วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558

ยอแซฟผู้ชอบธรรม



ยอแซฟผู้ชอบธรรม
19 มีนาคม
สมโภชนักบุญยอแซฟ
ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
2 ซมอ 7:4 –5ก, 12-14ก, 16
รม 4:13, 16-18, 22
มธ 1:16, 18-21, 24
บทนำ
นักบุญยอแซฟ เป็นภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี ช่างไม้ และสืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์ดาวิด ในฐานะที่เป็นบิดาเลี้ยงของพระเยซูเจ้าและคู่ชีวิตของพระนางมารีย์พรหมจารี ทำให้ยอแซฟเป็นที่เคารพอย่างสูงในนิกายออร์ธอดอกซ์และโรมันคาทอลิก ต่อมาได้รับยกย่องให้เป็นองค์อุปถัมภ์ของพระศาสนจักรสากล ผู้นำครอบครัว ช่างไม้ และความยุติธรรมในสังคม
ชีวิตของนักบุญยอแซฟแม้จะไม่ได้รับการกล่าวถึงมากนัก แต่ธรรมประเพณีของพระศาสนจักรรับรู้ว่า นักบุญยอแซฟได้สิ้นใจในอ้อมแขนของพระเยซูเจ้าและพระนางมารีย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะบิดาของพระเยซูเจ้า ยอแซฟไม่เพียงสอนพระคัมภีร์และงานช่างไม้แก่พระเยซูเจ้า แต่คงได้แสดงให้พระเยซูเจ้าได้เห็นความรักที่ลึกซึ้งของความเป็นพ่อ ในการรับใช้และความใจดีมีเมตตาต่อคนจน
บทเรียนสำหรับเรา
ในฐานะที่นักบุญยอแซฟเป็นอุปถัมภ์ของพระศาสนจักรสากล ผู้นำครอบครัว และช่างฝีมือแรงงาน เราสามารถเลียนแบบคุณธรรมของนักบุญยอแซฟได้จากชื่อ “JOSEPH” ของท่าน ดังนี้
J: Justice หมายถึง ความยุติธรรม นักบุญยอแซฟเป็นบุรุษแห่งความชอบธรรม เมื่อทราบว่าพระนางมารีย์ คู่หมั้นตั้งครรภ์จึงคิดถอนหมั้นอย่างเงียบๆ เพื่อมิให้พระนางมารีย์ต้องเสียหายและอับอาย (มธ 1:19-25) เราจะต้องประพฤติตนในหนทางที่ถูกต้อง และปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเที่ยงธรรม ตรงไปตรงมา ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
O: Obedience หมายถึง ความนอบน้อมเชื่อฟัง นักบุญยอแซฟนอบน้อมเชื่อฟังต่อทุกอย่างที่พระเจ้าทรงขอให้ท่านกระทำ โดยไม่สนใจสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมา เมื่อทูตสวรรค์บอกความจริงเกี่ยวกับบุตรที่พระนางมารีย์ทรงครรภ์ด้วยเดชะพระจิต ท่านได้รับพระนางมาเป็นภรรยาทันที (มธ 2:13-23) เราจะต้องเคารพเชื่อฟังพระเจ้า ครูอาจารย์และบิดามารดาของเรา
S: Silence หมายถึง ความเงียบ นักบุญยอแซฟเงียบเสมอและไม่มีคำถามใดๆ พระวรสารได้อ้างถึงคำพูดของท่านเพียงไม่กี่คำ ในความเงียบนี้เองทำให้ท่านได้พิศเพ่งและสรรเสริญการประทับอยู่ของพระเจ้า ความเงียบเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ ดังนั้น เราจึงต้องรักษาความเงียบ มีสติ และฟังเสียงของพระเจ้าที่ตรัสกับเราอย่างตั้งใจ
E: Experience หมายถึง ความสันทัดจัดเจน นักบุญยอแซฟหาเลี้ยงชีพด้วยการเป็นช่างไม้และมีทักษะโดดเด่นในการทำงานไม้ กล่าวกันว่าช่างฝีมือที่ทำแอกได้เยี่ยมที่สุดในนาซาเร็ธคือยอแซฟ ท่านได้ฝึกฝนพระเยซูเจ้าให้เป็นช่างไม้ที่เก่งและมีทักษะชีวิตที่ดีเยี่ยม เราต้องเรียนรู้ด้วยการกระทำเพื่อเราจะได้มีประสบการณ์และทักษะชีวิต โดยเฉพาะการมีประสบการณ์ส่วนตัวกับพระเจ้า
P: Prudence หมายถึง ความฉลาดรอบคอบ ในฐานะหัวหน้าครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ นักบุญยอแซฟได้แสดงให้เห็นถึงความฉลาดรอบคอบในการดูแลและปกป้องพระเยซูเจ้า เราควรมีวินัยในตนเอง รู้จักใช้เหตุผลเพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่น่าละอายและเป็นทุกข์ แสดงให้เห็นถึงไหวพริบปฏิภาณและการตัดสินใจที่รอบคอบ
H: Humility หมายถึง ความสุภาพถ่อมตน เราทราบว่านักบุญยอแซฟเป็นผู้ที่วางใจในพระเจ้า ท่านปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระเจ้าด้วยความสุภาพและความเชื่อตลอดชีวิตของท่าน เราควรเป็นคนสุภาพและเรียบง่ายในชีวิต ไม่เย่อหยิ่งและทะนงตน แต่มีจิตใจที่ถ่อมตน ตระหนักในคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
บทสรุป
นักบุญเกรโกรี นาซีอันส์ได้เขียนเอาไว้ว่า พระเจ้าได้ทรงวางความดีงาม ความยิ่งใหญ่ที่มีอยู่ในตัวบุคลอื่นไว้ในนักบุญยอแซฟ เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์รวบรวมแสงสว่างทุกอย่างที่มีในสิ่งอื่นไว้ในดวงอาทิตย์ ดังนั้น นอกจากหน้าที่อันสูงส่งของพระนางมารีย์ในฐานะเป็นพระมารดาแล้ว เห็นจะไม่มีหน้าที่ใดจะมีความสำคัญเท่าหน้าที่ของนักบุญยอแซฟ ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นบิดาเลี้ยงของพระเยซูเจ้าและภัสดาของพระนางมารีย์
นอกจากพระนางมารีย์แล้ว ไม่มีใครในโลกนี้จะมีความใกล้ชิดสนิทกับพระเยซูเจ้ามากเท่ากับนักบุญยอแซฟ ที่ได้อุทิศชีวิตในการรักพระเยซูเจ้าและปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระเยซูเจ้า เทศกาลมหาพรตนี้เราได้อุทิศตนเพื่อผู้อื่นอย่างไร เราได้รับใช้พระเจ้าโดยปราศจากความเห็นแก่ตัวหรือเปล่า ขอให้เราได้เรียนแบบอย่างความชอบธรรมของนักบุญยอแซฟ ในการปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระเจ้า
คุณพ่อขวัญ ถิ่นวัลย์
danielkhuan@hotmail.com
โรงเรียนเซนต์ยอแซฟกุฉินารายณ์
19 มีนาคม 2014

วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558

หนทางแห่งชีวิตมนุษย์



หนทางแห่ง ...ชีวิตมนุษย์
วันนี้มีเวลานั่งเก็บเอกสารและหนังสือลงกล่อง พลันเหลือบไปเห็นเศษกระดาษที่ถูกฉีก มีบทกลอนให้กำลังใจและแง่คิดดีๆ หลายอย่างเกี่ยวกับชีวิต ชื่อเรื่องว่า “หนทางแห่งชีวิตมนุษย์” ทำให้หวนนึกถึงวันหนึ่งที่อ่านเจอบทกลอนนี้ในนิตยสารเล่มหนึ่งที่ถูกทิ้งปะปนกับเศษกระดาษ เลยฉีกเก็บเอาไว้ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นนานมาแล้ว แต่จำไม่ได้ว่านิตยสารอะไร ใครเป็นคนเขียน
วันนี้จึงขออนุญาตเจ้าของผู้ประพันธ์นำบทกลอนนี้มาเผยแพร่อีกครั้ง เพื่อให้กำลังใจผู้ที่กำลังท้อแท้ สิ้นหวัง และหมดกำลังใจ จะได้รู้และเข้าใจชีวิตในแง่มุมที่กว้างและลึกซึ้งยิ่งขึ้น บทกลอนที่ว่ามีเนื้อความ ดังนี้
ชีวิตคือ
ชีวิตมี
ชีวิตคือ
ชีวิตคือ
อะไร
หลายอย่าง
สิ่งดี
ฉายา
ใครรู้บ้าง
ควรศึกษา
พระให้มา
ของพระองค์




