2.
60 ปีสามเณราลัยฟาติมา
ท่าแร่: ค.ศ. 1954-2014
สามเณราลัยฟาติมา ท่าแร่ ถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1954 (พ.ศ. 2497)
นับเนื่องถึงปัจจุบันจะมีอายุครบ 60 ปีพอดี หากเทียบเคียงกับชีวิตคน 60 ปีคือคนวัยเกษียร ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวและประสบการณ์หลากหลายรูปแบบทั้งสุขและทุกข์
ที่หลอมรวมกันทำให้แข็งแกร่งและพร้อมสำหรับการเป็นเสาหลักของบุตรหลานและสังคมต่อไป
สามเณราลัยฟาติมา ท่าแร่ ในปัจจุบันดูจะไม่ต่างกันเท่าไรนัก เรื่องราวและเหตุการณ์มากมายในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา
สะท้อนให้เห็นความก้าวหน้าและการเติบโตอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็น “หัวใจ” ของพระศาสนจักรภาคอีสานในระยะเริ่มแรก และอัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสงในปัจจุบัน
60 ปีที่ผ่านมาของสามเณราลัยฟาติมา
ท่าแร่ จึงเป็น 60 ปีแห่งพระพรอันล้ำค่าที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับหลายชีวิต
ตั้งแต่พระสังฆราช ผู้ให้การอบรม ผู้รับการอบรม บรรดาคริสตชน และทุกสิ่งที่ประกอบกันขึ้นเป็นสามเณราลัยแห่งนี้
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่บทบาทอย่างมากในก้าวย่างที่มั่นคงนี้คือ บรรดาอธิการ รวม 14 องค์ ดังจะกล่าวถึงต่อไปนี้
2.1
คุณพ่อยอแซฟ
อินทร์ นารินรักษ์: อธิการองค์แรก ค.ศ. 1954-1955
ปี ค.ศ. 1948 (พ.ศ. 2491) พระสังฆราชเกลาดิอุส บาเย ได้ส่งรายงานแจ้งจุดประสงค์ที่จะสร้างอาคารที่พักสามเณรหลังใหม่ในที่ดินของมิสซังทางฝั่งตะวันตกของบ้านท่าแร่ พระสันตะปาปาปีโอที่ 12 ได้อนุมัติเงินอุดหนุนการก่อสร้างผ่านทางองค์การนักบุญเปโตร เป็นเงินจำนวน
50,000.- ดอลลาร์สหรัฐ
โดยจ่ายให้ปีละ 10,000.- ดอลลาร์ เป็นเวลา 5 ปี เริ่มจ่ายในปี
ค.ศ. 1950 (พ.ศ.
2493)
ปี ค.ศ. 1949 (พ.ศ. 2492) คุณพ่อยอแซฟ อินทร์ นารินรักษ์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นอธิการสามเณราลัยและรับผิดชอบการก่อสร้าง
ซึ่งเริ่มขึ้นอย่างจริงจังหลังพิธีวางศิลาฤกษ์โดย พระสังฆราชเกลาดิอุส บาเย
เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1952
(พ.ศ. 2495) และบรรดาคริสตชนจากหลายวัดได้บริจาคเพื่อการก่อสร้างด้วยใจกว้าง
จนกระทั่งแล้วเสร็จ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ สูง 3 ชั้น สร้างด้วยวัสดุที่พอจะหาได้ในท้องถิ่นอีสาน
แต่ต้องถือว่าทันสมัยมากในสมัยนั้น
พิธีเสกสามเณราลัยแห่งใหม่เริ่มขึ้นในเช้าวันที่
13 ตุลาคม ค.ศ. 1954 (พ.ศ. 2497) โดยพระสังฆราชมีแชล
มงคล (อ่อน) ประคองจิต ประมุของค์ใหม่ของมิสซังท่าแร่ เป็นประธานในพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ และได้ถวายสามเณราลัยแห่งนี้แด่พระมารดาแห่งฟาติมา
สามเณราลัยแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า “สามเณราลัยฟาติมา” หลังจากนั้นพระสังฆราชเกลาดิอุส
บาเย ได้เป็นผู้เสกอาคารใหม่
ในฐานะที่เป็นผู้ริเริ่มและมีส่วนสำคัญในการก่อสร้างตั้งแต่เริ่มแรก สามเณราลัยแห่งนี้ได้ใช้เป็นที่อบรมบรรดาสามเณรทั่วภาคอีสานเรื่อยมา
รวมถึงสังฆมณฑลเชียงใหม่ด้วยในระยะเริ่มแรก
เพื่อให้สามเณรได้รับการศึกษาเล่าเรียนอย่างเต็มที่จึงได้ยื่นขออนุญาตเปิดสามเณราลัยฟาติมา
ท่าแร่ เป็นโรงเรียนชื่อ “โรงเรียนวรธรรมพิทยาคาร” ในปี ค.ศ. 1955 (พ.ศ. 2498) ดังนั้น
สามเณรที่เข้าใหม่ในปีนั้นจนถึงชั้นมัธยมปีที่ 3 ได้เรียนที่โรงเรียนวรธรรมพิทยาคาร
โดยมีพระสงฆ์คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (M.E.P.) ได้แก่
