1.5 การเบียดเบียนศาสนา
ปลายปี ค.ศ. 1940 (พ.ศ. 2483) บรรยากาศทางการเมืองในประเทศไทยดูขุ่นมัวไปทั่ว
และได้เกิดสถานการณ์แห่งความยากลำบาก
รัฐบาลไทยได้เสนอให้รัฐบาลฝรั่งเศสปรับปรุงเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับอินโดจีนเสียใหม่
เพราะดินแดนที่ไทยเสียไปตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ยังปักหลักเขตแดนไม่เรียบร้อย
แต่รัฐบาลฝรั่งเศสปฏิเสธและนำไปสู่การใช้กำลังเข้าตัดสินปัญหาที่เรียกว่า “กรณีพิพาทอินโดจีน” หรือ “สงครามอินโดจีน” และยุติลงตอนต้นปี ค.ศ. 1941 (พ.ศ. 2484) โดยการไกล่เกลี่ยของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งปลายปีนั้นเองญี่ปุ่นได้เปิดฉากสงครามเอเชียบูรพากับฝ่ายสัมพันธมิตรและบังคับให้ประเทศไทยเข้าร่วม
ความเคียดแค้นต่อประเทศฝรั่งเศส
อันเนื่องจากการใช้อำนาจยึดดินแดนบางส่วนของประเทศไทยไป
ประกอบกับการที่บาทหลวงตามวัดส่วนใหญ่เป็นชาวฝรั่งเศสทำให้ชาวไทยคิดรวมไปว่า
คริสตศาสนาเป็นศาสนาของฝรั่งเศสจึงเริ่มมีการต่อต้านเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ 1940
(พ.ศ. 2483) วิทยุกระจายเสียงกรมประชาสัมพันธ์
กรุงเทพฯ ได้ประกาศให้ชาวฝรั่งเศสทุกคนออกจากประเทศไทยภายใน 48 ชั่วโมง วันรุ่งขึ้นสังฆราชแกวง และพระสงฆ์ฝรั่งเศสถูกจับและส่งตัวออกจากประเทศไทยโดยข้ามแม่น้ำโขงไปประเทศลาว
วันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1941 (พ.ศ. 2484) ประเทศไทยได้ประกาศสงครามกับอินโดจีนของฝรั่งเศส ภาวะสงครามดังกล่าวทำให้รัฐบาลไทยภายใต้การนำของจอมพล
ป. พิบูลสงคราม ประกาศกฎอัยการศึกในเขตจังหวัดชายแดน
24 จังหวัด ยังผลให้เกิดการเบียดเบียนคริสตศาสนาอย่างรุนแรงเพราะเข้าใจว่าเป็นแนวร่วมของฝรั่งเศส
วัดวาอารามถูกปิดหมดและถูกรื้อทำลาย
บ้านพักพระสงฆ์ถูกใช้เป็นที่จำวัดของพระภิกษุหรือที่พักราชการ
ศาสนภัณฑ์และของมีค่าของวัดตามที่ต่างๆ ถูกริบและทำลาย คริสตชนถูกห้ามปฏิบัติศาสนา
ถูกข่มขู่และถูกบังคับให้เลิกนับถือศาสนา ใครไม่ทำตามจะได้รับโทษด้วยการขังคุกหรือถูกฆ่าตาย
เช่นที่บ้านสองคอน
ส่วนที่บ้านนาบัว นายอำเภอวานรนิวาสได้สั่งให้นายหนู
กำนันตำบลวานร พร้อมนายแดง จันทโร ปลัดอำเภอ ออกมาประชุมชาวบ้านที่บ้านของครูใหญ่โรงเรียนบ้านนาบัว
