วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2558

130 ปี คริสตชุมชนท่าแร่




130 ปี คริสตชุมชนท่าแร่
(ค.ศ. 1884-2014)
           ท่าแร่ หรือ ท่าแฮ่ ชื่อนี้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปในฐานะที่เป็นหมู่บ้านคาทอลิกที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย เป็นหมู่บ้านริมหนองหาร บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22 สายอุดรธานี-นครพนม หลักกิโลเมตรที่ 169-170 ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเมืองสกลนคร ห่างจากตัวเมืองโดยทางรถยนต์ประมาณ 21 กิโลเมตร และประมาณ 6 กิโลเมตรโดยทางน้ำ สามารถมองเห็นกันได้เวลาอากาศปลอดโปร่ง 
หมู่บ้านท่าแร่มีฐานะเป็นตำบล และปัจจุบันได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาล มีประชากรกว่าหนึ่งหมื่นห้าพันคน มีประวัติความเป็นมายาวนานและธรรมเนียมประเพณีหลากหลาย ที่แสดงออกถึงความเชื่อในคริสตศาสนา ที่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น นอกเหนือไปจากมีอาคารบ้านเรือนแบบฝรั่งเศสที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ และการจัดวางผังหมู่บ้านที่เป็นระเบียบสวยงาม ท่าแร่ยังมีวิถีชีวิตที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ทำให้เป็นที่รู้จักระดับประเทศ เช่น ประเพณีแห่ดาว
ในโอกาสแห่งความชื่นชมยินดี ที่ชุมชนท่าแร่ฉลองการถวายอาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอลที่บูรณะใหม่ และฉลอง 130 ปีแห่งความเชื่อคริสตชน ในวันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) นี้ จึงขอนำเสนอเรื่องราวความเป็นมาและแง่มุมบางอย่างของคริสตชุมชนแห่งนี้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองอย่างมีความหมาย และช่วยกันสืบสานมรดกทางความเชื่อนี้อย่างรู้คุณค่า ให้ยั่งยืนสืบไป
 คุณพ่อยอห์น บัปติสต์ โปรดม และคุณพ่อซาเวียร์ เกโก

1.         ประวัติความเป็นมา

          ปี ค.. 1881 (.. 2424) คุณพ่อยอห์น บัปติสต์ โปรดม และ คุณพ่อซาเวียร์ เกโก พระสงฆ์คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (M.E.P.) ได้รับมอบหมายจากพระสังฆราชหลุยส์ เวย์ให้มาเผยแผ่ศาสนาที่ภาคอีสาน เดินทางมาถึงอุบลราชธานีและตั้งกลุ่มคริสตชนที่บุ่งกะแทว  ครั้นถึงเดือนมิถุนายน ค.. 1883 (.. 2427) คุณพ่อโปรดมและคุณพ่อรองแดล ได้เดินทางจากอุบลฯ มาถึงนครพนมเป็นครั้งแรก
           จุดประสงค์เพื่อสำรวจเส้นทาง สถานการณ์และการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน สำหรับวางโครงการแพร่ธรรมในโอกาสต่อไป เมื่อได้ใช้เวลาสำรวจไปถึงหนองคายและเวียงจันทน์เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว คุณพ่อทั้งสองได้เดินทางกลับอุบลฯ หลังจากฉลองปัสกาในเดือนเมษายน ค.. 1884 (.. 2427) คุณพ่อโปรดม กับ คุณพ่อเกโก และครูทัน ครูเณรชาวเวียดนามได้เดินทางจากอุบลฯ มานครพนมอีกครั้งหนึ่งและตั้งกลุ่มคริสตชนที่นั่น