ชีวิตคือ
ชีวิตต้อง
ชีวิตนี้
ชีวิตเรา
ความดีงาม
เดิมตามทาง
อย่ามัวคิด
มีพระองค์
ตามแบบอย่าง
พระประสงค์
มัวพะวง
ทรงชี้นำ
ชีวิตต้อง
ชีวิตจะ
ชีวิตต้อง
ชีวิตต้อง
มีระเบียบ
ไม่ขาดแคลน
รู้ฝึกฝน
รู้จักทำ
และแบบแผน
เมื่อถลำ
ตนประจำ
เพื่อก้าวไป




ชีวิตต้อง
ชีวิตที่
ชีวิตคน
ชีวิตรู้
มีสำเร็จ
ฉลาด
จะดีชั่ว
อภัย
มีผิดพลาด
ย่อมแก้ไข
อยู่ที่ใจ
เป็นนักบุญ
ชีวิตมี
ชีวิตมี
ชีวิตต้อง
ชีวิตจะ
หัวเราะ
ความหมาย
รู้ตอบ
อบอุ่น
มีร้องไห้
รู้เกื้อหนุน
แทนพระคุณ
รู้คุณคน




ชีวิตต้อง
ชีวิตต้อง
ชีวิตควร
ชีวิตจะ
ก้าวหน้า
ทำทุกสิ่ง
เอาความดี
รวย-จน
อย่าหยุดนิ่ง
ให้เกิดผล
ชนะคน
ไม่พ้นตาย
ขอเป็นกำลังใจทุกคนที่กำลังอยู่ในห้วงเวลาแห่งความทุกข์ในชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “คนที่ต้องเผชิญกับความยากลำบาก อันมิได้เกิดจากการทำสิ่งใดผิด แต่เกิดจากการกระทำสิ่งถูกต้อง” ขออย่าได้ท้อและสิ้นหวัง  มนุษย์อาจมองไม่เห็นความดีของเรา แต่พระเจ้ามองเห็นเสมอ และสำหรับคนที่ผิดพลาด ก็อย่าได้หมดกำลังใจ “ผิดพลาดคือมนุษย์ อภัยไม่สิ้นสุดคือพระเจ้า” (Alexander Pope) อดีตเราแก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว แต่อนาคตข้างหน้า เราสามารถทำให้ดีกว่าเดิมได้
คุณพ่อขวัญ ถิ่นวัลย์
โรงเรียนเซนต์ยอแซฟกุฉินารายณ์
17 มีนาคม 2015

วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558

วัดพระจิตเจ้าโนนหัวช้าง



วัดพระจิตเจ้า โนนหัวช้าง
บ้านโนนหัวช้าง ตำบลสร้างค้อ อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร 47180
1.         ประวัติความเป็นมา
เมื่อปี ค.. 1960 (.. 2503) พระสังฆราชมีคาแอล เกี้ยน  เสมอพิทักษ์ ได้มาเผยแผ่ศาสนาและจัดตั้งวัดขึ้นโดยซื้อบ้านและที่ดินจากนายสมบูรณ์  ยงดี อดีตครูประชาบาลและกำนันตำบลท่าแร่ นอกจากนั้นยังได้ซื้อที่ดินจากชาวบ้านรวมเป็นที่ดินกว่า 200 ไร่ สำหรับจัดสรรให้ราษฎรที่ตกทุกข์ได้ยาก ไม่มีที่ทำกินเข้ามาอยู่อาศัยทำกินทำไร่ทำสวนโดยไม่คิดค่าเช่า  ต่อมาได้ขายที่ดินนอกเขตวัดให้กับราษฎรเหล่านั้นในราคาพอสมควรเพื่อเป็นการสงเคราะห์ช่วยเหลือ
เมื่อมีการสร้างวัดหลังแรกมีครอบครัวที่เป็นคริสตชนเพียงครอบครัวของนายสมบูรณ์  ยงดี กับน้องชาย  ภายหลังได้มี คริสตชนใหม่สองครอบครัวคือครอบครัวของนายทอง  บุตรวัง กับครอบครัวนายไข  ใจศิริ  เมื่อมีราษฎรอพยพเข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้น จึงมีผู้เลื่อมใสศรัทธามาเรียนคำสอนและรับศีลล้างบาปโดยความเห็นชอบของพระสงฆ์ผู้ดูแล  ในระหว่างนี้พระสังฆราชมีคาแอล เกี้ยน ได้มอบหมายให้คุณพ่อยอห์นบัปติสต์ แท่ง  ยวงบัตรี เจ้าอาวาสวัดแม่พระถือศีลชำระ จันทร์เพ็ญเป็นผู้ดูแล และมอบหมายให้นายทด  แสนปาก มาเป็นครูสอนคำสอน  สาเหตุที่วัดนี้ได้ชื่อว่า วัดพระจิตเจ้า ก็เพราะมีชาวอเมริกันคนหนึ่งได้ถวายเงินจำนวน 500.- ดอลลาร์สำหรับการสร้างวัดและขอให้ตั้งชื่อวัดว่า วัดพระจิตเจ้า วัดนี้จึงได้ชื่อวัดพระจิตเจ้าเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน  ต่อมาพระสังฆราชมีคาแอล เกี้ยน ได้มอบหมายให้คุณพ่อยอแซฟ อินทร์  นารินรักษ์ มาเป็นเจ้าอาวาส  เมื่อนายทด  แสนปาก ถึงแก่กรรมด้วยอุบัติเหตุ ทางมิสซังจึงได้แต่งตั้งให้ครูลู  รวมทรัพย์ มาเป็นครูคำสอนแทน

