ “บ้านป่าพนาวัลย์” ชุมชนวัดแห่งนี้จึงเรียกชื่อวัดตามชื่อหมู่บ้านตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ภาพภายในวัดเมื่อแรกสร้างเสร็จ 22 พฤศจิกายน 1986
ประมาณเดือนตุลาคม ค.. 1986 (.. 2529) การก่อสร้างตามโครงการจึงสำเร็จลง ใช้เวลาประมาณ 1 ปีเศษ พระอัครสังฆราชมีคาแอล เกี้ยน เสมอพิทักษ์ เจ้าของโครงการและผู้ดูแลได้ทำพิธีเสกและเปิดวัดน้อยหลังใหม่ที่ให้ชื่อว่า วัดแม่พระแห่งภูเขาการ์แมล สวนป่าพนาวัลย์ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.. 1986 (.. 2529) ท่ามกลางคณะสงฆ์ สัตบุรุษจากวัดต่างๆ เป็นจำนวนมาก 
ต่อมาในปี ค.. 1988 (.. 2531) พระอัครสังฆราชมีคาแอล เกี้ยน เสมอพิทักษ์ ได้สร้างอาคาร 2 ชั้น อยู่ทางทิศตะวันออกของวัด ในที่ดินแปลงใหม่เนื้อที่ราว 9 ไร่เศษ โดยให้ชื่ออาคารว่า พระวิสุทธิวงศ์ เพื่อใช้เป็นศูนย์ฝึกอบรมและฟื้นฟูจิตใจแบบหมู่คณะ มีโรงอาหาร บ้านพักหนึ่งหลัง ถังเก็บน้ำฝนขนาดใหญ่และห้องน้ำ 6 ห้อง พร้อมกับทำหน้าที่ดูแลจนกระทั่งเดือนสิงหาคม ค.. 1996 (.. 2539) ได้ล้มป่วยเป็นอัมพาตไม่สามารถทำหน้าที่ได้ คุณพ่อยอแซฟ ตรรกวิทย์  เวียรชัย ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลแทน พร้อมกับจัดตั้งสภาอภิบาลวัดชุดแรกขึ้นมาเพื่อช่วยงานตามระเบียบการปกครองวัด
หลักการสมโภชปัสกา วันที่ 12 เมษายน  .. 1998 (.. 2541) มีการโยกย้ายตามวาระ คุณพ่อยอห์น บัปติสต์ พรทวี   โสรินทร์ อธิการบ้านพักสงฆ์ชรา-อาพาธท่าแร่ ได้เป็นผู้ดูแลเป็นองค์ที่ 3 โดยเข้ารับหน้าที่วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม ค.. 1998 (.. 2541)   พร้อมกับทำการสำรวจประชากรของบ้านป่าพนาวัลย์ โดยความช่วยเหลือของ ครูยินดี  พลากุล  เลขานุการสภาอภิบาลวัด และพบว่าบ้านป่าพนาวัลย์มี 144 ครอบครัว  ประชากรประมาณ 375 คน เป็นผู้นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก คิดเป็น 95 %
คุณพ่อยอห์นบัปติสต์ พรทวี โสรินทร์ ผู้ดูแลคนที่ 3 กับชาวบ้านป่าพนาวัลย์ ปี ค.ศ. 1998
วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม ค.. 1998 (.. 2541) คุณพ่อยอห์น บัปติสต์ พรทวี โสรินทร์ ได้แนะนำการภาวนาพระเมตตา และขยายเป็นวงกว้างออกไปจนมีการภาวนาพระเมตตาก่อนมิสซาในวันอาทิตย์ทุกอาทิตย์  ต่อมาได้จัดพิธีคารวกิจถวายเกียรติแด่แม่พระโอกาสปิดเดือนแม่พระ และถือเป็นวันมงคลสำหรับเสกหมู่บ้านเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.. 1998 (.. 2541) โดยการแห่อย่างสง่าจากศูนย์ฝึกอบรมพระวิสุทธิวงศ์ไปยังวัด
เดือนตุลาคม ค.. 2000 (.. 2543) อัครสังฆมณฑลฯ ได้มอบวัดป่าพนาวัลย์ให้อยู่ในความดูแลของอาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอลท่าแร่  โดยมีพระสงฆ์ผู้ช่วยเจ้าอาวาสมาทำหน้าที่ดูแลตามลำดับ ในช่วงนี้เอง คุณพ่ออันดรูว์ สำราญ วงศ์เสงี่ยม เจ้าอาวาสอาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอลท่าแร่ ได้สร้างอนุสาวรีย์พระอัครสังฆราชมีคาแอล เกี้ยน เสมอพิทักษ์ ขึ้น เพื่อเป็นการน้อมรำลึกพระคุณที่ได้บุกเบิกและก่อตั้งชุมชนวัดป่าพนาวัลย์ ก่อนที่คุณพ่อยอห์น บันลือ เกียรติธาตรีจะได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสในช่วงปี ค.ศ. 2003-2008 (พ.ศ. 2546-2551) นับเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกที่พักประจำที่วัดป่าพนาวัลย์
อนุสาวรีย์พระอัครสังฆราชมีคาแอล เกี้ยน เสมอพิทักษ์ ในปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น