ศึกษาและดูงาน ณ ประเทศญี่ปุ่น (ต่อ)
ภารกิจหลักของวันที่สาม (14
มกราคม 2015) คือ การศึกษาและดูงานที่โรงเรียนนามิเอะ
(Namie) ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาต้นแห่งหนึ่งของรัฐบาลในเมืองทากาซากิ
โดยได้รับการประสานงานจากท่านนายกเทศมนตรี ที่คณะของพวกเราไปเยี่ยมคำนับเมื่อวาน
โรงเรียนแห่งนี้มีนักเรียนทั้งหมด 409 คน ครู 46 คน เห็นตัวเลขระหว่างครูกับนักเรียนแล้วก็ไม่แปลกใจ
ทำไมระบบการศึกษาของญี่ปุ่นถึงมีคุณภาพ และจำนวนนักเรียนต่อห้องต้องไม่เกิน 35
คน
คณะของพวกเราได้รับการต้อนรับอย่างดียิ่งจากผู้อำนวยการโรงเรียนและคณะ
ที่มาให้การต้อนรับด้วยตนเอง อีกทั้งยังได้เชิญเจ้าหน้าที่จากกระทรวงศึกษาธิการ 2 ท่านมาเป็นผู้ตอบคำถามและข้อสงสัยของพวกเราโดยตรง
แสดงให้เห็นว่าพวกเขาให้ความสำคัญกับการมาของพวกเรามาก ซึ่งสะท้อนความเป็นคนเอาจริงเอาจังในทุกเรื่องของชาวญี่ปุ่น
แม้แต่ในการพาเยี่ยมชมการเรียนการสอนในโรงเรียน
ผู้อำนวยการโรงเรียนได้ขอร้องมิให้พวกเราถ่ายภาพเด็กนักเรียน
สามารถถ่ายภาพอาคารสถานที่โดยรอบได้ ยกเว้นเด็กนักเรียนและครูที่กำลังทำการเรียนการสอน
เพราะนั่นเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่ทุกคนต้องให้ความเคารพ ยิ่งเป็นเด็กด้วยแล้วยิ่งต้องให้ความเคารพ
เนื่องจากพวกเขายังด้อยประสบการณ์ ยังไม่รู้เท่าทันคนและสังคม
3. คุณภาพการศึกษา
สิ่งที่สำคัญมากคือ
ความเอาใจใส่ของครูผู้สอนที่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ทำให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ครูจะใช้ทุกวิถีทางเพื่อสอนเด็กให้รู้ ผู้อำนวยการโรงเรียนบอกเราว่า “ที่ญี่ปุ่นไม่มีการซ้ำชั้น
แม้เด็กจะไม่ได้อย่างไร ครูจะพยายามสอนให้รู้จนได้ และไม่มีเกณฑ์กำหนดว่าต้องได้ 50 เปอร์เซ็นต์ถึงผ่าน อาจได้ต่ำกว่า 50 แต่ครูจะดูและพยายามช่วยให้เด็กได้” แสดงให้เห็นว่าครูต้องพยายามสุดความสามารถในการสอนให้เด็กได้ความรู้
คิดเป็น ทำเป็นและแก้ปัญหาเองได้
นอกจากนั้น ระบบการเรียนการสอนของญี่ปุ่นไม่มีการแข่งขันหรือจัดลำดับโรงเรียน
เช่น โรงเรียนดีเด่น โรงเรียนตัวอย่าง โรงเรียนนำร่องหรือโรงเรียนพระราชทานเหมือนประเทศไทย
แต่จะมีการตรวจสอบในระดับจังหวัด ก่อนจะมาตรวจสอบทุกครั้งเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้โรงเรียนทราบ
เมื่อทราบข้อเท็จจริงและข้อบกพร่องจะแจ้งให้โรงเรียนปรับปรุงแก้ไขจนผ่าน
จากนั้นจังหวัดจะแจ้งไปยังกระทรวงศึกษาธิการ
ในส่วนของผลสอบรวมระหว่างจังหวัด ทั้งระดับประถมและมัธยมเหมือนการสอบ O-Net บ้านเรา กระทรวงจะทราบผลสอบและส่งผลไปยังจังหวัด และจังหวัดจะเก็บรักษาไว้เป็นความลับ ไม่ได้เปิดเผยให้โรงเรียนทราบว่าได้ลำดับอะไร ผลคะแนนเป็นอย่างไร ครูและนักเรียนมีความสุขเพราะอยู่ในมาตรฐาน ไม่ต้องแข่งขันกัน แต่เป็นหน้าที่ของแต่ละโรงเรียนที่จะต้องอบรมครูให้สอนเด็กอย่างถูกต้องและดีที่สุด
สิ่งที่พบเห็นและน่าประทับใจมากคือ
เด็กนักเรียนญี่ปุ่นมีระเบียบวินัยสูงมาก
แต่ละคนต่างรู้หน้าที่และเอาใจใส่ในการทำหน้าที่ของตน
ซึ่งหน้าที่เหล่านี้ได้รับการปลูกฝังตั้งแต่เวลาเป็นเด็ก ประการสำคัญ มีผู้ใหญ่เป็นต้นแบบที่ดีและคอยช่วยเหลือ