ปี ค.. 1962 (.. 2505) กรมพลังงานแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มาสร้างเขื่อนน้ำพุงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ทำให้เกิดน้ำท่วมถนนสายสกลนคร-กาฬสินธุ์ซึ่งผ่านบ้านโนนหัวช้าง บริเวณห้วยคำหลวงเหนือบ้านโนนหัวช้างและลำน้ำพุงทางทิศใต้ของบ้านต้อน  เป็นเหตุให้การสัญจรไปมาของชาวบ้านโนนหัวช้างไม่สะดวกเพราะถูกน้ำล้อมรอบเกือบทุกด้าน ยกเว้นด้านทิศตะวันตกซึ่งเป็นป่าทึบไม่มีทางออกสู่ถนนใหญ่  ราษฎรส่วนมากจึงอพยพไปตั้งถิ่นฐานที่บ้านท่าเจริญปัจจุบัน
ด้วยเหตุนี้ ในปี ค.. 1969 (.. 2512)  ทางมิสซังได้รื้อถอนวัดไปสร้างตามชาวบ้านบริเวณที่ตั้งโรงเรียนบ้านท่าเจริญปัจจุบัน  แต่ตั้งอยู่เพียงปีเดียวได้รื้อกลับมาตั้งที่บ้านโนนหัวช้างตามเดิม เนื่องจากเจ้าหน้าที่ป่าไม้ไม่อนุญาต ชาวบ้านจึงย้ายกลับโนนหัวช้าง  และมีผู้อพยพมาจากที่อื่นอีกเพิ่มมากขึ้นทำให้มีผู้เลื่อมใสศรัทธาและรับศีลล้างบาปเพิ่มมากขึ้นด้วย ต่อมาราษฎรเหล่านั้นได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างถนนออกสู่ถนนใหญ่ด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้านเป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร ทำให้การสัญจรไปมาสะดวกขึ้น  ปี ค.. 1979 (.. 2522) ครูลู  รวมทรัพย์ ครูคำสอนได้ถึงแก่กรรมด้วยอุบัติเหตุรถยนต์ชน ทางอัครสังฆมณฑลได้ส่งนางยุรี  ทิพม่อม มาเป็นครูคำสอนแทน

ปี ค.. 1980 (.. 2523) กรมป่าไม้ได้มาสร้างถนนลูกรังเข้าหมู่บ้านและจัดสรรเป็นหมู่บ้านป่าไม้ตามโครงการหมู่บ้านป่าไม้ดงชมภูพาน-ดงกะเฌอตามพระราชดำริ  ต่อมาในปี ค.. 1982 (.. 2525) บ้านโนนหัวช้างได้รับยกฐานะเป็นหมู่บ้าน หมู่ที่ 8 (แต่ก่อนขึ้นกับบ้านต้อน หมู่ที่ 3) ตำบลสร้างค้อ อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ติดตั้งกระแสไฟฟ้าในหมู่บ้านทำให้บ้านโนนหัวช้างเจริญขึ้น
วันที่ 1 ตุลาคม ค.. 1985 (.. 2528) คุณพ่อยอแซฟ อินทร์ ได้สร้างวัดคอนกรีตเสริมเหล็กแบบถาวรแทนวัดไม้และชำรุดทรุดโทรม  โดยอาศัยทุนทรัพย์ส่วนตัวของคุณพ่อและของวัดที่เก็บสะสมไว้  พร้อมทั้งได้รับการบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป ภายใต้การควบคุมการก่อสร้างของคุณพ่อปีโอ ไอศวรรย์  จันทร์ลือชัย จนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.. 1986 (.. 2529) รวมค่าก่อสร้างทั้งสิ้นประมาณ 400,000.- บาท  มีพิธีเสกและเปิดวัดใหม่หลังที่สองเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.. 1986 (.. 2529)  โดยพระอัครสังฆราชมีคาแอล เกี้ยน พร้อมกับบรรดาพระสงฆ์ 22 องค์และสัตบุรุษจากวัดต่าง ๆ