 งานรำลึกการอพยพข้ามหนองหารจากสกลนครมาตั้งถิ่นฐานที่ท่าแร่
1.1 กลุ่มคริสตชนแรกที่สกลนคร
เมื่อตั้งกลุ่มคริสตชนที่นครพนมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในเดือนมิถุนายน  .. 1884 (.. 2427) คุณพ่อโปรดม เดินทางไปสกลนครพร้อมกับครูทัน  ตั้งใจจะไปเยี่ยมคริสตชนที่มาจากประเทศเวียดนามตามที่ได้ยินมา และเปิดศูนย์คาทอลิกที่นั่นหากเป็นไปได้  คุณพ่อได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากคริสตชนชาวเวียดนาม และมีชาวเวียดนามจำนวนหนึ่งแจ้งความจำนงจะเป็นคริสตชน  คุณพ่อได้สร้างที่พักและอยู่กับพวกเขา 1 เดือน ได้ใช้โอกาสนั้นสอนศาสนาแก่ผู้ไปมาหาสู่  แล้วจึงมอบให้ครูทันดูแล ส่วนคุณพ่อเดินทางกลับนครพนม
เดือนสิงหาคม ค.. 1884 (.. 2427) คุณพ่อโปรดม เดินทางไปสกลนครอีกครั้งหนึ่งพร้อมกับคุณพ่อเกโก ในรายงานประจำปี ค.. 1910 (.. 2453) คุณพ่อโปรดม ได้บันทึกไว้ว่า ศูนย์คาทอลิกสกลนครเปิดปี ค.. 1884 (.. 2427) และในวันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน คริสตชนกลุ่มแรกได้รับศีลล้างบาปในโรงสวดที่ปลูกไว้ชั่วคราวระหว่างหนองหารกับตัวเมือง บริเวณซึ่งเป็นที่ตั้งโรงภาพยนตร์ประสานราษฎร์ปัจจุบัน
แต่จากหลักฐาน สมุดบัญชีศีลล้างบาป คริสตัง  สกลนคร ปี 1884, 1885, 1886” ที่บันทึกโดยคุณพ่อโปรดม  ผู้ที่ได้รับศีลล้างบาปลำดับที่ 1 คือ มารีอาเดียง ได้รับศีลล้างบาปในโอกาสสมโภชแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ วันที่ 15 สิงหาคม ค.. 1884 (.. 2527) ทำให้เราแน่ใจว่า คุณพ่อโปรดม ได้ล้างบาปคริสตชนที่สกลนครก่อนหน้านั้นแล้ว  ต่อมาคุณพ่อโปรดม ได้มอบกลุ่มคริสตชนกลุ่มนี้ให้คุณพ่อเกโกกับครูทันดูแล และเดินทางกลับอุบลฯเพื่อเป็นประธานการเข้าเงียบประจำปีของพระสงฆ์และเตรียมตัวเดินทางเข้ากรุงเทพฯ
 คุณพ่อซาเวียร์ เกโก ผู้นำบรรพชนชาวท่าแร่ด้วยแพใหญ่มาตั้งรกฐากที่ท่าแร่
นานวันเข้าได้มีหลายคนมาสมัครเป็นคริสตชน ส่วนใหญ่เป็นชาวเวียดนามที่ได้รับการปลดปล่อยจากการเกณฑ์แรงงานและคนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผีปอบ 40 คน  ทำให้จำนวนคริสตชนเพิ่มมากขึ้น เป็นความลำบากสำหรับคุณพ่อเกโก ที่จะหาที่ดินเพื่อพักอาศัยและทำกินสำหรับคริสตชนเหล่านั้นในตัวเมืองสกลนคร ประกอบกับถูกกลั่นแกล้งไม่หยุดหย่อนจากเจ้าหน้าที่บางคน ทำให้คุณพ่อคิดหาทำเลสำหรับตั้งหมู่บ้านคริสตชนใหม่  
คืนหนึ่งหลังสมโภชนักบุญทั้งหลาย ปี ค.. 1884 (.. 2427) คุณพ่อเกโกและครูทันได้ตัดสินใจย้ายกลุ่มคริสตชน โดยจัดทำแพใหญ่ด้วยเรือเล็กและไม้ไผ่ผูกติดกัน บรรทุกทั้งคนและสัมภาระลงแพ ใช้ผ้าห่มและผืนผ้าขึงแทนใบให้ลมพัดไปในทิศทางที่พระเจ้าทรงประสงค์  ที่สุดสามารถข้ามไปยังอีกฝากหนึ่งของหนองหารอย่างปลอดภัย และตั้งหลักแหล่งที่นั่น คริสตชนกลุ่มแรกที่ย้ายมามี 20 ครอบครัว ประมาณ 150 คน นับทั้งที่ได้รับศีลล้างบาปกับผู้ที่กำลังเตรียม ซึ่งมีทั้งชาวเวียดนามและพื้นเมือง  ชาวพื้นเมืองส่วนใหญ่เป็นทาสที่ได้รับการไถ่ให้เป็นอิสระ 
 คุณพ่อยอแซฟ กอมบูริเออ เจ้าอาวาสองค์แรก