ไม่เอารัดเอาเปรียบเด็กหรือเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี รวมถึงโครงสร้างทางสังคมที่ช่วยหล่อหลอมเด็กให้เป็นคนมีระเบียบวินัย
ตรงต่อเวลา เคารพกฎกติกา และมีน้ำใจ
ตัวอย่างเรื่องอาหารการกิน
1)
ห้องครัวจะมีการรักษาสะอาดอย่างมาก
ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าไป
2)
เด็กจะถูกฝึกให้สัมผัสรสชาติอาหารต่างๆ
ให้มาก มีการเปลี่ยนอาหารที่ไม่ชอบให้ชอบมากขึ้น โดยทำเป็นชิ้นเล็กๆ บด
หรือโดยการผสมกับอาหารที่ชอบ
3)
แม่ครัวจะนำตัวอย่างอาหารมาให้ชม
ที่ทีมโภชนาการได้ตรวจสอบแล้ว เพื่อเด็กจะได้สารอาหารครบถ้วนทั้งข้าว ผัก เนื้อ
ปลา และนม
4)
เด็กจะเป็นคนตักอาหารด้วยตนอง
หลังจากทำความเคารพขอบคุณอาหารแล้ว หากตักมากเกินไปสามารถนำกลับไปคืน เพื่อไม่ให้เหลือและเป็นการสร้างนิสัยพอดี
5)
หลังทานอาหารเสร็จ
ทุกคนจะช่วยกันเก็บภาชนะให้เรียบร้อย เก็บพับกล่องนมเพื่อนำไปรีไซเคิล (Recycle) ช่วยกันทำความสะอาด แยกขยะเปียก แห้ง
รีไซเคิล นิสัยการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบ จึงได้รับการปลูกฝังตั้งแต่เป็นเด็ก
จากนั้นคณะของเราได้ไปชมวัดดารุมะจิ ถิ่นกำเนิดของตุ๊กตา “ทาคาซาคิ
ดารุมะ” ที่เป็นตัวนำโชคที่มีชื่อเสียงมากในญี่ปุ่น สร้างขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ. 1697 (พ.ศ. 2240) นอกจากเป็นแหล่งผลิตตุ๊กตาดารุมะแล้ว
ยังเป็นสถานที่ทำลายตุ๊กตาดารุมะที่สิ้นสุดหน้าที่ในแต่ละปี ที่ชาวญี่ปุ่นนำกลับมาและก่อนจะซื้อตัวใหม่กลับไป
แสดงถึงโชคลาภและการเริ่มต้นใหม่ที่ดีงาม ก่อนจะเดินทางต่อไปชมพิพิธภัณฑ์ของเล่นและรถโบราณ
และพิพิธภัณฑ์คินได โคเคซิ ที่อยู่ไม่ไกลนัก
ตุ๊กตาโคเคซิ
เป็นตุ๊กตาใบหน้าเด็กที่ทำจากไม้ท่าทางน่ารักๆ ซึ่งเดิมทีเดียวเป็นของเล่นที่พ่อแม่ชาวญี่ปุ่นทำให้ลูกๆ
ไว้เล่นสนุกสนานตามประสาเด็ก เป็นของทำมือที่ธรรมดามาก
ไม่ต้องเสียเงินซื้อของเล่นราคาแพงๆ และยังคงรักษาสิ่งเหล่านี้ไว้จนกลายมาเป็นของที่ระลึกที่มีชื่อเสียงและเป็นสัญลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่น
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ถือเป็นศูนย์หัตถกรรมทำตุ๊กตาคินได โคเคซิที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น
ไฮไลท์ของการดูงานวันนี้คือการเดินทางสู่อิคาโอ๊ะออนเซน
ซึ่งเป็นแหล่งออนเซน (น้ำพุร้อน) สูงจากระดับน้ำทะเล 700 เมตร โอบล้อมด้วยภูเขาฮารุนะซัน มีประวัติความเป็นมายาวนาน
และถือเป็นแหล่งออนเซนที่ดีที่สุดลำดับ 5 ของญี่ปุ่น ออนเซ็นที่นี่มี
2 ชนิดคือ “น้ำพุร้อนสีทอง”
ซึ่งแร่เหล็กในน้ำเมื่อสัมผัสกับออกซิเจนในทางอากาศแล้วมีการปฏิกิริยา
กลายเป็นสีแดงน้ำตาลที่ไม่เหมือนใคร อีกชนิดคือ “น้ำพุร้อนสีเงิน”
ที่พรั่งพรูออกมาในปีที่ผ่านมา
คณะของพวกเราได้เข้าที่พัก IKAHO
ONSEN GRAND HOTEL ซึ่งเป็นโรงแรมที่พักในสไตล์ญี่ปุ่นโบราณ
ได้มีโอกาสใส่ชุดยูกาตะ (ชุดลำลองแบบญี่ปุ่นโบราณที่คนญี่ปุ่นชอบใส่ในชีวิตประจำวัน) นั่งจิบชาร้อนๆ และนั่งรับประทานอาหารในแบบญี่ปุ่น รสชาดอหร่อย โดยได้รับการต้อนรับและบริการอย่างดีเยี่ยมจากทางโรงแรม
ถือเป็นการดื่มด่ำวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นที่ประทับใจไม่ลืมเลือน
Don Daniele ภาพ/รายงาน
Ikaho, JAPAN
14 มกราคม 2015
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น