คุณพ่อยอแซฟ อินทร์ ได้ทำหน้าที่เจ้าอาวาสดูแลคริสตชนที่นี่จนถึงวันที่ 10 ตุลาคม ค.. 1994 (.. 2537) จึงได้ลาพักกลับไปประจำที่บ้านซีเมออน ศูนย์คาทอลิกท่าแร่ ตำบลท่าแร่ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร  โดยมีคุณพ่ออัลฟองโซ สุรวุฒิ (สุขสังวร)  สมงาม มารักษาการเจ้าอาวาสจนถึงวันที่ 23 เมษายน ค.. 1995 (.. 2538)  จึงย้ายไปศึกษาต่อที่ประเทศฟิลิปปินส์  ทางอัครสังฆมณฑลฯได้มอบหมายให้บ้านเณรฟาติมาท่าแร่รับหน้าที่ดูแล  โดยคุณพ่อมีคาแอล ประสงค์  เด่นไชยรัตน์ อธิการและคุณพ่อประจำบ้านเณรผลัดเปลี่ยนกันมาดูแล  วันที่ 17 กันยายน ค.. 1995 (.. 2538) คุณพ่อลอเรนซ์ ชำนาญ  บัวขันธ์ เจ้าอาวาสวัดแม่พระราชินีแห่งสันติภาพหนองห้างมารับหน้าที่ดูแล
วันที่ 1 พฤษภาคม ค.. 1998 (.. 2541) คุณพ่อเบอร์นาร์ด วีระพงศ์  โพธิมล มารับหน้าที่ดูแล และเริ่มก่อสร้างบ้านพักพระสงฆ์หลังใหม่เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ค.. 1998 (.. 2541) โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะเซนต์ปอลเดอชาร์ตร จนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ค.. 1998 (.. 2541) สิ้นค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 500,000.- บาท  วันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1998 (.. 2541) ได้เริ่มบูรณะตกแต่งวัดให้สวยงาม จนกระทั่งแล้วเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.. 1998 (.. 2541) ใช้งบประมาณทั้งหมด 900,000.- บาท และมีพิธีเปิดโอกาสฉลองปิดปีพระจิตเจ้าองค์อุปถัมภ์ของวัด วันที่ 5 ธันวาคม ค.. 1998 (.. 2541)  โดยมีพระอัครสังฆราชลอเรนซ์ คายน์  แสนพลอ่อน เป็นประธาน  ต่อมาวันที่ 8 มกราคม ค.. 1999 (.. 2542) คุณพ่อเบอร์นาร์ด วีระพงศ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส

วันที่ 20 พฤษภาคม ค.. 2001 (.. 2544) คุณพ่อยอแซฟ สุดใจ  แสนพลอ่อน ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส  คุณพ่อได้ร่วมมือกับชาวโนนหัวช้างในการจัดทำโครงการเพื่อหาทุนสร้างหอระฆัง  โดยมีพิธีเสกและวางศิลาฤกษ์ในโอกาสฉลองวัดเมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.. 2002 (.. 2545)  การก่อสร้างได้ดำเนินเรื่อยมาจนกระทั่งแล้วเสร็จ  มีพิธีเสกและเปิดอย่างเป็นทางการโอกาสฉลองวัด เมื่อวันที่ 22 มีนาคม ค.. 2003 (.. 2546)  โดย พระอัครสังฆราชลอเรนซ์ คายน์  แสนพลอ่อน  สิ้นค่าก่อสร้างทั้งสิ้นประมาณ 350,000.- บาท
วัดพระจิตเจ้าโนนหัวช้าง ได้รับการพัฒนาและเจริญเติบโตขึ้นตามลำดับ จนกลายเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้และดูงานของหน่วยงานราชการและเอกชนกลุ่มต่างๆ เนื่องจากพื้นที่โนนหัวช้างเป็นพื้นที่เพาะปลูกหวาย มะขามหวาน ลำไย มะแงว และหมากเม่า ต่อมาได้มีการจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรโนนหัวช้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1994 (พ.ศ. 2537) โดยมีสมาชิกกลุ่มแรก 5 ครอบครัว  และพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน มีสมาชิก 1,576 คน