คุณพ่อหลุยส์ เลอดึก, คุณพ่อยัง ยักเกอแมง, คุณพ่อแยร์แมง แบร์ทอลด์ และคุณพ่อโมริส บริสซอง และครูฆราวาสเป็นผู้สอน ส่วนชั้นมัธยมปีที่ 4-6 ยังคงเดินไปเรียนที่โรงเรียนเซนต์ยอแซฟตามเดิม
2.2
คุณพ่อโมริส บริสซอง:
อธิการองค์ที่ 2 ค.ศ. 1955-1958
คุณพ่อโมริส บริสซอง เข้ามาประจำที่สามเณราลัยตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1954 (พ.ศ. 2497) ปลายเดือนตุลาคม ค.ศ. 1955 (พ.ศ. 2498) จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นอธิการองค์ที่
2 ตามนโยบายของ พระสังฆราชมีแชล มงคล ประคองจิต
ที่ต้องการให้พระสงฆ์คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสดูแลสามเณราลัย เพื่อจัดระเบียบและวางรากฐานทางการศึกษาให้ก้าวหน้า หลังรับตำแหน่งอธิการ คุณพ่อบริสซอง ได้ปรับเปลี่ยนหลายอย่างโดยเฉพาะเรื่องระเบียบวินัยและการศึกษา
ปี ค.ศ.1956 (พ.ศ. 2499) คุณพ่อบริสซอง ได้ส่งสามเณร 2 คน คือ สามเณรพิชิต ศรีอ่อน
และสามเณรวาท อินทนาม
ไปเรียนวิชาปรัชญาที่สามเณราลัยบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ของมิสซังราชบุรี เนื่องจากปีต่อมาสามเณรชั้นมัธยมปีที่ 5-6 มีน้อย จึงได้ส่งสามเณรรวม 6 คนไปเรียนที่โรงเรียนดรุณานุเคราะห์
อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
ปี ค.ศ. 1958 (พ.ศ. 2501) ได้มีการเปลี่ยนแปลงครูใหญ่จากครูบุญถม หงษ์ทอง เป็นครูนารถ มุขยวงศ์
พร้อมทั้งได้บรรจุสามเณรรุ่นพี่เป็นครูโรงเรียนราษฎร์ตามกฎหมาย สอนตามความถนัดของแต่ละคน โดยจัดให้ครูเหล่านี้สอนเรียนในภาคเช้า
ส่วนภาคบ่ายให้เรียนวิชาภาษาลาติน, ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส สามเณรทุกรุ่นหลังเรียนจบจะได้รับการบรรจุเป็นครูหรือลาตินิสต์
(Latinist) เพื่อช่วยสอนสามเณรรุ่นน้องอีกอย่างน้อย 2-4 ปี
2.3
คุณพ่อยัง
ยักเกอแมง: อธิการองค์ที่ 3 ค.ศ. 1958-1965
คุณพ่อยัง ยักเกอแมง เข้ามาเป็นพระสงฆ์ประจำสามเณราลัยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1954 (พ.ศ. 2497) เดือนพฤศจิกายน
ค.ศ. 1958 (พ.ศ. 2501)
ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการองค์ที่ 3 กิจการของโรงเรียนวรธรรมพิทยาคารในขณะนั้นก้าวหน้าเป็นอย่างมาก
เพราะความเอาใจใส่และร่วมแรงร่วมใจของคณะสงฆ์ผู้ร่วมงาน บรรดาครูฆราวาส ครูเณร
ที่ได้ช่วยกันปรับปรุงกิจกรรมต่างๆ ทุกด้าน ทำให้กิจการของโรงเรียนเจริญรุดหน้าและประสบผลสำเร็จ
ผลการเรียนของนักเรียนทุกคนจัดอยู่ในระดับแนวหน้าของโรงเรียนในสังกัดเขตการศึกษา 9
ปี ค.ศ. 1963 (พ.ศ. 2506) เมื่อจำนวนสามเณรเพิ่มมากขึ้น ได้มีการสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
สูง 3 ชั้นต่อจากอาคารเดิมไปทางทิศตะวันตก เพื่อใช้เป็นวัด ห้องเรียน
ห้องพักพระสงฆ์ และห้องนอนสำหรับสามเณรใหญ่ จนกระทั่งการก่อสร้างแล้วเสร็จ มีพิธีเสกและเปิดโอกาสฉลองสามเณราลัยโดย พระสังฆราชมีคาแอล
เกี้ยน เสมอพิทักษ์ พร้อมกับให้ชื่ออาคารใหม่นี้ว่า
“อาคารนาซาแร็ธ”
ปี ค.ศ. 1964 (พ.ศ. 2507) คุณพ่อยักเกอแมงได้สร้างถังเก็บน้ำใต้ดินขนาดใหญ่
3 ถังเพื่อเก็บน้ำฝนไว้ดื่มตลอดปี และปรับปรุงอาคารฟาติมาเดิม โดยต่อเติมระเบียงด้านหน้าของชั้นที่สองและสามเป็นบานเกล็ด
ติดตั้งเหล็กดัดและมุ้งลวดในชั้นที่สามเพื่อขยายห้องนอนทั้งสองห้องให้กว้างขึ้นให้สามารถรองรับจำนวนเณรได้มากขึ้น
ภาพคนที่ยืนอ่าน"คำอำลา"นั้นเป็นนายสมบัติ ถาวร ในวันที่ ๑๗ ตุลา ๒๕๐๘ ในเย็นวันอำลาท่านอธิการจักแมง ผู้หมดหน้าที่อธิการและส่งต่อหน้าที่อธิการให้พ่อกิลแมง อธิการท่านต่อ
ตอบลบ(คำอธิบายที่ประกอบภาพที่พ่อขวัญ ถิ่นวัลย์ให้ไว้ในหนังสือ ๖๐ ปีบ้านเณรฟาติมา ท่าแร่นั้นไม่ถูกนะครับ