คุณพ่อยอร์ช ดาแบง ผู้ดูแลกลุ่มคริสตชนท่าแร่ในระยะเริ่มแรก
1.2  ชุมชนวัดมหาพรหมมีคาแอลหนองหาร
เนื่องจากคริสตชนเหล่านั้น ได้ร้องขอความช่วยเหลือจากอัครเทวดามีคาแอลเป็นประจำเพื่อให้ช่วยคุ้มครองป้องกันและสู้ทนกับความยากลำบาก เมื่อสร้างวัดหลังแรกที่มีลักษณะเป็นโรงเรือนชั่วคราวแล้วเสร็จจึงตั้งชื่อว่า วัดมหาพรหมมีคาแอล หนองหาร  ดังปรากฏในเอกสารบัญชีศีลล้างบาปวัดนักบุญมารีอามักดาเลนานาโพธิ์ ที่บันทึกโดย คุณพ่อยอแซฟ กอมบูริเออ ว่า คริสตชนกลุ่มแรกของวัดนาโพธิ์ล้างบาปที่ วัดมหาพรหมมีคาแอล หนองหาร (Ecclesia Sti Michaelis Nong-Han)  เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.. 1888 (.. 2431) 
เป็นที่น่าสังเกตว่าในการล้างบาปคริสตชนที่ท่าแร่ในเวลาต่อมาในปี ค.. 1885 (.. 2428) ที่บันทึกโดย คุณพ่อยอร์ช ดาแบง ยังคงใช้คำว่า วัดสกล (Ecclesiae Sakhon) บางครั้งใช้คำว่า วัดเล็กเมืองสกลนคร (sacello civitatis Sakhon Nakhon) ในการล้างบาปอีกครั้งในวันฉลองแม่พระลูกประคำ วันที่ 7 ตุลาคม ได้ใช้คำว่า วัดมหาพรหมมีคาแอล เมืองสกล (Ecclesia Sti Michaelis Urbis Sakhon) ต่อมาในสมัยคุณพ่อกอมบูริเออ ใช้เพียงว่า วัดมหาพรหมมีคาแอล (Ecclesia Michaelis) ตามที่ปรากฎใน สมุดบัญชีศีลล้างบาปคริสตัง สกลนคร ปี 1884, 1885, 1886” ยังไม่มีการใช้ชื่อ ท่าแร่ แต่อย่างใด 
 พระสังฆราชยัง มารีย์ กืออ๊าส กับคณะสงฆ์มิสซังลาว ปี ค.ศ. 1903
เป็นไปได้ว่าชื่อ หนองหาร อาจเป็นชื่อดั้งเดิมของกลุ่มคริสตชนท่าแร่   ส่วนการจะเปลี่ยนชื่อเป็น ท่าแร่ เมื่อไรนั้นไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด  แต่จากเอกสารที่เขียนด้วยอักษรโรมัน (ภาษาวัด) 2 เล่มซึ่งผู้เขียนให้ชื่อว่า บันทึกเหตุการณ์และหนังสือเข้า และ สำเนาหนังสือออกและคดีความ  ที่บันทึกโดยคุณพ่อกอมบูริเออ ในช่วงแรกไม่ปรากฏการใช้ชื่อ ท่าแร่ แต่อย่างใด นอกจากชื่อ วัดมหาพรหมมีคาแอลแขวงเมืองสกลนคร เพิ่งจะมาปรากฏในบันทึก สำเนาหนังสือออกและคดีความ เลขที่ 10 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.. 1901 (.. 2444) ที่คุณพ่อกอมบูริเออ เขียนถึงพระวิชิตพลหาร ผู้ช่วยเมืองสกลนคร  ได้ใช้ชื่อ บ้านท่าแร่ โดยเขียนขึ้นต้นหนังสือฉบับนั้นว่าที่สำนักท่านบาทหลวงบ้านท่าแร่ 
อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันว่าชื่อ ท่าแร่ เรียกตามชื่อถิ่นที่ตั้งหมู่บ้านอันเป็นบริเวณที่เต็มไปด้วยป่าไม้มีหินลูกรังอยู่ทั่วไป ซึ่งคนภาคพื้นนี้เรียกว่า หินแฮ่ และเป็นชื่อที่เรียกขานกันตั้งแต่เริ่มแรกเช่นเดียวกันในหมู่ชาวบ้านจนเป็นที่นิยมเรียกกันทั่วไป  ต่อมาชื่อ ท่าแร่ ได้กลายมาเป็นชื่อหมู่บ้านอย่างในปัจจุบัน    ส่วนชื่อวัดยังคงใช้ชื่อ วัดมหาพรหมมีคาแอล เมื่อสร้างวัดหลังที่ 2 ยังคงใช้ชื่อนี้จวบจนกระทั่งอาสนวิหารหลังปัจจุบันสร้างเสร็จ เมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.. 1971 (.. 2514) จึงใช้ชื่อ อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น