ชี้แจงและข่มขู่ให้ชาวนาบัวละทิ้งศาสนา โดยให้เหตุผลว่า
เราเป็นคนไทยต้องรักชาติด้วยการนับถือศาสนาพุทธ อันเป็นศาสนาประจำชาติ
ไม่ควรรับเอาศาสนาอื่นที่ฝรั่งนำมา ไม่ควรนับถือตามอย่างฝรั่งหรือเชื่อตามที่ฝรั่งสั่งสอน
เพราะศาสนาฝรั่งไม่เหมาะกับคนไทย ใครที่ฝ่าฝืนจะถูกจับกุมและลงโทษอย่างรุนแรง
คุณพ่อยอห์นบัปติสต์ แท่ง ยวงบัตรี อดีตเจ้าอาวาสช่วงเบียดเบียนศาสนา
ไม่นานหลังจากนั้นทางอำเภอได้สั่งปิดวัด
ห้ามชาวนาบัวเข้าวัดและปฏิบัติศาสนา แต่ไม่สามารถปิดกั้นหัวใจของชาวนาบัวที่มั่นคงในความเชื่อได้
ทางอำเภอจึงได้ยึดวัดอันเป็นศูนย์กลางและสัญลักษณ์ทางความเชื่อของชาวนาบัว ทำลายไม้กางเขนและรูปศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ
ทำเป็นวัดพุทธ โดยตั้งชื่อว่า “วัดพุทธสัมพันธ์วงศ์” ใช้บ้านพักพระสงฆ์ของคุณพ่อแท่งเป็นกุฏิ
มีหลวงพ่อหมีจากบ้านหัวนามาจำวัด ทุกเช้าหลวงพ่อหมีจะออกบินทบาตรรอบหมู่บ้าน
แต่มีเพียงสองสามคนที่ใส่บาตรทำให้ไม่พอฉันท์ จนหลวงพ่อหมีถึงกับบ่นว่า “กิ๋นแจ่วจนแสบไส้
อยู่ได้ย้อนกินแตงโมแม่ออกโกก”
ในคืนวันหนึ่งได้เกิดฝนตกหนัก
ฟ้าคะนองอย่างรุนแรง และได้เกิดฟ้าผ่าเปรี้ยงลงกลางเสาบ้านพักตรงบริเวณที่นอนของหลวงพ่อหมี
โชคดีที่หลวงพ่อหมีไม่อยู่ เดินทางไปเยี่ยมอีกวัดหนึ่งและพักค้างคืนที่นั่น
เมื่อหลวงพ่อหมีกลับมาและทราบข่าวจึงเกิดความหวาดกลัว เหตุการณ์นี้คงเป็นลางบอกเหตุไม่ดี
จึงได้ออกจากวัดไปตั้งแต่วันนั้น
ต่อมามีพระภิกษุอีกหลายรูปเดินทางผ่านมาแวะพักบ้าง แต่ไม่มีใครกล้าจำวัด
คุณพ่อเปาโล ศรีนวล ศรีวรกุล อุปสังฆราชและผู้ดูแลมิสซัง
ปี ค.ศ. 1943 (พ.ศ. 2488)
เมฆหมอกแห่งสงครามได้จางลง สันติสุขได้บังเกิดขึ้นที่นาบัวอีกครั้ง คุณพ่อแท่งถูกปล่อยตัวจากที่คุมขัง
คุณพ่อศรีนวล ศรีวรกุล อุปสังฆราชและผู้ดูแลมิสซังพร้อมกับคุณพ่อแท่งได้กลับมาเปิดวัดใหม่ที่นาบัวอีกครั้ง
ชาวนาบัวหลังทราบข่าวต่างตื่นเต้นดีใจ ยิ้มแย้มแจ่มใส
ออกมารวมตัวกันต้อนรับคุณพ่อทั้งสองที่วัดอย่างล้นหลาม
และเฉลิมฉลองอิสรภาพในการปฏิบัติศาสนาที่ตนเคารพนับถือ เชื่อศรัทธาและหวงแหนประดุจชีวิตด้วยความชื่นชมยินดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น