ปี ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549) น้ำหมากเม่าสหกรณ์โนนหัวช้าง ได้รับการพิจารณาคัดเลือกจากคณะอนุกรรมการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์จังหวัดสกลนคร ให้เป็นผลิตภัณฑ์เด่นของจังหวัดสกลนคร อันดับที่ 3 ทำให้ไวน์หมากเม่าโนนหัวช้างเป็นที่รู้จักแพร่หลายและนิยมบริโภคกัน ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นของสหกรณ์โนนหัวช้าง ได้แก่ ไวน์โนนหัวช้าง น้ำผลไม้เม่า น้ำตะคร้อ น้ำมะแงว น้ำสมอไทย ซึ่งทุกผลิตภัณฑ์ดำเนินการโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน และวัตถุดิบที่เป็นผลไม้จากธรรมชาติและไม้พื้นบ้าน
ปัจจุบัน วัดพระจิตเจ้าโนนหัวช้าง มีคุณพ่อลอเรนซ์ ชำนาญ บัวขันธ์ เป็นเจ้าอาวาสและหัวหน้าเขตปกครองเขตใต้ มีคริสตชนจำนวน 112 คน มีกลุ่มคริสตชนพื้นฐาน (BEC) 1 กลุ่ม คริสตชนส่วนใหญ่มีอาชีพทำการเกษตร และเป็นหนึ่งเดียวกับพี่น้องพุทธศาสนิกชน ซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของหมู่บ้าน อีกทั้งได้ชื่อว่าเป็น “หมู่บ้านราชมงคล” เนื่องจากเป็นแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรราชมงคล วิทยาเขตสกลนคร

2.         ลำดับพระสงฆ์ผู้ดูแลและเจ้าอาวาส
เดิมที่เดียววัดพระจิตเจ้า โนนหัวช้างขึ้นอยู่กับวัดแม่พระถือศีลชำระ จันทร์เพ็ญ วัดแม่พระราชินีแห่งสันติภาพ หนองห้าง และบ้านเณรฟาติมาท่าแร่ โดยมีพระสงฆ์ผลัดเปลี่ยนกันมาดูแลตามลำดับ จวบจนกระทั่งวันที่ 8 พฤษภาคม ค..1999 (..2542) จึงมีเจ้าอาวาสเป็นเอกเทศ
1.  คุณพ่อยอห์นบัปติสต์ แท่ง  ยวงบัตรี               .. 1960-1962 (.. 2503-2505)
2.  คุณพ่อยอแซฟ อินทร์  นารินรักษ์                    .. 1962-1994 (.. 2505-2537)
3.  คุณพ่ออัลฟองโซ สุรวุฒิ (สุขสังวร) สมงาม   .. 1994-1995 (.. 2537-2538)
4.  คุณพ่อมีคาแอล ประสงค์  เด่นไชยรัตน์          .. 1995-1995 (.. 2538-3538)
5.   คุณพ่อลอเรนซ์ ชำนาญ  บัวขันธ์                     .. 1995-1998 (.. 2538-2541)
6.  คุณพ่อเบอร์นาร์ด วีระพงศ์  โพธิมล                .. 1998-2001 (.. 2541-2544)
7.   คุณพ่อยอแซฟ สุดใจ  แสนพลอ่อน                 ค.ศ. 2001- 2003 (.. 2544-2546)
8.  คุณพ่อเบเนดิกต์ กรไกร พิลาจันทร์                 ค.ศ. 2003-2005 (พ.ศ. 2546-2548)
9.  คุณพ่อเปาโล ประสิทธิ์ เครือตาแก้ว                ค.ศ. 2005-2008 (พ.ศ. 2548-2551)
10. คุณพ่อเปาโล อุทิศ นามโยธา                           ค.ศ. 2008-2013 (พ.ศ. 2551-2556)
11. คุณพ่อลอเรนซ์ ชำนาญ บัวขันธ์ (วาระ 2)       ค.ศ. 2013-ปัจจุบัน (ค.ศ. 2556)